11.07.2015 Views

การกักขัง - Mekong Migration Network

การกักขัง - Mekong Migration Network

การกักขัง - Mekong Migration Network

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สามารถท้าได้โดยจ่ายค่าใช้จ่ายนั้นๆเอง (พรบ.คนเข้าเมือง มาตรา 55) ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับ ยังมีความไม่ชัดเจน ภายใต้กฎหมาย โดยมาตรา 55 แห่งพรบ.คนเข้าเมืองระบุว่า ค่าใช้จ่าย ในการส่งกลับนั้นเบื้องต้น จะรับผิดชอบโดย “เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่น้าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร” หากไม่ปรากฎตัวบุคคล นั้นๆ ผู้ถูกส่งกลับ “ต้องจ่ายค่าส่งกลับ” ขณะเดียวกัน พรบ. การท้างานของคน ต่างด้าว พ.ศ. 2551 ได้ตั้งกองทุนการส่งกลับ (มาตรา 31) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งกลับแรงงานจากประเทศไทย (พรบ.คนเข้าเมือง มาตรา 20) เรียกร้องให้แรงงาน ข้ามชาติจ่ายค่าใช้จ่ายส้าหรับการส่งกลับตามข้อตกลงใน MOU กับประเทศพม่า กัมพูชาและลาว ซึ่งระบุให้แรงงานข้ามชาติต้องหักเงินทันทีจากค่าแรง เพื่อเข้าสมทบกองทุนโดยมีการกล่าวถึงในประเด็นนี้ว่าเป็น “การบังคับเก็บเงิน” ซึ่งผิดกฎหมายไทยและการจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้สามารถผ่อนผันได้ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 xliiiพรบ.ป้องกันและปราบปรามการการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ถือว่าผู้ที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ควรได้รับการส่งกลับไปยังประเทศ ที่พวกเขา “มีถิ่นที่หรือภูมิล้าเนา อยู่โดยไม่รอช้า” เว้นแต่พวกเขาจะได้รับ อนุญาตในการมีถิ่นที่อยู่ถาวรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มาตรา38) ข้อขัดแย้งนี้ได้รับการแก้ไขโดยมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาเมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคมพ.ศ. 2553 โดยการเรียกร้องให้มีการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการอยู่อาศัยชั่วคราวและการท้างานของเหยื่อจากการค้ามนุษย์การกวาดล้างผู้ลี้ภัยออกจากชายแดนผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาการลี้ภัยจะได้รับการปฏิบัติในรูปแบบเฉพาะกิจเนื่องจากการไม่มีกฎหมายผู้อพยพและไม่มีระบบการคัดกรองการระบุตัวตนของพวกเขา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 รัฐบาลไทยได้หยุดการอนุญาตให้ UNHCRสัมภาษณ์สถานภาพของผู้ลี้ภัยชาวพม่าและเป็นการปฏิเสธการคัดกรองผู้ที่มาใหม่จ้านวนมากนับแต่นั้น ผู้อพยพชาวพม่าปัจจุบันสามารถเลือกระหว่างการอยู่ในค่ายแต่ไม่สามารถท้างานได้ หรือการออกไปเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย ในการละเมิดภาระผูกพันสิทธิมนุษยชนภายใต้ อนุสัญญา CAT และ ICCPR ซึ่งเป็นจารีตทางกฎหมายระหว่างประเทศบนหลักการของการไม่บังคับส่งกลับ ผู้อพยพจะถูกส่งกลับในการกวาดล้างปริมาณมาก เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยชาวม้งในปี พ.ศ. 2552 หรือสามารถกวาดไปเป็นแรงงานข้ามชาติที่ “ผิดกฎหมาย ” และส่งออกนอกประเทศเนื่องจากการขาดของขั้นตอนการคัดกรองกล่องข้อควำม 9กลุ่มที่ท้างานเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ได้เรียกร้องให้เหยื่อจากการค้ามนุษย์สามารถเข้าถึง สถานภาพทางกฎหมายเช่นเดียวกับแรงงานข้ามชาติอื่นๆ และพวกเขาควรจะได้ รับหนังสือเดินทางชั่วคราว และสิทธิในการท้างาน ในภาคส่วนต่างๆเช่นเดียวกับแรงงานข้ามชาติอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ระเบียบที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2553 ได้อนุญาตให้เหยื่อจากการค้ามนุษย์สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ระหว่างรอการด้าเนินการทางกฎหมาย การรักษา หรือการบ้าบัด โดยมีระยะเวลาไม่เกินหกเดือน และพวกเขาสามารถขอใบอนุญาตท้างาน ส้าหรับงานรับใช้ใ นบ้านหรือและงานกรรมกร xliv ในรายงานเรื่อง ชนแล้วหนี โดยมูลนิธิส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง ระบุหนึ่งในผลกระทบหลักจากพรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คือ แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในภาคบริการจะถูกลงโทษ โดยกฎหมายหลายฉบับ แรงงาน ข้ามชาติในภาคบริการส่วนใหญ่มีอายุเกิน 18 ปีจะถูกจับโดยการบุกจับภายใต้ พรบ.ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และพรบ.การท้างานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 งานศึกษายังได้ ระบุถึงปัญหาในทางปฏิบัติจากกฎหมายในการระบุตัวผู้ที่เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ผู้ที่เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์อาจ ไม่ได้รับการสนับสนุน ตามความต้องการและ การถูกบังคับกักขังอย่างเกินความจ้าเป็น ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 3 เดือนถึง 2 ปี ข้อจ้ากัดเหล่านี้ บ่อยครั้งเป็นผลจากความจ้ากัดในการประสาน ร่วมระหว่างประเทศไทยและประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจน ทัศนคติเกี่ยวกับการลงโทษแรงงานในภาคการบริการทางเพศของเจ้าหน้าที่รัฐ xlv39

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!