15.03.2022 Views

ASA Journal 05/22

Home Smart Home

Home Smart Home

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

68<br />

theme / review<br />

สัมผัสจากสายลมแรงผ่านช่องหน้าต่างบนชั้นสี่<br />

ของบ้าน คือที่มาของชื่อบ้านหลังนี้ที่นิยามจาก<br />

เจ้าของบ้านโดยตรง ตอบรับกับเจตนารมณ์<br />

ของงานออกแบบสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัย<br />

ขนาดสี่ชั้นหลังนี้ของ Anonym Studio ที่<br />

ต้องการดึงศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ<br />

ของลมและแดด มาจัดการผ่านงานออกแบบ<br />

เพื่อสร้างความสุขของผู้อยู่อาศัยให้ได้มาก<br />

ที่สุด<br />

ที่มาและความสมาร์ทของบ้านหลังนี้ในภาพ<br />

รวมเรื่องของธรรมชาติเป็นสำาคัญจากที่ตั้ง<br />

ของบ้านหลังนี้ที่หันหน้าออกทางทิศใต้ ซึ ่งรับ<br />

ลมได้ดีมาก บวกกับบริบทของพื้นที่เอื้อกับ<br />

สภาวะของลม คุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์<br />

สถาปนิกจึงดึงเอาเรื่องพลวัตของลม จากการ<br />

จดจำาความรู้สึกที่ตรงนั้น มาพัฒนาเป็นงาน<br />

สถาปัตยกรรม ซึ่งบ้านหลังนี้เป็นโปรเจ็คต์<br />

กึ่งๆ ทดลองในเรื่องภาวะอยู่สบายของบ้าน<br />

และทางสถาปนิกค่อนข้างมั่นใจมากว่าเป็น<br />

ไปได้<br />

ด้วยความต้องการบ้านสี่ชั้นสำาหรับสามครอบ-<br />

ครัวคือ ครอบครัวรุ่นลูก และครอบครัวรุ ่น<br />

พ่อแม่ของทั้งสองฝั่ง โจทย์แรกของสถาปนิก<br />

จึงเป็นการออกแบบบ้านหลังนี้ให้เหมือนกับ<br />

เป็น Serviced Apartment ให้แต่ละครอบครัว<br />

ได้มีพื้นที่ส่วนตัวในแต่ละชั้นเป็นของตัวเอง<br />

ขณะเดียวกันกับชั้นล่างที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง<br />

สำาหรับรวมครอบครัวใหญ่ไว้ด้วยกัน<br />

ความรู้สึกจึงเป็นเรื่องสำาคัญของครอบครัวที่<br />

จำาเป็นจะต้องเชื่อมต่อ ทั้งในเรื่องความรู้สึก<br />

ของการใช้งาน และความรู้สึกในแง่มุมของ<br />

ประสาทสัมผัสรอบด้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี<br />

ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ส่วนตัวที่สุดไปถึงพื้นที่<br />

ส่วนรวมของทุกคน<br />

แก่นสารของความเป็น ‘บ้าน’ จึงถูกถ่ายทอด<br />

ลงบนอาคารสี่ชั้นแห่งนี้ ด้วยการสร้าง Circulation<br />

หรือการหมุนเวียนของทางสัญจรในทุก<br />

มิติ ไม่ว่าจะเป็น Cross Circulation ของทาง<br />

เดินในแนวระนาบที่ใช้งานในชีวิตประจำาวัน<br />

และ Vertical Circulation หรือการไหลเวียน<br />

ของทัศนวิสัยในแนวดิ่ง ด้วยการใช้ระเบียงวาง<br />

สลับกันในแต่ละชั้น เพื่อสร้างจังหวะของพื้นที่<br />

และมุมมองที่เชื่อมโยงกัน ไปพร้อมกับการ<br />

จัดสรรพื้นที่ภายในซึ่งช่วยสร้างประสบการณ์<br />

ใช้งานและกระชับความสัมพันธ์<br />

พื้นที่ของอาคารจึงแบ่งออกเป็นสองด้าน ซึ่ง<br />

เป็นพื้นที่ของห้องนอนที่เปิดหน้าต่างให้ลมพัด<br />

ผ่านช่องเปิดได้ทั้งสองฝั่ง ส่วนหลังคาตรงกลาง<br />

ยกสูงขึ้นให้ลมสามารถทะลุทะลวงได้โดยรอบ<br />

โดยเว้นคอร์ทตรงกลางไว้ 2 คอร์ท คอร์ท<br />

แรกเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำาหรับครอบครัวที่<br />

สามารถมองเห็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทาน-<br />

อาหารได้ ส่วนคอร์ทที่สองเป็นพื้นที่ปีนผา<br />

ของเจ้าของบ้าน ซึ่งจัดสรรเป็นพื้นที่แบบ<br />

กึ่งเอาท์ดอร์ ให้ได้บรรยากาศของการออก<br />

กำาลังกาย<br />

คอร์ทกลางของแต่ละชั้นจะมีจัดสรรช่องว่าง<br />

สะพานทางเดิน หรือระเบียงสลับกันไป เพื่อ<br />

สร้างจังหวะในการมองเห็น พร้อมกับลดความ<br />

เป็นทางการของอาคารสี่ชั้น เพิ่ม Sense of<br />

Place ของความเป็นบ้านให้มากขึ้นอีก เช่น<br />

เดียวกับช่องเปิดบันไดที่มีการบิดเปลี่ยน<br />

ระนาบไปในแต่ละชั้น เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ทาง<br />

ความรู้สึกที่อบอุ่นขึ้น โดยแต่ละช่องเปิดหรือ<br />

มุมเล็กซอกน้อย จะมีการแทรกต้นไม้เป็น<br />

จุดรวมสายตาของผู้คนภายในครอบครัว และ<br />

เป็นวิวสำาหรับเพื่อนบ้านรอบข้างที่ว่า อาคาร<br />

สูงสี่ชั้นแต่ทว่ายังดูโปร่งพร้อมกับเปิดมุมมอง<br />

ธรรมชาติให้กับความเป็นอยู่ในเมือง<br />

Ambiguity หรือความคลุมเครือ คือคีย์เวิร์ดที่<br />

สถาปนิกเลือกใช้กับวัสดุฟาซาดของบ้านหลัง<br />

นี้ “เพราะคำาว่า คลุมเครือ สามารถต่อยอด<br />

บทสนทนาระหว่างแต่ละองค์ประกอบของงาน<br />

สถาปัตยกรรมด้วยกันเอง และกับคนทำางาน<br />

ได้ หลายครั้งที่งานวัสดุจะไปตกผลึกในไซต์<br />

งานระหว่างก่อสร้าง เราก็ดูตามสภาวะและ<br />

มุมมองของพื้นที่”<br />

ส่วนของช่องลม คือความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่ม<br />

ของสถาปนิกว่าจะต้องใช้งาน เพราะด้วยลม<br />

ธรรมชาติบริเวณบ้านหลังนี้ดีมาก และวัสดุ<br />

อิฐช่องลมน่าจะดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ณ<br />

เวลานั้นในเรื่องของการดึงลมเข้าบ้าน พร้อม<br />

กับสร้างความปลอดภัยให้กับบ้านในเวลา<br />

เดียวกัน<br />

วัสดุส่วนงานฟาซาดอาคารแบ่งออกเป็น 2 แบบ<br />

ได้แก่ ผืนผนังคอนกรีตเซาะร่องตามแนวตั้ง<br />

ของอาคาร กับผืนผนังอิฐช่องลมที่ทำาหน้าที่<br />

เป็นกรอบของงานสถาปัตยกรรมโดยรวม โดย<br />

ใช้โครงสร้างของอาคาร การคว้านเจาะช่องเปิด<br />

และการกรุกระจก เป็นส่วนช่วยในการบรรจบ<br />

องค์ประกอบทั้งหมดให้เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน<br />

อย่างกลมกลืน<br />

ในการจัดวางแพทเทิร์นของอิฐช่องลม ผู้ออก-<br />

แบบได้ศึกษาเรื่องความทึบ-ความโปร่งเพื่อ<br />

จัดวางการไล่ระดับของความโปร่ง ให้สัมพันธ์<br />

กับรูปลักษณ์ของอิฐช่องลมแต่ละรุ่นที่มีหน้าตา<br />

และจำานวนของช่องเปิดแตกต่างกันไป อย่าง<br />

ในชั้นแรกจะดูทึบสุดด้วยเรื่องความเป็นส่วนตัว<br />

แล้วค่อยโปร่งขึ้นให้เห็นวิว ไล่ระดับขึ้นไปจนถึง<br />

ชั้นบนสุด พร้อมกันนั้นก็ทำาให้ช่องเปิดหลัก<br />

ของชั้นบนๆ เปิดออกมากขึ้นให้เห็นวิวทิวทัศน์<br />

นอกบ้าน”<br />

หลายมุมของบ้านที่เปลี่ยนรูปแบบของการจัด<br />

วางผนังอิฐช่องลมล้อมปิดกับการเปิดช่องว่าง<br />

กรุกระจกแทนในช่วงระหว่างการตรวจหน้างาน<br />

เพราะการปรับเปลี่ยนให้สอดประสานไปกับ<br />

ความรู้สึกจากเอฟเฟกต์ของมุมมอง แสง และ<br />

ลม ณ จุดนั้นจะเป็นการดึงศักยภาพของงาน<br />

ดีไซน์ที่มีผลต่อธรรมชาติของความเป็นอยู่<br />

ให้ได้มากที่สุด เอฟเฟกต์ของธรรมชาตินอก<br />

เหนือจากเรื่องลมแล้ว ยังเป็นเรื่องราวของแสง<br />

ธรรมชาติที่ทอดกระทบบนผืนผนังต่างๆ และ<br />

เปลี่ยนแปลงตามความเข้มของแสงตลอดวัน<br />

แสงธรรมชาติมีส่วนที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยง<br />

ผ่านมิติทางการมองเห็นมากขึ้น<br />

“ส่วนตัวชอบโปรเจ็คท์นี้มาก เพราะรู้สึกว่ามัน<br />

เปลี่ยนความคิดในเชิงการทำางานก่อสร้าง<br />

สถาปัตยกรรม และงานโครงสร้าง เพราะเป็นงาน<br />

ที่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ พื้นผิวคอนกรีต<br />

ของเส้นแนวอิฐ สีธรรมชาติของอิฐช่องลม และ<br />

การเลือกผนังวัสดุภายในที่เป็นซีเมนต์อิมพอร์ท<br />

สีเทา ที่เล่าเรื่องราวเดียวกันหมดทั้งตัวบ้าน ซึ่ง<br />

แสงและลมช่วยเติมอารมณ์ให้บ้านมีชีวิต รวมทั้ง<br />

ส่วนงานโครงสร้างที่ทิ้งให้เห็นคาน ท่อ สายไฟ<br />

ตอนนี้ก็รู้สึกขอบคุณความคิดตรงนั้นที่ทำ าให้<br />

เราเปลี่ยนว่า มันก็ไม่จำาเป็น ถ้ามันจะดิบก็ต้อง<br />

ปล่อยให้มันดิบไปเลย อย่าปรุงเยอะ”

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!