03.07.2020 Views

ASA JOURNAL 06/59

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

จะได้ถูกรวบรวมและเก็บรักษาให้เป็นระบบเพื่อร่วมสร้าง<br />

หลักฐานข้อมูลที่มีคุณค่าสาหรับสาธารณชนได้ใช้ในการ<br />

สืบค้นศึกษาหาร่องรอยของสถาปัตยกรรมในช่วงสมัย<br />

เดียวกัน หรือใช้ซ่อมแซมพระราชนิเวศน์แห่งนี้ก็ดี เพราะ<br />

หลักฐานเก่าแก่เพียงอย่างเดียวที่พระราชนิเวศน์มีคือ<br />

ภาพถ่ายเพียง 2-3 มุม เท่านั้น โดยปราศจากแบบก่อสร้าง<br />

ต้นฉบับอย่างน่าประหลาด ทั้งที ่ออกแบบควบคุมงานโดย<br />

ช่างต่างชาติซึ่งมีระบบในการทางานเป็นมาตรฐาน ดังนั้น<br />

การร่วมทาแบบสารวจรังวัดในยุคนี้ย่อมหมายถึงการบันทึก<br />

หลักฐานให้กับมรดกสถาปัตยกรรมสาคัญของชาติแห่งนี้<br />

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้อย่างแน่นอน<br />

เสร็จจากค่ายพระราชนิเวศน์นี้ ประมาณสองสัปดาห์<br />

ต่อมา ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว ได้เดินทางไป<br />

ออกค่ายต่อร่วมกับ Mr.Markku Mattila ผู้ริเริ่ม VERNADOC<br />

ซึ่งบินตรงมาจากฟินแลนด์เพื่อสารวจบ้านของชาว Batak<br />

ที่อยู่อาศัย ณ Lake Toba บนเกาะสุมาตรา ประเทศ<br />

อินโดนีเซีย โดยได้ Ms.Unaisati Bujung สถาปนิกสาว<br />

ชาวอินโดนีเซียผู้เพิ่งผ่านค่ายพระราชนิเวศน์ฯ บินมาสมทบ<br />

พร้อมกับอาสาสมัครหน้าใหม่จากเมืองอาเจะห์ (Aceh)<br />

ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาเรียนรู้วิธีการจากกูรูต้นฉบับ<br />

นับเป็นค่ายขนาดจิ๋วที่มีเพียง 4 คน โดยใช้เวลาตลอด 1<br />

สัปดาห์ ในการสารวจและบันทึกตัวอาคารด้วยดินสอ<br />

ก่อนแยกย้ายกันนากลับไปลงหมึกยังประเทศของใคร<br />

ของมันโดยยังไม่ได้กาหนดวันเสร็จ แต่อย่างไรการมาของ<br />

ผู้เชี่ยวชาญ VERNADOC ทั้งสองคนจากฟินแลนด์และ<br />

ไทยในครั้งนี้ ทาให้ Dr. Kemas ผู้เคยผ่านค่ายไปหมาดๆ<br />

หาเวลาบินตรงจากจาร์การ์ต้าเพื่อมาร่วมหารือและพูดคุย<br />

ถึงโอกาสในการจัดค่ายที่อินโดนีเซีย จะได้ร่วมมือในการ<br />

สร้างเครือข่ายสาหรับศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งมีความ<br />

หลากหลายในภูมิภาคอาเซียนและแปซิฟิคต่อไป<br />

ทั้งนี้ความชัดเจนในอัตลักษณ์อันน่าตื่นใจของสถาปัตย-<br />

กรรมของชาวบาตักและภูมิประเทศของทะเลสาบโตบา<br />

สร้างความตื่นเต้นให้กับทุกคนที่เพิ่งเคยมาเยือนเป็นครั้งแรก<br />

มาก ถึงกับเห็นพ้องต้องกันว่าควรได้จัด Batak VERNADOC<br />

อีกสักครั้งโดยทีม veteran ชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อถึงเวลา<br />

นั้นเชื่อแน่ว่าอาสาสมัครจากประเทศไทยคงพร้อมใจกันไป<br />

ช่วยเหลือ เพราะมิตรภาพที่เกิดขึ้นในค่ายมฤคทายวัน ทาให้<br />

เด็กไทยหลายคนก้าวข้ามพ้นอุปสรรคสาคัญในการสื่อสาร<br />

ด้วยภาษาเป็นที่เรียบร้อยภายในเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์<br />

และพร้อมสาหรับการสารวจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทุกพื้นที่<br />

ในโลกนี้อย่างแท้จริงแล้ว<br />

05 เด็กหญิงในชุมชนสนใจใน<br />

งานของอุไนซาติ บูจุง<br />

<strong>06</strong> ดร.จูลี่ นิโคลส์ จากมหา-<br />

วิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย :<br />

อาสาสมัครค่าย <strong>ASA</strong>+RSU<br />

VERNADOC 2016<br />

05<br />

<strong>06</strong><br />

Sudjit S. Sudjit S.<br />

94 <strong>ASA</strong> CONSERVATION วารสารอาษา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!