23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ต้นแบบการยืดอายุวัสดุไม้ไผ่บ้านพื้นถิ่น<br />

ประยุกต์ลักษณะประเพณีหมู่บ้านกะหร่างปกาเกอะญอ<br />

โป่งลึก แก่งกระจาน เพชรบุรี<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / terdsak@gmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบบ้านกะหร่างปกาเกอะญอ<br />

แห่งโป่งลึกในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานซึ่งเกิดจากปัจจัย<br />

ภายในและภายนอก ส่งผลให้คุณค่าทางอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน<br />

ดั้งเดิมที่เคยกลมกลืนไปกับธรรมชาติผืนป่าเริ่มเลือนลางไป การ<br />

ประยุกต์องค์ความรู้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ของชาวกะหร่างปกา<br />

เกอะญอกับความรู้ในการใช้งานไม้ไผ่ทางสถาปัตยกรรมปัจจุบัน<br />

เป็นการเปิดโอกาสในการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ดั้งเดิมให้กลับมา พร้อม<br />

ไปกับการตอบโจทย์ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการ<br />

ทดลองก่อสร้างต้นแบบบ้านกะหร่างปกาเกอะญอด้วยวิธีการ<br />

ประยุกต์ โดยผสานภูมิปัญญาเข้ากับศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้พบ<br />

ศักยภาพของวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่ซึ่งมีข้อจ ำกัด<br />

ในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและข้อจำกัดด้านงบประมาณและ<br />

การทำงานในพื้นที่ ได้แก่ การยืดอายุฐานรากเสาไม้ไผ่ด้วย<br />

ปูนซีเมนต์ การใช้น้ำส้มควันไม้ในการป้องกันมอดด้วยการกรอก<br />

น้ำยาในพื้นที่ การใช้สลักลิ ่มไม้ไผ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม<br />

ประสิทธิภาพการยืดอายุการใช้งานไม้ไผ่นั้น ยังมีหลากประเด็นที่<br />

ควรต้องศึกษาเพื่อปรับปรุงต่อไป ได้แก่ การประยุกต์ในส่วนวัสดุ<br />

มุงหลังคา รวมถึงการสร้างวงจรการปลูกไม้ไผ่ทดแทน หรือ ธนาคาร<br />

วัสดุไม้ไผ่ ลักษณะทางกายภาพที่แสดงออกผ่านรูปแบบที่หลาก<br />

หลายของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นภาคอีสานในปัจจุบันทำให้คนทั่วไป<br />

ได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเรือนพื้นถิ่นที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเริ่ม<br />

จากการลดจำนวนลงของเรือนมีใต้ถุนสูงที่ปลูกสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง<br />

เป็นการเพิ่มขึ้นของอาคารพักอาศัยที่สร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีต<br />

และมีรูปร่างภายนอกไม่แตกต่างจากบ้านจัดสรรในพื้นที่ย่านชาน<br />

เมืองใหญ่ๆ จนทำให้เป็นที่เข้าใจทั่วไปว่า แบบแผนที่อยู่อาศัยใน<br />

ท้องถิ่นในที่สุดจะถูกกระแสแห่งความเป็นเมืองครอบงำจนหมดสิ้น<br />

คสคัญ: กะหร่าง ปกากะญอ, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, ไม้ไผ่,<br />

บ้าน, การยืดอายุวัสดุ<br />

ที่มา<br />

แก่งกระจานเป็นนอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดใน<br />

ประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ถึง 3 จังหวัด และมีความอุดมสมบูรณ์<br />

ทางธรรมชาติจึงเป็นผืนป่าที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย<br />

คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO) เริ่ม<br />

พิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

ในปีพ.ศ. 2558 นอกเหนือจากความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแล้วนั้น<br />

บนพื้นที่อุทยานแห่งนี้ยังประกอบไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม<br />

ดั้งเดิมของชาวกะหร่างปกาเกอะญอที่พึ่งพาอาศัยผืนป่าแห่งนี้<br />

ได้อย่างกลมกลืน พื้นที่โป่งลึก และ บางกลอย เป็นอีกแหล่งชุมชน<br />

ชาวกะหร่างปกาเกอะญอ ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งจากวิถีชีวิตเดิม<br />

ที่นิยมย้ายถิ่นฐาน ประกอบด้วยวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่โดดเด่น ทั้ง<br />

รูปแบบบ้านเรือน และประเพณีกิจกรรมต่างๆ การเปลี่ยนวิถีการ<br />

ดำเนินชีวิตจากการทำไร่หมุนเวียนมาเป็นการทำเกษตรในพื้นที่<br />

ที่ถูกจัดสรร ส่งผลให้เกิดความต้องการของทรัพยากรที่มากขึ้น ทั้ง<br />

ปัจจัยสำหรับอุปโภค และบริโภค ตามการขยายตัวของชุมชน<br />

ภาพที่ 1 : ระหว่างการก่อสร้างบ้านแบบดั ่งเดิมหลังที่ 1 ร่วมกับช่างกะหร่าง<br />

100 101<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

Image 1 : The construction of traditional Paka-kyaw Karen house no.1 with the local artisans.<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!