23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ระเบียบวิธีวิจัย<br />

ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเอกสารและลงภาคสนามสำรวจรังวัด เพื่อ<br />

ศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที่และรูปแบบ ร่วมกับข้อมูลจากการสังเกต ถ่ายภาพ และสัมภาษณ์<br />

เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ<br />

ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลภาคสนาม เริ่มต้นการจัดทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อดำเนิน<br />

การสำรวจอย่างเร็ว (Rapid Survey) ด้วยการถ่ายภาพและวิธีการสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมรูปแบบทาง<br />

สถาปัตยกรรมของห้องแถวทั้งหมด จากนั้นนำมาคัดสรรห้องแถวที่มีรูปด้านหน้าของอาคาร (Front<br />

Façade) ที่แตกต่างกันเพื่อคัดสรรเป็นกรณีศึกษาสำหรับขั้นตอนการสำรวจรังวัดรูปด้านหน้าของ<br />

อาคาร และเมื่อได้ “ตัวแทน (Represent)” ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมห้องแถวที่เป็น “ตัวแบบที่<br />

หาได้ยาก (Rarity)” จึงวางแผนประสานงานกับเจ้าของห้องแถวที่เป็น “กรณีศึกษาคัดสรร (Selected<br />

Case studies)” เพื่อขอสำรวจรังวัดรูปด้านหน้าอาคาร รวมทั้งสัมภาษณ์ข้อมูล<br />

ผลการวิจัย<br />

จากการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นการศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวในเมือง<br />

ท่าชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย พบการศึกษาในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต เรื่อง “โครงการศึกษาความ<br />

เป็นไปได้ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่าในถนนบางสายให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม” (คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 2540.) ซึ่งมีข้อเสนอ<br />

ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่ารวมถึงอธิบายมิติทางประวัติศาสตร์เมือง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน สภาพ<br />

เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำแบบอาคารบางหลังในพื้นที่ นับเป็นการศึกษาในทาง<br />

สถาปัตยกรรมที่ศึกษาลงรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่มีมา (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน<br />

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2540) นำเสนอพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมเพียง<br />

แบบจีน แบบนีโอคลาสสิก แบบอาร์คเดโค่ และแบบสมัยใหม่12 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของยงธนิศร์<br />

พิมลเสถียร (2552: 14) “เรียนรู้สถาปัตยกรรมในเมืองเก่าภูเก็ต” ได้จำแนกรูปแบบห้องแถวออกเป็น<br />

4 ยุค คือ 1) พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงการเริ่มพัฒนาเมือง รูปแบบตึกแถวจึงเป็นไปตามวัฒนธรรม<br />

ของผู้อาศัยชาวจีนเป็นหลัก 2) พ.ศ. 2444-2474 เป็นช่วงที่การค้าขายแร่ดีบุกเฟื่องฟู ขณะเดียวกัน<br />

อังกฤษก็เข้ามาปกครองปีนังและสิงคโปร์และได้ก่อสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เป็นที่นิยมซึ่งนับ<br />

ได้ว่าเป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป 3) พ.ศ. 2475-2499 เป็นช่วง<br />

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเข้ามาของสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่หรือโม<br />

เดิร์น รวมทั้งการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ห้องแถวได้เปลี่ยนรูปแบบหน้าต่างเป็นทรงเรขาคณิต<br />

และ 4) หลัง พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา 13 จะเห็นว่าได้ให้ภาพพัฒนาการของห้องแถวแบ่งเป็นช่วงเวลา<br />

ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์แต่ก็เป็นเพียงข้อเสนอผ่านการศึกษาในเรื่องรูปด้านหน้าห้องแถวอันเป็น<br />

เค้าโครงต่อยอดให้กับการศึกษาของพัฒนพล สิทธิโชคและเกรียงไกร เกิดศิริ ซึ่งเป็น “คนใน”พื้นที่<br />

ทำการศึกษาเรื่อง “ความหลากหลายของรูปด้านตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์เมืองเก่าภูเก็ต”<br />

ข้อเสนอประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วนว่าด้วยประวัติศาสตร์เมืองเก่าและแบบแผนทางสถาปัตยกรรม<br />

ในการศึกษานี้ เป็นการมองผ่านความเป็นพหุวัฒนธรรมของคนในท้องที่ผสานกับความหลากหลาย<br />

ที่ปรากฏบนรูปด้านหน้าห้องแถว โดยเสนอพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถว (Shophouse Facade)<br />

แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ คือ “ห้องแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่1 (Local Style Type I)”“ห้องแถวแบบท้องถิ่น<br />

ระยะที่2 (Local Style Type II)” “ห้องแถวแบบสรรค์ผสาน แบบที่1(Eclectic Style Type I)” “ห้องแถว<br />

แบบสรรค์ผสาน แบบที่ 2 (Eclectic Style Type II)” “ห้องแถวแบบสมัยใหม่ (Modern Style)”<br />

และ“ห้องแถวรูปแบบใหม่(Contemporary Style)” 14 จะเห็นว่าในการศึกษาดังกล่าวนี้จำแนกรูปแบบ<br />

ห้องแถวไว้โดยละเอียด ดังนั้นในการศึกษาชิ้นนี้จะใช้ผลการศึกษาของพัฒนพลและเกรียงไกร<br />

เป็นแนวทาง<br />

Local Style I Local Style II Eclectic Style I Eclectic Style II Early Western Style<br />

ภาพที่ 2 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต<br />

Image 2 : Ilustration the Thalong shophouse development in Phuket province.<br />

[Local Style Type I]<br />

[Local Style Type II]<br />

[Eclectic Style Type I]<br />

[Eclectic Style Type II]<br />

[Early Modern Style]<br />

[Modern Style]<br />

ภาพที่ 3 : แสดงตแหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต<br />

Image 3 : Ilustration the locations of Thalang shophouse typology in Phuket province.<br />

12<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2540). “รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงย่านเมืองเก่าในถนนบางสายให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม”. กรุงเทพ<br />

: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.<br />

13<br />

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2552). “เรียนรู้สถาปัตยกรรมในเมืองเก่าภูเก็ต” ใน วารสารบ้านและเมืองเพื่อการพัฒนาบ้านและเมือง การเคหะแห่งชาติ 2, (เมษายน-มิถุนายน). 13-17.<br />

14<br />

พัฒนพล สิทธิโชคและเกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). “ความหลากหลายของรูปด้านตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์เมืองเก่าภูเก็ต” ในการประชุมวิชาการวิจัย-สร้างสรรค์: สรรพศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม “ระดับชาติ”และ”ระดับ<br />

นานาชาติ”. สถาปัตย์ปาฐะประจาปี พ.ศ.2559. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. ณ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (เอกสารออนไลน์).<br />

45<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!