23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

อยู่ที่การใช้วัสดุ “ชัดเจนว่าวัสดุนั้นถือเป็นรากฐานทางสถาปัตยกรรม ไม่ผิดเลยหากจะนิยาม<br />

สถาปัตยกรรมว่าเป็นศิลปะแห่งการก่อสร้างที่เหมาะสมด้วยวัสดุที่คู่ควร” (1902 : 391) แรงบันดาล<br />

ใจของมอร์ริสในปาฐกถาชิ้นนี้มาจาก คุณสมบัติบางประการของอาคารชนบทในอังกฤษที่ดู “เรียบ ๆ<br />

ไม่โอ้อวด และใช้การได้จริง” ดังที่เขากล่าวว่า “ทักษะที่ช่างก่ออิฐ หยิบ จับ เลือก วัสดุมาประกอบเข้า<br />

ด้วยกันอย่างมีจังหวะจะโคน ผ่านการกะเก็งอย่างชำนาญนั้น สร้างสรรค์งานได้ดีทีเดียว” (1902 : 394)<br />

[ภาพที่ 1]<br />

การหันเหความสนใจจาก “รูปแบบ” มาสู่ “วัสดุ” ในวงการสถาปนิกอังกฤษในปลายคริสต์<br />

ศตวรรษที่ 19 ข้างต้นนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่สถาปนิกและนักการทูตชาวเยอรมัน เฮอร์มันน์ มุทธีซิอุส<br />

(Hermann Muthesius, 1861-1927) ถือว่าพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ “นี่คือความสำเร็จของ<br />

ชาวอังกฤษที่ยังได้รับการชื่นชมน้อยไป พวกเขาคือพวกแรกที่ก้าวข้ามวิกฤตทางรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />

ขณะที่ในยุโรปไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรแบบนี้เลย” (2007, Vol.1 : 101) มุทธีซิอุสค้นพบกระแส<br />

ความสนใจในวัสดุในช่วงที่มาทำงานเป็นผู้ช่วยด้านวัฒนธรรมให้แก่สถานทูตเยอรมนีในประเทศ<br />

อังกฤษ อันเป็นตำแหน่งที่ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาบ้านพักอาศัยและวิถีการอยู่อาศัยของชาวอังกฤษ<br />

อย่างกว้างขวาง เวลากว่า 6 ปีที่เขาอุทิศให้กับการศึกษาดังกล่าวนี้ได้สรุปออกมาเป็นหนังสือ The<br />

English House จำนวน 3 เล่ม ที่ตีพิมพ์ในปี 1904-1905 ซึ่งนอกจากจะเป็นหนึ่งในผลงานของเขาที่<br />

รู้จักกันมากที่สุดแล้ว ยังเป็นผลงานที่ให้มุมมองเกี่ยวกับ “ความเป็นอังกฤษ” ผ่านสายตา “คนนอก”<br />

ที่น่าสนใจทีเดียว<br />

ใน The English House มุทธีซิอุสได้นิยามวิถีปฏิบัตินิยม (pragmatism) ของสถาปนิก<br />

ขบวนการศิลปหัตถกรรมในอังกฤษว่า “Materialism” (2007, Vol. I: 148-149) แม้คำ ๆ นี้จะมีรากศัพท์<br />

มาจากภาษาเยอรมัน “Materialismus” อันเป็นคำที่ปรากฏในทฤษฎีสถาปัตยกรรมในเยอรมนีมาก่อน<br />

เช่น ในงานเขียนของ ก็อตฟรีด เซมเปอร์ (Gottfried Semper) และ คาร์ล เชฟเฟอร์ (Karl Schafer)<br />

ซึ่งเป็นนักทฤษฎีที่มุทธีซิอุสติดตามผลงานอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามการใช้คำนี้ของมุทธีซิอุสใน<br />

อังกฤษให้ความหมายที่แตกต่างไปจากรากศัพท์ภาษาเยอรมันอย่างค่อนข้างจะสิ้นเชิง เพราะเขาใช้<br />

“Materialism” ในความหมายของวิธีคิดที่เน้นผลที่เกิดจากการลงมือทำ อันเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับ<br />

ปรัชญาจิตนิยม (Idealist Philosophy) ซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีแบบเซมเปอร์ ดังที่เขากล่าวว่า<br />

การบรรยายหรือดูงานทางสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็น การโชว์เนื้อแท้วัสดุ การแสดงสัจจะวัสดุ หรือ<br />

การเค้นศักยภาพของวัสดุให้ออกมา ตลอดจนคำทับศัพท์แปลก ๆ อย่าง ดีแมทธีเรียลไลเซชั่น (dematerialisation)<br />

ฯลฯ การที่เราพูดถึงวัสดุได้อย่างหลากหลายมิติในทุกวันนี้ อาจทำให้เราลืมไปแล้ว<br />

ว่า สถาปนิกได้ก้าวมาไกลจากเมื่อครั้งที่คุณค่าและความหมายของวัสดุยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในทาง<br />

ทฤษฎี<br />

การนิยามสถาปัตยกรรมว่าเป็น “ศิลปะแห่งวัสดุ” (the art of materials) นั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้จะกล่าวได้ว่าสถาปนิกใช้วัสดุในการทำอาคารมานับแต่โบราณกาล แต่<br />

ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่19 สถาปนิกยังไม่รู้จักการอธิบายความหมายของสถาปัตยกรรมด้วย “วัสดุ”<br />

นิยามเช่นนี้มีความหมายที่แท้จริงอย่างไรเป็นนิยามที่เกิดขึ้นเฉพาะเจาะลงในแต่ละเวลาสถานที่หรือว่า<br />

แท้จริงแล้วมีลักษณะเป็นวาทศิลป์สากลอย่างที่เกิดขึ้นดาษดื่นในยุคแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />

การสำรวจ 3 แนวความคิดหลัก ๆ เกี่ยวกับวัสดุในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่จะได้กระทำต่อ<br />

ไปนี้ จะช่วยยืนยันว่า โดยแท้จริงแล้วไม่เคยมีความเห็นพ้องต้องกันถึงบทบาทและความหมายของ<br />

วัสดุในทางสถาปัตยกรรมเลย เพราะทันทีที่มีข้อเสนอว่าการใช้วัสดุควรจะเป็นเช่นนี้ ไม่เป็นเช่นนั้น<br />

เราก็จะพบตรรกะที่แตกต่างกันในเรื่องเดียวกันแทบจะทันที<br />

“ปล่อยให้อิฐพูดภาษาอิฐ หิน...พูดภาษาหิน แต่ละวัสดุมีสเนียงของตัวเอง” : สนัก<br />

เหตุผลนิยมฝรั่งเศส<br />

ในฝรั่งเศส บรรดานักเหตุผลนิยม (Rationalists) เชื่อว่า สถาปัตยกรรมนั้นเกิดมาจากระบบโครงสร้าง<br />

(structural system) ซึ่งกำหนดมาแล้วก่อนงานก่อสร้างจะเริ่มขึ ้น ดังที่นักทฤษฎีและสถาปนิกชาว<br />

ฝรั่งเศส วิโอเลต์-เลอ-ดุก (Viollet-le-Duc, 1814-1879, ภาพที่ 2) กล่าวไว้ใน Discourses on Architecture<br />

พิมพ์ครั้งแรกในภาษาฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1889 ว่า “สถาปัตยกรรมทั้งหลายนั้นก่อรูปมาจาก<br />

โครงสร้าง” (1959 : 3) เป้าหมายทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดในความเห็นของเขาคือ “การสร้าง<br />

รูปแบบภายนอกให้สอดคล้องสัมพันธ์กับระบบโครงสร้าง [ภายใน]” (1959 : 3) พูดอีกอย่างได้ว่า สิ่งที่<br />

ถูกสร้างขึ้นมานั้นต้องคล้อยตามระบบที่เป็นตัวก่อรูปมันขึ้นมา<br />

สิ่งที่ต้องมีมาก่อนในบรรดาสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นควรมาจากวัสดุ จุดประสงค์ และ<br />

การก่อสร้าง รูปแบบจึงควรเป็นผลที่ตามมาจากข้อกำหนดเบื้องต้นเหล่านี้ ไม่ใช่จากแนวคิด<br />

ประเภทอุปาทานที่เป็นอิสระ แต่เหนืออื่นใดแล้ว งานฝีมือควรจะต้องพิถีพิถันสมบูรณ์<br />

เรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่จึงกลายเป็นสภาวะที่แยกจากกันไม่ได้ (2007, Vol.1 : 148)<br />

ด้วยมุมมองเช่นนี้หลังจากที่มุทธีซิอุสกลับไปยังเยอรมนีเขาจึงได้ผลักดันให้เกิดกระแสความ<br />

สนใจใน ฝีมือช่าง การก่อสร้าง และวัสดุ เช่นที่เกิดขึ้นในอังกฤษ<br />

อย่างไรก็ตามในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้ต้องการบอกว่า ขบวนการศิลปหัตถกรรมในอังกฤษเป็น<br />

จุดกำเนิดแบบจริงแท้แน่นอนของขบวนการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่(อันเป็นประเด็นที่นิโคลลัส เพฟเนอร์<br />

เสนอใน Pioneers of Modern Design: From William Morris to Walter Gropius) เพราะแม้จะมี<br />

ส่วนจริงก็ตาม แต่ความก้าวหน้าทางวิชาการในปัจจุบันก็ได้ขยายมุมมองในการพิจารณาต้นก ำเนิดของ<br />

ขบวนการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ไปทั้งกว้างและไกลกว่าที่เคยเข้าใจ<br />

สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจกว่าคือ ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเป็นมาของ “วัสดุ” หากวัสดุ<br />

เป็นส่วนสำคัญยิ่งทางสถาปัตยกรรมอย่างปฏิเสธไม่ได้แล้ว เราน่าจะพิจารณาในทางประวัติศาสตร์ว่า<br />

วัสดุได้เคยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อถกเถียงทางทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมอย่างไรเพราะนับตั้งแต่กลาง<br />

ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ที่วัสดุได้กลับมาเป็นที่พูดถึงกันในวงการสถาปัตยกรรมอีกครั้งหนึ่ง<br />

(Weston, 2003 : 186) จนเราแทบจะไม่เคยไม่ได้ยินการเอ่ยถึง “material” หรือ “materiality” ในระหว่าง<br />

ภาพที่ 2 : สถาปนิกและนักทฤษฎีชาวฝรั่งเศส วิโอเลต์-เลอ-ดุก<br />

ที่มาภาพ : Bonjour. (2015). A portrait of Viollet-le-Duc. Accessed November 11, 2017.<br />

Available from https://bonjourparis.com/wp-content/uploads/2015/11/Viollet-Duc.jpg<br />

Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology 12<br />

62 63<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!