23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคาร (Adaptive Reuse หรือ Adaptive Use) หมายถึง<br />

กระบวนการปรับอาคารเพื่อการใช้สอยแบบอื่นที่ต่างไปจากสิ่งที่ตั้งใจออกแบบไว้เดิม โดยจะกระทำ<br />

ได้ก็ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงอาคารในด้านต่างๆ (William J. Murtagh, 1997: 116) เป็นการรักษา<br />

อาคารเก่าด้วยแนวทางทางเศรษฐศาสตร์โดยการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้กลุ่มใหม่<br />

(James Marston Fitch, 1995: 47) นับเป็นระดับของการปฏิบัติการอนุรักษ์ที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง<br />

อาคารเดิมมากขึ้น เมื่อเทียบกับการอนุรักษ์ (Conservation) การบูรณะ (Restoration) และการ<br />

คงสภาพอาคาร (Preservation) มีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องและใช้กับการปรับปรุงและ<br />

เปลี่ยนแปลงอาคารเก่า อาทิRenovation, Rehabilitation, Revitalization, Adaptation, Conversion<br />

และ Repurposing แต่ทั้งหมดล้วนสื่อถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบางส่วนของอาคารเก่า<br />

เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการแบบปัจจุบันได้และพยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาคาร<br />

น้อยที่สุด (ปิ่นรัษฎ์ กาญจนัษฐิติ, 2552: 86-87) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่แสดงรูปแบบของการอนุรักษ์<br />

อาคารเก่าให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตหรือมีประโยชน์ (Living heritage) แทนที่จะเป็นเพียง<br />

ซากอารยธรรมในอดีต (Dead monument) ที่ขาดความเชื ่อมโยงกับวัฒนธรรมปัจจุบัน นอกจากนี้<br />

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับอาคารหรือย่านเก่า แม้ว่า<br />

การก่อสร้างอาคารใหม่ด้วยการปรับใช้อาคารเก่าอาจไม่ช่วยลดงบประมาณเสมอไปก็ตาม และความ<br />

สำเร็จในการอนุรักษ์คุณค่าและความแท้ของอาคารก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปรับปรุงอาคารแต่ละกรณี<br />

การส่งต่อเรือนเก่าตามประเพณี<br />

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าถูกปฏิบัติในสังคมไทยมาแต่อดีต ด้วย<br />

ประเพณีความเชื่อและความตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมไม่ให้สูญเสียไปรูปแบบอาคาร<br />

ที่ถูกส่งต่อและนำกลับมาดัดแปลงใช้ประโยชน์อีกครั้งที่เห็นได้ชัดและมีหลักฐานปรากฏคือเรือนไทย<br />

หรือบ้านทรงไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยพื้นฐานที่มีคุณสมบัติที่สามารถถอดเรือนเพื่อรื้อถอนไป<br />

ประกอบใหม่ได้โดยไม่เกิดความเสียหายแก่วัสดุเนื่องจากการก่อสร้างเรือนเครื่องสับใช้การประกอบ<br />

ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเข้าเดือยไม้เพื่อยึดชิ้นส่วนองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน การย้ายตำแหน่งเรือนเพื่อ<br />

โยกย้ายถิ่นฐานหรือขยายครอบครัวโดยการต่อเติมเพิ่มจำนวนเรือนจึงสามารถทำได้ง่าย เมื่อเจ้าของ<br />

บ้านเสียชีวิตและไม่มีผู้อยู่อาศัยในเรือนเดิมแล้ว ลูกหลานจึงนิยมรื้อถอนบ้านเพื่อถวายให้วัดได้ใช้<br />

เป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทำบุญให้ผู้ตาย เนื่องจากมีความเชื่อถือไม่นิยมส่งต่อเรือนเก่าของ<br />

ผู้ตายไปให้ผู้อื่นใช้งานต่อ เรือนเก่าเหล่านี้วัดมักนำไปปลูกประกอบใหม่และปรับใช้ประโยชน์ตามที่<br />

เห็นเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของเรือน สำหรับเรือนขนาดเล็กมักปรับใช้เป็นกุฏิสงฆ์<br />

หากเป็นเรือนคหบดีที่มีขนาดใหญ่และมีความประณีตในการก่อสร้างอาจปรับใช้เป็นโบสถ์วิหารหรือ<br />

หอไตร ตัวอย่างที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัด<br />

เพชรบุรี ซึ่งเดิมเคยเป็นตำหนักของเจ้าฟ้าพระขวัญ สมัยอยุธยาตอนปลาย แล้วพระสรรเพชญ์ที่ 8<br />

หรือพระเจ้าเสือได้รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโม ส่วนหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม<br />

วรมหาวิหาร ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าตำหนักจันทน์ มีลักษณะเป็นเรือนไทยแบบแฝดติดกัน 3 หลัง<br />

ดั้งเดิมเคยเป็นตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ<br />

ทรงรับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงรับสั่งให้รื้อตำหนักมาปลูกถวายวัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งต่อมา<br />

คือวัดระฆังฯ และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงมีพระราชประสงค์ให้ปฏิสังขรณ์และใช้เป็นหอ<br />

พระไตรปิฎกปลูกลงกลางสระที่ขุดขึ้นใหม่ วิหารวัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ<br />

อาคารในวัดที่เคยเป็นหอคำหรือคุ้มเจ้าหลวงที่ประทับของเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์<br />

ที่ 5 ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง การปรับเปลี่ยนการใช้สอยของเรือนไทยเก่ายังคงเห็นอยู่จนถึงใน<br />

ปัจจุบัน คุณสมบัติทางกายภาพดั้งเดิมของเรือนไทยซึ่งที่มีความยืดหยุ่นอยู่ในตัวช่วยเอื้อต่อการปรับ<br />

เปลี่ยนอาคารได้สะดวกขึ้น (Saithiwa Ramasoot, 2008) ความเชื่อในการส่งต่อเรือนไทยเก่าที่เคย<br />

ละเว้นในอดีตลดความเคร่งครัดลงไป เนื่องจากเรือนไทยเก่ามีราคาสูงขึ้นมาก จึงเกิดธุรกิจค้าขาย<br />

เรือนเก่าหรือส่วนประกอบของเรือนเก่าของชาวบ้านเพื่อนำมาซ่อมแซม ปรับปรุงและปลูกใหม่ทั้งการ<br />

ปรับเปลี่ยนประโยชน์สำหรับรองรับกิจกรรมอื่น และการที่ยังคงใช้งานเป็นที่อยู่อาศัยแต่ปรับเปลี่ยน<br />

รูปแบบเพื่อตอบรับวิถีชีวิตการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตัวอย่างการนำเรือนไทยเก่ามาปรับใช้ใหม่ เช่น<br />

ตำหนักปลายเนินและเรือนไทยของคุณลดา รัตกสิกร ส่วนบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช (ภาพที่1) เป็น<br />

กรณีศึกษาที่แสดงการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการใช้สอยของอาคารหลายครั้งให้เหมาะสมกับปัจจัย<br />

เงื่อนไขและการใช้สอยใหม่ หมู่เรือนไทยนี้เกิดมาจากการประกอบกันของเรือนเก่าที่ค่อยๆ ซื้อหามา<br />

จากต่างสถานที่และเวลา โดยมีการปรับแต่ละเรือนให้ตอบรับกับวิถีชีวิตปัจจุบัน เช่น การติดตั้งห้องน้ำ<br />

สมัยใหม่และระบบปรับอากาศ การต่อเติมห้องใต้ถุนบ้าน โดยเฉพาะการติดตั้งลิฟท์เพื่อรองรับปัญหา<br />

สุขภาพของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ต่อมาเมื่อท่านเสียชีวิต ทายาทจึงปรับบ้านและสถานที่อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเปิดให้เช่าพื้นที่เพื่อจัดงาน<br />

จากวังและบ้านพักเจ้านายสู่อาคารที่ทการหน่วยงานและองค์กร<br />

อาคารราชการนับเป็นประเภทอาคารใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ วัง<br />

หรือบ้านพักของเจ้านายในอดีตมีลักษณะการใช้ประโยชน์เป็นทั้งที่ทำงานและที่อยู่อาศัย หรือมีพื้นที่<br />

ทำงานและพื้นที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในอดีตจึงไม่เห็นหลักฐานการปรับเปลี่ยนการใช้สอย<br />

ของอาคารอย่างชัดเจน จนกระทั่งเมื่อหน่วยงานราชการในประเทศเพื่อรองรับการปกครองและบริการ<br />

สมัยใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นจึงมีความจำเป็นต้องสร้างอาคารขึ้นรองรับการขยายตัว ตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่4<br />

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารปูนขนาดใหญ่ในรูปแบบตะวันตก แต่การก่อสร้างลดจำนวนลงมากเมื่อเกิด<br />

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจในช่วงรัชกาลที่7 ประกอบกับรัชกาลที่7 ไม่มีทายาทจึงทำให้วังจำนวนมาก<br />

ว่างลง และเกิดการปรับใช้ประโยชน์ของวังและบ้านพักเจ้านายเหล่านั้นซึ่งถือเป็นทรัพย์สินของราชการ<br />

เพื่อสาธารณประโยชน์ ตัวอย่างเช่น วังสวนสุนันทาซึ่งเป็นเขตพระราชฐานของพระบรมวงศานุวงศ์<br />

ฝ่ายในได้ถูกใช้เป็นโรงเรียน และเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกทิ้งร้างก่อนที่อาคารสถาน<br />

ที่จะถูกใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยซึ่งกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา<br />

ตามลำดับ ในกรณีของวังบางขุนพรหม ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อตกเป็นของรัฐบาลหลังการ<br />

เปลี่ยนแปลงการปกครอง หลายอาคารได้ถูกใช้เป็นกรมยุวชนทหารบก สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และ<br />

เป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระราชวังพญาไท ซึ่ง<br />

แรกเริ่มเป็นวังในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับการขยายเป็นพระราชวังในรัชกาลที่ 6 แต่ในรัชกาลต่อมา<br />

ได้โปรดให้ปรับปรุงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับชาวต่างประเทศและเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจาย<br />

เสียงแห่งแรกของไทย จนเลิกกิจการโรงแรมวังพญาไทเมื่อปีพ.ศ. 2475 และรัชกาลที่7 ได้พระราชทาน<br />

วังนี้ให้กลายโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน (ภาพที่ 2) นอกจากนี้ ยังพบกรณีของบ้านคหบดี<br />

หลายแห่งซึ่งถูกขายหรือให้เช่าแก่รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆเพื่อใช้เป็นที่ท ำการหรือประโยชน์สาธารณะ<br />

เช่น บ้านมนังคศิลา ซึ่งดั้งเดิมเคยเป็นบ้านของพระยาอุดมราชภักดี แต่ต่อมาได้ถูกปรับใช้สอยใน<br />

หลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้เป็นบ้านพักรับรองอาคันตุกะของรัฐบาล ที่ประชุม ที่ทำการพรรคการเมือง<br />

และถูกใช้เป็นสำนักงานของสภาสตรีแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน วังพระอาทิตย์หรือบ้านพระอาทิตย์<br />

เคยเป็นบ้านของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ 7 เคยถูกเช่าใช้เป็น<br />

ที่ทำการของสถาบันเกอเธ่ ต่อมาได้ขายให้กับเอกชนและใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์<br />

ผู้จัดการ บ้านนรสิงห์หรือตึกไทยคู่ฟ้าซึ่งใช้เป็นท ำเนียบรัฐบาลและสถานที่รับรองแขกบ้านแขกเมืองนั้น<br />

ภาพที่ 2 : วังพญาไทซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั ้งของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า<br />

Image 2 : Phyathai Palace and present-day Phramongkutklao Hospital<br />

80 81<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!