23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่า<br />

ในประเทศไทย: จากการอนุรักษ์ สู่การปรับตัวทางสังคม<br />

เศรษฐกิจ และโจทย์ท้าทายในการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

ดร.สายทิวา รามสูต<br />

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / archstw@ku.ac.th<br />

บทน<br />

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเป็นกระบวนการที่คืนประโยชน์ใช้สอยให้กับอาคาร<br />

ที่มีอยู่แล้ว โดยมีการปรับปรุงทางกายภาพควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยจากที่ออกแบบ<br />

ไว้เดิม การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารในประเทศไทยถูกปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตและเป็นที่<br />

นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าด้านต่างๆ ของ<br />

สถาปัตยกรรมและเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรที่มีอยู่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อศึกษาการปฏิบัติและพัฒนาการของกระบวนการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่า<br />

ในประเทศไทยซึ่งมีที่มาและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยทบทวนและจัดกลุ่มรูปแบบของการปฏิบัติ<br />

พร้อมกับรวบรวมประเด็น ปัจจัย ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้<br />

อาคารเก่าในแต่ละรูปแบบ ผ่านการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรม การสังเกตและสำรวจจาก<br />

สถานการณ์และกรณีศึกษาโดยสังเขป การศึกษาพบว่ารูปแบบในการปรับใช้อาคารเก่าในอดีต<br />

มักสัมพันธ์กับปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคม แนวคิดการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมส่งผลให้การ<br />

ปรับใช้อาคารที่มีคุณค่าในอดีตมักคำนึงถึงฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์<br />

การใช้สอยของอาคารเดิม แต่แนวทางการปรับใช้อาคารเก่าในปัจจุบันเปิดกว้างและท้าทายความคิด<br />

สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการตีความที่หลากหลายขึ้นในดึงศักยภาพของอาคารเก่ามาใช้ทั้งประเภทและ<br />

รูปแบบของอาคารเดิม ประโยชน์ใช้สอยที่ปรับใหม่และการออกแบบปรับปรุงทางกายภาพที่เกี่ยวข้อง<br />

เพื่อจุดประสงค์ที่ไม่จำกัดเฉพาะการอนุรักษ์อาคารและฟื้นฟูย่าน แต่ยังเอื้อให้เกิดปรับตัวและตอบ<br />

สนองต่อสภาวะและปัจจัยอื่นๆ ในปัจจุบัน เช่น สังคม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว<br />

การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาสมดุล<br />

ระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา และสามารถรองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วยความ<br />

ยืดหยุ่นและความหลากหลายของการปฏิบัติ<br />

คสคัญ: การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย, การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, อาคารเก่า, การฟื้นฟู<br />

บทคัดย่อ<br />

การพัฒนาโครงการสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาคารเก่าที่ตั้งอยู่เดิมภายในบริบทที่ตั้ง<br />

โครงการพบได้บ่อยครั้งในการปฏิบัติวิชาชีพในปัจจุบัน การปรับปรุงทางกายภาพและปรับเปลี่ยน<br />

ประโยชน์ใช้สอยเป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการกับอาคารเดิมซึ่งเมื่อแรกเริ่มถูกออกแบบและผ่าน<br />

การใช้สอยในรูปแบบอื่น แต่ปัจจุบันอาจไม่ได้ถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ล้าสมัยหรือไม่สอดคล้อง<br />

กับความต้องการอีกต่อไป กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการอนุรักษ์มรดก<br />

สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าและศักยภาพในการใช้สอย เนื่องจากข้อดีในการเก็บรักษาและยืดอายุ<br />

อาคารเดิมไว้แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และตีความใหม่ ๆ ตามสมควร แต่ถูกนำมาใช้กับ<br />

อาคารร่วมสมัยที่มีสภาพความสมบูรณ์ในระดับต่างๆ แต่ถูกใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ โดยสาเหตุและจุด<br />

ประสงค์แตกต่างกันไป เช่น เพื่อตอบสนองต่อศักยภาพของอาคารและที่ตั ้ง การปรับตัวตามปัจจัย<br />

แวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรเดิมและลดการใช้ทรัพยากร<br />

ใหม่เพื่อความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อม (Charles Bloszies, 2012) บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ<br />

ศึกษาการปฏิบัติและพัฒนาการของกระบวนการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าใน<br />

ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุและเป้าหมายต่างๆ โดยจัดกลุ่มรูปแบบของการปฏิบัติที่เกิดซ้ำๆ และ<br />

ชี้ให้เห็นประเด็น ปัจจัย ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้อาคารเก่า<br />

ภาพที่ 1 : บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อนและหลังการซ่อมแซมและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ (ที่มาภาพก่อนการซ่อมแซม: บริษัทแชฟ้าจกัด)<br />

โดยไม่ลงรายละเอียดการวิเคราะห์การออกแบบเพื่อปรับปรุงอาคาร โดยศึกษาผ่านการทบทวน<br />

Image 1 : M.R. Kukrit Pramoj’s residence, before and after restoration and conversion into a house museum (Source: Chaefa Co., Ltd.)<br />

วรรณกรรม<br />

78<br />

และการสังเกตและสำรวจจากสถานการณ์และกรณีศึกษาโดยสังเขป<br />

79<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!