23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ว่าด้วย “วัสดุ”<br />

: แนวคิดทางสถาปัตยกรรมแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19<br />

ดร. พินัย สิริเกียรติกุล<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / p.sirikiatikul@gmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

ท่ามกลางกระแสความสนใจต่อวัสดุในวงการสถาปัตยกรรมทุกวันนี้<br />

บทความนี้มุ่งศึกษาจุดก ำเนิดและพัฒนาการยุคแรกของแนวความคิด<br />

ทางสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับวัสดุ โดยพิจารณามุมมองต่อวัสดุที่แตกต่าง<br />

ของ 3 นักเขียนทางสถาปัตยกรรมแห่งยุโรปในศตวรรษที่19 ได้แก่<br />

วิโอเลต์-เลอ-ดุก, ก็อตฟรีด เซมเปอร์ และ จอห์น รัสกิน บทความ<br />

เสนอว่า ไม่เคยมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องว่าวัสดุนั้นควรจะเป็น<br />

เช่นไรในทางสถาปัตยกรรม ซึ่งด้วยพื้นฐานเช่นนี้นี่เองที่จะปลดปล่อย<br />

เราจากการยึดติดกับแนวความคิดใดแนวความคิดหนึ่ง และทำให้<br />

สามารถยอมรับความหลากหลายในการตีความวัสดุที่น ำไปสู่ผลลัพธ์<br />

ทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างได้<br />

คสคัญ: วัสดุ, วิโอเลต์-เลอ-ดุก, ก็อตฟรีด เซมเปอร์, จอห์น รัสกิน<br />

ไพท์: “หากกล่าวถึง ไมเคิลแองเจโล และ คริสโตเฟอร์<br />

เรน, คนหนึ่งเริ่มต้นจากผลของคลาสสิค อีกคน [เริ่ม]<br />

จากศิลปะแบบอิตาเลียน เราควรเริ่มจากอะไรดี”<br />

เลธาบี: “วัสดุ”<br />

บทสนทนาระหว่างเบเรสฟอร์ด ไพท์ (Beresford Pite)<br />

และวิลเลียม เลธาบี (William Lethaby) ในชั้นเรียน<br />

“ปัญหาของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ณ Architectural<br />

Association ลอนดอน ค.ศ. 1896 (‘An Architectural<br />

Symposium’, 1896: 307)<br />

แน่นอนว่า “วัสดุ” เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของสถาปัตยกรรม<br />

สถาปนิกในทุกยุคสมัยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันต้องรู้จักคุ้นเคยกับวัสดุ<br />

อย่างไรก็ตามหากกล่าวในฐานะทฤษฎีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />

“วัสดุ” เพิ่งได้เข้ามามีบทบาทราว 2 ศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง<br />

ภาพที่ 1 : โบสถ์ออลเซนต์ส สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1902 ออกแบบโดยวิลเลียม เลธาบี นักประวัติศาสตร์และสถาปนิกขบวนการศิลปหัตถกรรม<br />

คกล่าวของเขาที่ว่า “ความงามนั้นไม่ใช่ประเด็นคถามทางด้านรูปทรงเท่านั้น แต่คือร่องรอยการใช้ปัญญา (mind) ที่มีต่อวัสดุอย่างเหมาะสม” (1913: 176)<br />

แสดงให้เห็นอิทธิพลทางความคิดของวิลเลียม มอร์ริสอย่างชัดเจน ที่มาภาพ : RIBA Collections (1902). All Saints, Brockhamption-by-Ross, Herefordshire.<br />

60 61<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

Image 4 : the Theravada Buddhist Cosmology 12<br />

ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปฏิวัติ<br />

อุตสาหกรรมทำให้ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นดินแดนที่<br />

ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ<br />

บรรดานักคิดและสถาปนิกแห่งสังคมยุโรปจึงต้องครุ่นคิดกับ<br />

ประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในวงการสถาปัตยกรรมและการ<br />

ก่อสร้างอยู่เสมอ ทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของกระแสดัง<br />

กล่าว ดังบทสนทนาข้างต้นที่สะท้อนภาวะสับสนในวงการสถาปนิก<br />

อังกฤษในช่วงปลายศตวรรษว่า ควรเริ่มต้นการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมด้วยรูปแบบของยุคใดดีซึ่งนอกจากเลธาบีจะปฏิเสธ<br />

วิธีเริ่มต้นด้วย “รูปแบบ” อันเป็นความเชื่อที่ยึดถือกันมาอย่าง<br />

ยาวนานแล้ว ยังเสนอให้พิจารณา “วัสดุ” เป็นตัวตั้งต้นแทน<br />

แนวคิดของเลธาบีที่ให้หันมาให้ความสำคัญกับวัสดุส่วน<br />

หนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากปาฐกถา เรื่อง “The Influence of Building<br />

Materials upon Architecture” ของวิลเลียม มอร์ริส (William<br />

Morris, 1834-1896) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำทางความคิดและศิลปิน<br />

คนสำคัญของขบวนการศิลปหัตถกรรมของอังกฤษ (The Art and<br />

Crafts Movement) โดยมอร์ริสเสนอว่า สารัตถะของสถาปัตยกรรมนั้น<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!