23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

นอกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดตำแหน่งการเกิดเมืองท่าแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของ<br />

ทรัพยากรยิ่งทำให้ชัยภูมิของคาบสมุทรภาคใต้และคาบสมุทรมลายูเป็นที่หมายปองของบรรดา<br />

ผู้ประกอบการค้าบนเส้นทางสายมหาสมุทร ทั้งจีน สยาม และชาติตะวันตกนานาประเทศที่สับเปลี่ยน<br />

หมุนเวียนเข้ามามีอิทธิพลเหนือพื้นที่ดังกล่าว นับตั้งแต่โปรตุเกส ฮอลันดา และท้ายสุด คือ อังกฤษ<br />

ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สืบทอดวัฒนธรรม และประจักษ์หลักฐานทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ดังกล่าว<br />

มาอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ดังภาพสะท้อนผ่าน “สถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวการค้า” ในเมืองท่าต่างๆ<br />

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง<br />

ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโลก (Encyclopedia of Vernacular Architecture) โดย<br />

Paul Oliver เสนอว่า การก่อตัวของ “ห้องแถวการค้า (Shop House)” เกิดจากความต้องการเรื ่อง<br />

ประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ 3 (Paul Oliver, 1998: 21) สอดคล้องกับงานเขียนของ Julian Davison<br />

ที่ให้คำอธิบายสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวว่า ทำหน้าที่รองรับการพาณิชย์และพักอาศัยอยู่ภายใน<br />

อาคารหลังเดียวกัน โดยมากมักจะพบห้องแถวปลูกสร้างอยู่ริมถนนเพื่อสะดวกในการค้าขาย ทั้งนี้<br />

เจ้าของบ้านจะทำการค้า หรือธุรกิจอยู่ในพื้นที่ชั้นล่างตัวอาคารด้านหน้า ในขณะที่ครอบครัวจะอยู่<br />

อาศัยในตัวอาคารด้านหลัง และพื้นที่ชั้นสองของห้องแถว 4<br />

ประกอบกับเมื่อพิจารณาในเรื่อง “รูปทรง(Form)” และ “รูปด้านหน้า(Facade)” ของห้องแถว<br />

ทั้ง Julian Davison และ Tan Yeow Wooi ให้คำจำกัดความไปในทิศทางเดียวกันว่า ลักษณะอาคาร<br />

สูง 2-3 ชั้น หน้าแคบแต่ลึกยาว ผนังด้านหน้าอาคารชั้นล่างถูกถอยล่นจากแนวถนน ในขณะที่แนว<br />

ผนังชั้นบนอ้างอิงกับขอบถนนยื่นคลุมพื้นที่เฉลียงด้านหน้าโดยถ่ายน้ำหนักผนังชั้นบนลงสู่เสา และใน<br />

หนึ่งช่วงแถว (Block) ผนังกั้นระหว่างคูหาจะถูกใช้ร่วมกัน (Shared party walls) ด้วยห้องแถวสร้าง<br />

ต่อเนื่องเรียงเป็นแนวยาวตลอดถนนจึงทำให้พื้นที่เฉลียงด้านหน้าของห้องแถวสามารถใช้เป็น “ทาง<br />

เดินในร่ม (Covered walkway)” หรือที่เรียกว่า “หง่อคากี่ (Five-foot way)” ซึ่งผู้บุคคลทั่วไปใช้สัญจร<br />

ไปมาหลบแดดและฝนได้ ส่วนโครงสร้างและวัสดุพื้นฐานที่ใช้ก่อสร้างห้องแถว คือ ไม้และอิฐ 5<br />

ทั้งนี ้รูปแบบของห้องแถวอันเป็นเอกลักษณ์ถือกำเนิดขึ้นจากสัมภาระทางวัฒนธรรมของ<br />

คนจีนที่ย้ายถิ่นจากประเทศจีนไปตั้งถิ่นฐานนอกประเทศ ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโลก (Paul<br />

Oliver. 1998: 657) ยังให้ข้อมูลว่าห้องแถว เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลจีนโดยเริ่มสร้างขึ้นในพื้นที่คาบสมุทร<br />

มลายู และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองท่าต่าง ๆ รุ่งเรืองขึ้น<br />

จากการถูกกำหนดให้เป็นสถานีการค้า แหล่งรวบรวมสินค้า แหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนแหล่ง<br />

รวมรวมเครื่องอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง 6 โดยเฉพาะการเข้ามามีอิทธิพลภายใต้<br />

เครือจักรภพอังกฤษ (บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ) ผ่านการสถาปนาดินแดนอาณานิคม<br />

ช่องแคบ (Strait Settlement) เมื่อปีพ.ศ.2329 ประกอบด้วย เมืองปีนัง เมืองสิงคโปร์และเมืองมะละกา<br />

โดยมีสถานีการค้าใหญ่ตั้งอยู่ที่ “เมืองจอร์จทาวน์เกาะปีนัง” ทำให้เมืองท่าต่างๆ ในคาบสมุทรมลายู<br />

เติบโตมากยิ่งขึ้น และเริ่มต้นปลูกสร้างห้องแถวควบคู่กับการพัฒนาเมืองตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษ<br />

ที่ 18 เป็นต้นมา<br />

ในระยะเวลาเดียวกันนั้นเมืองท่าคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยก็เติบโตและพัฒนาควบคู่<br />

กัน สัมพันธ์ผ่านการติดต่อค้าขายทางทะเล ดังจะเห็นได้จากห้องแถวที่ปรากฏในเมืองท่าต่าง ๆ ได้แก่<br />

เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองกันตัง เมืองภูเก็ต และเมืองตะกั่วป่า ทั้งนี้พบ<br />

การศึกษาเรื่องห้องแถวในพื ้นที่ดังกล่าวหลายชิ้น เช่น วสันต์ ชีวะสาธน์ เสนอในรายงานวิจัยว่า<br />

สถาปัตยกรรมประเภทตึกแถวในเมืองปัตตานีได้รับอิทธิพลจีน ในภาพรวมลำดับให้เห็นพัฒนาการ<br />

ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมผ่านมุมมองทางประวัติศาสตร์7 (วสันต์.2529) เช่นเดียวกับการศึกษา<br />

ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน-ปอร์ตุเกส ในเขตเมืองนครศรีธรรมราชของ อุดม หนูทองและมโน<br />

พิสุทธิรัตนานนท์(อุดม, มโน.2543) เน้นการศึกษาสถาปัตยกรรมในเชิงประวัติศาสตร์พร้อมยกตัวอย่าง<br />

กรณีศึกษาในการวิเคราะห์8 ส่วนการทบทวนวรรณกรรมที่ศึกษาในย่านเมืองเก่าสงขลา พบการศึกษา<br />

เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม กายภาพเมืองเป็นส่วนใหญ่ในการศึกษารายละเอียดทาง<br />

สถาปัตยกรรมประเภทตึกแถว สุภาวดีเชื้อพราหมณ์ให้ข้อเสนอว่า ตึกแถวเมืองเก่าสงขลามีภาพลักษณ์<br />

ของวัฒนธรรมจีนที่เด่นชัดด้วยวิถีชีวิตของผู้คนถ่ายทอดสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งยอมรับและผสมผสาน<br />

สื่อแสดงผ่านพัฒนาการของตึกแถวที่พบทั้ง จีนผสมไทย จีนผสมฝรั่ง และแบบสมัยใหม่9 (สุภาวดี.<br />

2546) และการศึกษาที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวม ผ่านงานวิจัยของ ธนรัชต์ ถาวรโรจน์<br />

เสนอว่าการก่อรูปของสถาปัตยกรรมตึกแถวในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้<br />

ประเทศไทยว่า ปัจจัยสำคัญเกิดจากลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์และการอพยพ (immigration) เข้ามา<br />

ของชาวจีนโดยพัฒนาการของตึกแถวเป็นแบบจีนดั้งเดิม แบบจีนผสมพื้นถิ่นภาคใต้และแบบจีนผสม<br />

ตะวันตก 10 (ธนรัชต์.2547)<br />

จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าการศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมประเภทห้องแถวการค้า<br />

ในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทย มีการศึกษาวิจัยและได้องค์ความรู้<br />

เพื่อสร้างคำอธิบายพัฒนาการของห้องแถวแล้ว แต่ทว่าหากพิจารณาองค์ความรู้เรื่องห้องแถวใน<br />

เมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทยพบว่ายังขาดการศึกษาและการสร้าง<br />

คำอธิบาย<br />

คถามการวิจัย<br />

เพื่อสร้างคำอธิบายและทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของรูปด้านหน้าห้องแถวในเมืองท่าชายฝั่ง<br />

ทะเลตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ประเทศไทยหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ทะเลอันดามัน (Andaman sea)”<br />

จำเป็นต้องศึกษาเทียบเคียงเชื่อมโยงกับเมืองปีนังอันเป็นสถานีการค้าหลักของดินแดนอาณานิคม<br />

ช่องแคบ (Strait Settlement) ซึ่งในอดีตเปรียบเสมือนแสงเทียนแห่งคาบสมุทรมลายู ส่องสว่างเชื้อ<br />

เชิญให้เหล่าบรรดาพ่อค้าทางทะเลเข้าไปร่วมประกอบธุรกิจด้วย<br />

ดังนั้นการศึกษาเรื่อง “ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวการค้าเมืองท่าทะเลอันดามัน<br />

และคาบสมุทรมลายู” 11 มุ่งศึกษาผ่านห้องแถวภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์เมืองท่าประกอบด้วย เมือง<br />

ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา, เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต และเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ฝั่งทะเลอันดามัน<br />

ประเทศไทย และเมืองจอร์ททาวน์ เกาะปีนัง ในคาบสมุทรมลายู โดยมีคำถามวิจัยว่า พัฒนาการของ<br />

รูปด้านหน้าห้องแถวการค้าในเมืองท่าฝั่งทะเลอันดามัน-คาบสมุทรมลายูเป็นอย่างไร?<br />

ภาพที่ 1 : แสดงตแหน่งเมืองท่าทะเลในอันดามันและคาบสมุทรมลายูอันเป็นพื้นที่ศึกษา<br />

Image 1 : Ilustration study area: positions of Four port towns in the Andaman Sea-Malay Peninsula<br />

3<br />

Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. 21.<br />

4<br />

Julian Davison. (2010). “Singapore Shophouse”. Singapore: Talisman Publishing. 14.<br />

5<br />

Tan Yeow Wooi. (2015). “Penang Shophouses”. Penang: Phoenix Press. 1.<br />

6<br />

Paul Oliver. (1998). “Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1”. Cambridge: Cambridge University. 657.<br />

7<br />

วสันต์ ชีวะสาธน์.(2529). “รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรมจีนในเมืองปัตตานี”. สงขลา: ทุนวิจัยจากมูลนิธิ เจมส์ ทอมป์สัน ประจาปีการศึกษา 2528-2529, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.<br />

8<br />

อุดม หนูทองและมโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2543). “สถาปัตยกรรมแบบจีน-ปอร์ตุเกส ในเขตเมืองนครศรีธรรมราช” วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 (มกราคม-เมษายน 2543). 85-114.<br />

9<br />

สุภาวดี เชื้อพราหมณ์. (2546). “ตึกแถว: ผลผลิตทางกายภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองเก่าจังหวัดสงขลา”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.<br />

10<br />

ธนรัชต์ ถาวรโรจน์. (2547). “การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร.<br />

11<br />

This article is a part of the thesis. “Shop House in Indian Ocean’s Port Town in South East Asia” by Pat Wongpradit under funding “The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Programme 18th”. Thailand Research Fund (TRF)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!