23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ภาพที่ 15 : ห้องประชุมและพื้นที่นิทรรศการ ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

Image 15 : Audiroroum and exhibitoin space Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

Jonathan Glancey นักวิจารณ์งานสถาปัตยกรรมชาวอังกฤษได้พูดถึง Maritime Museum<br />

of Denmark ในวารสาร The Architectural Review ว่าถึงแม้จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความพิเศษ<br />

แต่ทางลาดขึ้น - ลง ห้องนิทรรศการที่ค่อนข้างมืด และอัดแน่นไปด้วยชิ้นงานที่นำมาจัดแสดงและลูก<br />

เล่นมากมาย ในบางช่วงก็มากเกินไปและชวนให้เวียนหัว<br />

Glancey ได้ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้งที่เมือง Roskilde ประเทศเดนมาร์ก ออกแบบโดย<br />

Erik Christian Sørensen สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1969 และพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้ง Bygdøy<br />

เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ออกแบบโดย Arnstein Arneberg สถาปนิกชาวนอร์เวย์ในปีค.ศ. 1926<br />

ถึงลักษณะพื้นที่ที่สว่างด้วยแสงธรรมชาติมีความสงบเงียบและถ่อมตัว และการที่อาคารได้ปล่อยให้<br />

วัตถุที่จัดแสดงเป็นตัวเด่น แทนที่สถาปัตยกรรมจะดึงความสนใจไป (Glancey, 2014)<br />

พิพิธภัณฑ์ทั้งสองที่เรียบง่าย สงบ ถ่อมตัว และใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ อาจเรียกได้ว่า<br />

เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียก็ว่าได้อย่างที่Professor Henry Plummer<br />

ได้ให้ข้อสังเกตถึงการสร้างอัตลักษณ์ให้สถาปัตยกรรมสแกนดิเนเวียที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.<br />

1920-1930 โดยสถาปนิกอย่าง Alvar Aalto (ชาวฟินแลนด์), Sigurd Lewerentz (ชาวสวีเดน), และ<br />

Arne Jacobsen (ชาวเดนมาร์ก) ปรับลดความเป็นระเบียบ (formality) และแข็งขันของเครื่องจักรใน<br />

สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น (Modernism) โดยใช้ลักษณะของแสงธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่แถบ<br />

สแกนดิเนเวีย (แสงแดดอ่อน และพระอาทิตย์ที่ทำมุมต่ำ) เป็นแรงบันดาลใจและสร้างอัตลักษณ์ให้<br />

กับสถาปัตยกรรม ผ่านการสร้างรูปทรงของอาคารและการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ดูดซับแสงเพื่อที่จะดึงแสง<br />

ธรรมชาติเข้ามาในอาคารให้มากที่สุด ผลลัพธ์คือการเลือกใช้วัสดุอย่างพื้นผิวคอนกรีตสีเงิน ไม้สีอ่อน<br />

ผนังฉาบปูนสีขาว และรูปทรงที่เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ (Plummer, 2012)<br />

ถึงแม้ตัวอย่างที่ Glancey กล่าวถึง จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ลักษณะของวัตถุที่จัดแสดงและจุด<br />

ประสงค์อาจจะแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ที่เฮลซิงกอร์สถาปัตยกรรมจึงต้องตอบโจทย์และความต้องการ<br />

ที่แตกต่างกัน แต่ความเห็นของ Glancey และลักษณะของสถาปัตยกรรมอย่างที่ Plummer ตั้งข้อ<br />

สังเกต ก็คงชวนให้เรามองถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของประเทศกับการออกแบบพิพิธภัณฑ์<br />

‘Maritime Museum of Denmark’ ขึ้นชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์‘แห่งชาติ’ แล้ว อาคารจะต้องสื่ออัตลักษณ์<br />

ของสถาปัตยกรรมเดนมาร์กที่เรียบง่าย นิ่งสงบ ใช้วัสดุสีซีด หรือมีรูปทรงที่ควบคุมแสงธรรมชาติมาก<br />

หรือน้อยอย่างไร<br />

ถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่ถ่อมตัว หรือทำตัวเป็นเพียงกรอบหรือฉากหลัง<br />

ให้วัตถุจัดแสดงอย่างพิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้งที่ Roskilde และ Bygdøy นัก แต่พิพิธภัณฑ์ของ BIG ก็<br />

ประสบความสำเร็จในการสร้างอาคารที่มีลูกเล่นน่าสนใจ ไม่บดบังทัศนียภาพของ Kronborg Castle<br />

และอยู่ร่วมกับพื้นที่ของอู่ต่อเรือเก่าได้ดี สำหรับด้านอัตลักษณ์ของความเป็นสแกนดิเนเวียนั้น จิต<br />

วิญญาณของสแกนดิเนเวียในยุคปัจจุบันก็คงแสดงให้เราเห็นอยู่ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การคำนึง<br />

ถึงพื้นที่สาธารณะและความนิยมวิถีชีวิตกลางแจ้ง (outdoor) ของชาวสแกนดิเนเวีย จากการปล่อย<br />

พื้นของอู่ต่อเรือเป็นที่ว่างให้เกิดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การแสดงดนตรี หรือการให้ความสำคัญกับ<br />

ประชากรเด็ก จากห้องประชุมสำหรับเด็ก ที่มีความสูงห้อง วัสดุและสีสันต่างจากห้องประชุมหลัก หรือ<br />

หุ่นจำลองของพิพิธภัณฑ์ที่เด็กสามารถเอาศีรษะมุดเข้าไปได้หรือพื้นที่นิทรรศการหมุนเวียนและร้าน<br />

กาแฟที่รับแสงธรรมชาติที่มาจากมุมต่ำของพระอาทิตย์ และ material palette จากวัสดุสีอ่อนจำนวน<br />

ไม่กี่ชนิด (อลูมิเนียม กระจกใส พื้นไม้โอ๊ค) ที่อยู่ร่วมกับผิวคอนกรีตของอู่ต่อเรือเดิมได้อย่างลงตัว<br />

ภาพที่ 16 : ห้องประชุมหรือห้องเรียน (Classroom) สหรับเด็ก ที่มา : Hjortshoj, 2013.<br />

Image 16 : Auditorium or Classroom for children visitors Image Source: Hjortshøj, 2013.<br />

122 123<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!