23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

post<br />

ภาพที่ 4 : แสดงองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยในเรือนหลัก<br />

Image 4 : Compositions of functional spaces of the main house<br />

4. การกหนดขนาดและสัดส่วน<br />

เรือนไทใหญ่กำหนดขนาดเรือนตามสัดส่วนคน มีหน่วยวัดพื้นฐาน คือ คืบ ศอก และวา โดย<br />

กำหนดขนาดและสัดส่วนเรือนไว้ดังแสดงในภาพที่5 ขนาดมาตรฐานที่พบมาก คือ เรือนสามห้องและ<br />

ห้าห้อง มีสิบสองเสาและสิบห้าเสา จากการวัดช่วงเสาพบว่าแต่ละช่วงเสามีระยะประมาณหนึ่งวาเศษ<br />

หรือประมาณสองเมตรกว่า 5 ส่วนช่วงเสาด้านสกัดจะมีช่วงกว้างกว่าด้านยาวเล็กน้อย คือ ประมาณ<br />

วาครึ่ง หรือราวเกือบสามเมตรเศษ เรือนมาตรฐานสามห้องจึงมีขนาดกว้างห้าเมตรเศษกว่าถึงหกเมตร<br />

เศษและยาวเจ็ดถึงแปดเมตรเศษ การขยับขยายเป็นเรือนสี่หรือห้าห้อง ใช้การเพิ่มช่วงเสาไปตามยาว<br />

ไปพร้อมกับการเพิ่มระยะช่วงเสาด้านสกัดตาม สูตรคุมสัดส่วนกว้างต่อยาวในภาพรวม คือ ไม่เกิน<br />

1:2 โดยสัดส่วนที่พบมากคือ 1:1.5<br />

เรือนขนาดมาตรฐานที่กล่าวนี้เป็นเรือนเดี ่ยวแบบพื้นฐานของครอบครัวที่อยู่ร่วมกัน 2-3 รุ่น<br />

แบบครอบครัวขยายของไท กรณีเรือนที่ตั้งครอบครัวใหม่และยังไม่มีลูก มักสร้างเรือนขนาดสามห้อง<br />

มีแปดเสาด้วยไม้ไผ่หรือไม้จริงบางส่วนแล้วจึงขยับขยายตามการเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตาม แบบ<br />

เรือนที่พบมากในปัจจุบัน คือ เรือนสองจั่ว ในลักษณะขยายตัวหรือสร้างพร้อมกันในคราวเดียว หลัก<br />

การพิจารณาเรือนหลักให้ดูจากเรือนที่มีเสามงคลกำกับและมักใช้เป็นที่นอนเจ้าเรือน ส่วนเรือนรอง<br />

มักสร้างให้เล็กกว่าเรือนหลักอยู่เล็กน้อย เรียกว่า เรือนอ่อนหรือเรือนเล็ก ใช้เป็นครัว และ/หรือ ส่วน<br />

นอนของลูกชายที่แต่งงานแล้ว<br />

การกำหนดความสูงในแนวตั้งมีสูตรชัดเจนเช่นกัน ความสูงของการยกเรือนเป็นไปตามความ<br />

พร้อมของครัวเรือนเมื่อแรกตั้ง ซึ่งพบว่ามีระดับความสูงต่างกัน คือ เรือนต่ำมักสูงเพียงสุนัขลอดได้<br />

บางครั้งเรียกว่า เรือนหมานั่ง 6 เป็นเรือนของครอบครัวใหม่ที่มีทรัพยากรน้อย หรือต้องการสร้างอย่าง<br />

ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากพึ่งอพยพใหม่ใช้หลังคาแบบเพิง ขยับความสูงขึ้นมาอีกระดับเป็นเรือนยกพื้น<br />

สูงไม่เกินเอวหรือราวหนึ่งเมตร เรียกว่า เรือนเพียงเอว ใช้ในกรณีที่เจ้าเรือนมีทรัพยากรน้อย จึงเลือก<br />

สร้างให้พออยู่ได้ส่วนเรือนแบบมาตรฐานมักยกพื้นพอให้คนเดินลอดได้เรียกว่า เรือนห้าง การกำหนด<br />

ความสูงแนวตั้งนิยมใช้หน่วยวัดเป็นศอกและบวกเพิ่มด้วยหน่วยคืบ โดยแบ่งสูตรความสูงเป็นสาม<br />

ช่วงเช่นกัน คือ ช่วงใต้เรือนประมาณ 4-5 ศอก ช่วงเหนือเรือนประมาณ 4-5 ศอก (มักให้สูงกว่าส่วน<br />

ใต้เรือนเล็กน้อย) และช่วงจอมเรือนหรือยอดเรือน 3-5 ศอก การกำหนดความชันหลังคา ใช้สูตรเทียบ<br />

ความสูงดั้งกับระยะกึ่งกลางขื่อ โดยให้มีความสูงดั้งน้อยกว่าระยะกลางขื่อเล็กน้อย เมื่อตรวจสอบ<br />

ความชันมาตรฐานพบว่ามีความชันประมาณ 35-40 องศา ความสูงเรือนจากพื้นดินถึงยอดหลังคา<br />

โดยรวม เท่ากับ ประมาณ 10-15 ศอก หรือประมาณ 5-8 เมตร<br />

16 17<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

5<br />

ระยะนี้มีความเหมาะสมกับขนาดเสื่อนอนและมุ้งคลุมสำหรับหนึ่งครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

แม่และลูกที่ยังเล็ก<br />

6 The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

เช่น กรณีภัยพิบัติหรือการอพยพฉับพลัน under the Royal Patronage ซึ่งพบได้บ่อยครั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติหรือภัยสงคราม<br />

5. โครงสร้าง<br />

ภาพที่ 5 : การกหนดขนาดและสัดส่วนเรือน<br />

Image 5 : Specification of sizes and proportions of a Tai Yai house<br />

ระบบโครงสร้างประกอบด้วยโครงแนวตั้งและนอนเป็นสำคัญดังภาพที่ 6 ช่างพื้นถิ่นไทใหญ่<br />

ได้กล่าวว่า ถ้าจะสร้างเรือนต้องเตรียมไม้เก้ากองไว้ให้พร้อมก่อน ไม้ทั้งเก้ากองนี้รวบรวมส่วนประกอบ<br />

โครงสร้างเรือนไม้ไว้ครบถ้วน ประกอบด้วย 1 เสา 2 คาน 3 ตง 4 ขื่อ 5 แป 6 กลอน 7 ฝา 8 ฟาก 9 คา<br />

การสะสมไม้เป็นหน้าที่ของพ่อและลูกชายที่ต้องช่วยกันสะสมทรัพยากรไว้สร้างหรือขยายเรือนเมื่อ<br />

ออกลูกชายออกเรือน ไม้กองที่สำคัญและหายากที่สุด คือ เสา เพราะทำหน้าที่รับน้ำหนัก ยึดโยงเรือน<br />

สู่พื้นดินและเชื่อมโยงเรือนสู่ท้องฟ้า การจะหาไม้ที่มีลำต้นตรง สวยงาม ไม่มีตำหนิ และมีความยาว<br />

10-15 ศอก จำนวน 12-15 ต้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ฤดูกาลหนึ่งอาจสะสมไม้เสาได้เพียง 2-3 ต้นเท่านั้น<br />

ลูกผู้ชายกว่าจะมีภรรยาได้จึงต้องอดทนรอเวลาให้ได้ไม้พอ สำหรับงานของผู้หญิงในการ เตรียมไม้<br />

เก้ากองเป็นงานแบบย่อยมือย่อยตีนหรืองานละเอียด ได้แก่ การสานฟากทำพื้น ฝา และการเรียงคา<br />

ไว้มุงหลังคา ดังนั้น การแบ่งแรงงาน (Division of labour) คือ ผู้ชายทำโครงสร้าง ผู้หญิงทำเปลือก<br />

อาคาร ตลอดจนสนับสนุนเสบียงอาหารระหว่างการปลูกสร้าง<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!