23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวการค้า<br />

เมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์<br />

นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / pa_patm@hotmail.com<br />

ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ<br />

อาจารย์ประจภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / arch.su.kreangkrai@gmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

การศึกษาเรื่อง “ภาพฉายพัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถว<br />

การค้าเมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายู” เป็นการศึกษา<br />

ภายใต้กรอบความคิดเรื่อง “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม (Typology)”<br />

วัตถุประสงค์ของบทความมุ่งเน้นศึกษารูปแบบขององค์ประกอบ<br />

ทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏบนรูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าว่ามี<br />

พัฒนาการเป็นอย่างไร โดยขอบเขตพื้นที่ศึกษาในเมืองท่าทะเล<br />

อันดามันและคาบสมุทรมลายูประกอบด้วย เมืองกันตัง เมืองภูเก็ต<br />

เมืองตะกั่วป่า ประเทศไทย และเมืองจอร์ททาว์น ปีนัง ประเทศ<br />

มาเลเซีย งานวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเอกสารและลง<br />

ภาคสนามสำรวจรังวัด เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที ่และ<br />

รูปแบบ ร่วมกับข้อมูลจากการสังเกต ถ่ายภาพ และสัมภาษณ์เพื่อ<br />

นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าพัฒนาการรูป<br />

ด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าแบ่งออกเป็น 7 ระยะคือ 1) The 1 st<br />

localized style 2) The 2 nd localized style 3) The 1 st eclectic<br />

style 4) The 2 nd eclectic style 5) The 3 rd eclectic style 6) Art<br />

deco style 7) Early modern style<br />

คสคัญ : รูปด้านหน้าห้องแถว เมืองท่า คาบสมุทรมลายู<br />

1<br />

ธิดา สาระยา. (2554 ).“ประวัติมหาสมุทรอินเดีย” กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์เมืองโบราณ, 462.<br />

2<br />

40 Wheatley, Paul. (1961) “The Golden Khersonese : Studies in the Historical Geography of the Malay Peninsula before A.D. 1500.” Kuala Lumpur: University of Malaya Press. 41<br />

ภูมิหลัง<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักเนื่องด้วยเป็น<br />

ภูมิภาคบนเส้นทางการค้าทางทะเลจากอินเดียไปจีนมาช้านาน<br />

ผ่านการรับรู้ของตะวันตกว่า “อินโดจีน” จากทะเลโคโลมันเดลของ<br />

อินเดียมายังทะเลอันดามันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

จนถึงช่องแคบมะละกาบริเวณคาบสมุทรมลายูที่ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยน<br />

ของลมมรสุม ผลิตผลจากการจอดพักเรือเพื่อรอลมมรสุมนี้ทำให้<br />

เกิดชุมชน ภายใต้ระบบการค้าในท้องถิ่น เริ่มต้นจากการแลก<br />

เปลี่ยนสินค้าซึ่งผลิตได้เองในท้องถิ่นกับสินค้าภายนอกเพื่อนำมา<br />

ใช้ในพิธีกรรมหรือเก็บสะสมเป็นสมบัติของตระกูล ระบบการค้าใน<br />

ลักษณะนี้ก่อให้เกิดความเป็นศูนย์กลาง ซึ่งศูนย์กลางสำคัญ<br />

ประกอบด้วยการเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกและผู้ขายอยู่ในตัวเอง<br />

ศูนย์กลางบางแห่งอยู่ในทำเลที่ดีก็จะพัฒนาเป็นเมืองท่าการค้า<br />

(Entrepot หรือ Port town) และเป็นคลังสินค้า (Emporium) (ธิดา.<br />

2011 : 462) 1 โดยเมืองท่าสำคัญที่ถูกอ้างถึงบนพื้นที่คาบสมุทร<br />

ภาคใต้ของไทยและคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เมืองมะละกา เมือง<br />

สิงคโปร์เมืองปีนัง เมืองปัตตานีเมืองสงขลา เมืองกันตัง เมืองถลาง<br />

เมืองตะกั่วป่า เป็นต้น เมืองท่าเหล่านี้ผูกโยงกันเป็นเครือข่ายติดต่อ<br />

ระหว่างกันผ่าน “เส้นทางเดินเรือคาบสมุทร” รวมถึงการเดินทาง<br />

โดยใช้ แพ เกวียน ม้า ช้าง และสัตว์พาหนะอื่น ๆ ดังที่ Wheatly<br />

Paul ประมวล 11 เส้นทางที่ใช้กันในอดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง<br />

เช่น เส้นทางข้ามคอคอดกระ, เส้นทางแม่น้ำตะกั่วป่า, เส้นทาง<br />

แม่น้ำตรัง, เส้นทางเคดะห์-ปัตตานี, เส้นทางกลันตัน-มะละกา<br />

เป็นต้น (Wheatly. 1961) 2 สะท้อนภาพการเติบโตของเมืองท่าบน<br />

คาบสมุทรทั้งตอนบนและตอนล่างอันสัมพันธ์กับการติดต่อค้าขาย<br />

อย่างต่อเนื่อง<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!