23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ในระดับโครงสร้าง โซ่ขนาดใหญ่ที่พื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน ชวนให้นึกถึงโซ่ที่ใช้ในเรือเดิน<br />

สมุทร ซึ่งสถาปนิกเองระบุว่า ไม่ได้เป็นแค่วัสดุตกแต่ง แต่ทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของพื้นที่<br />

นิทรรศการหมุนเวียนที่แขวนลงมาจากโครงสร้างรับทางลาดเข้าสู่พิพิธภัณฑ์ด้านบนอีกด้วย<br />

(Pritchard, 2014)<br />

ในระดับองค์ประกอบของอาคาร บันไดเชื่อมระหว่างนิทรรศการห้องสุดท้ายไปร้านขายของที่<br />

ระลึก มีลักษณะโค้งที่ชวนให้นึกถึงกระดูกงูเรือ และชั้นวางของในร้านขายของที่ระลึกก็ถูกออกแบบ<br />

ให้ห้อยลงมาจากฝ้า และส่ายไปมาเมื่อสัมผัส เหมือนจะสื่อลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุบนเรือ<br />

และในระดับเล็กลงมาอีก คือระดับรอยต่อของวัสดุหมุดทองเหลืองยึดเก้าอี้ไม้ในห้องประชุมก็ชวนให้<br />

นึกถึงวิธีการต่อไม้ในหุ่นจำลองเรือเดินสมุทร หรือกระดุมเสื้อแจ็คเก็ตของกัปตันเรือ<br />

ภาพที่ 12 : พื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน หนึ่งใน ‘สะพาน’ ที่เชื่อมระหว่างผนังสองด้านของอู่ต่อเรือ<br />

ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

Image 12 : A segment of the temporary exhibition space, one of the bridges<br />

that connect the two opposite walls of the dock. Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

ภาพที่ 14 : บันไดโค้ง ม้านั่งภายนอก และเก้าอี้ห้องประชุมบางส่วนของลูกเล่นสนุกสนานในอาคาร<br />

ที่ชวนให้นึกถึงการเดินเรือ ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

Image 14 : The arched stairway, outdoor benches and chairs inside the auditorium, parts of the gimmicks of the<br />

building reminiscent of the maritime journey. Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

อาคารใหม่กับอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสแกนดิเนเวีย<br />

ถึงข้อจำกัดด้านกฎหมาย จะทำให้พิพิธภัณฑ์นี้ไม่ได้มีรูปทรงที่เด่นชัดเหมือนผลงานชิ้นอื่นของ<br />

BIG แต่ก็แฝงไปด้วยเอกลักษณ์อื่นที่พบในผลงานของ BIG เช่น การที่ระบบ circulation และการ<br />

เคลื่อนที่ของผู้ใช้งานเป็นหนึ่งในแนวคิดหลักของการออกแบบ ไม่ว่าการเคลื่อนที่ในอาคารจะมาใน<br />

ลักษณะของการเดิน การขี่จักรยาน (8 House และ Danish Pavilion ในงาน Shanghai Expo 2010)<br />

หรือการเล่นสกี (Amager Bakke Waste-To-Energy Plant)<br />

อีกหนึ่งเอกลักษณ์อาจเป็นลักษณะการพาดผ่าน - ซ้อนทับกันของพื้นที่เช่น พื้นของห้องประชุม<br />

และพื้นที่นิทรรศการที่ทำมุมเฉียงซึ่งกันและกัน เกิดมุมมองที่น่าสนใจระหว่างห้องประชุมที่มีพื้นลาด<br />

ภาพที่ 13 : รูปตัดสะพาน ที่มา : Bjarke Ingels Group, n.d.<br />

Image 13 : Section of the bridges เอียงและพื้นที่นิทรรศการด้านบนและด้านล่าง พื้นไม้จากห้องประชุมยังขยายออกไปใต้พื้นห้อง<br />

Image Source: Bjarke Ingels Group, n.d<br />

นิทรรศการด้านบน เกิดเป็นพื ้นที่ที่มีฝ้าเพดานต่ำลงมา ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับเด็ก เป็นความ<br />

สนุกสนานที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของ BIG อีกด้วย<br />

120 121<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!