23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทน<br />

พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้อิสระที่ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่า อยากจะรู้เรื่องใด<br />

ในความลึกระดับใด พื้นที่ในพิพิธภัฑณ์จึงเป็นแหล่งเรียนรู ้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู ้ที่มีความ<br />

บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ยัง<br />

ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาร่วมกันกับนักเรียนในโรงเรียนทั่วไป เนื้อหาที่ทางภัณฑารักษ์คัดมาเพื่อ<br />

บอกเล่าผ่านการจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาตนเอง<br />

ให้มีความรู้ความสามารถในทางที่ตนเองสนใจ ความสมัครใจในการเรียนรู้นี้ จึงทำให้เกิดการเข้าชม<br />

อย่างตั้งใจและคาดหวัง ดังนั้นพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการจัดแสดงเพื่อช่วย<br />

อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนรู้ แม้ว่าจะต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดสร้างก็ตาม<br />

การรับรู้ที่ต่างกันของคนตาบอดทั้ง 2 ประเภท เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบรวม<br />

กับปัจจัยความแตกต่างของการรับรู้ผ่านประสบการณ์ในอดีตแยกเป็น 2 ประเภท 3 ได้แก่ ผู้ที่ไม่เคย<br />

มีประสบการณ์การมองเห็นมาก่อนเลย ซึ่งแตกต่างจากผู้ที่มีประสบการณ์การรับรู้ผ่านการมองเห็น<br />

มาก่อน แยกอธิบายดังนี้<br />

1.2.1 คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด การรับรู้ของคนตาบอดประเภทนี้ จะใช้จินตาการจากการรับ<br />

รู้โดยโสตประสาทอื ่นๆ ประมวลร่วมกับคำบอกเล่า ไม่สามารถเข้าใจสีได้ตรงกับความเป็นจริงแต่<br />

สามารถจินตนาการสีสันได้เมื่อเทียบกับสิ่งที่รู้จัก เช่น น้ำมีสีฟ้า ความรู้สึกเย็นและความสดชื่น จึง<br />

จดจำความรู้สึกของสีฟ้าได้ คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด ไม่สามารถเข้าใจวัตถุ พื้นที่ และ space ที่อยู่<br />

เลยระดับเอื้อมถึง เช่น ฝ้าเพดาน หลังคา มักจะรับรู้สถาปัตยกรรมด้วยผนังหรือสิ่งบอกขอบเขตภายใน<br />

อาคาร ยากที่จะทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภายนอกและภายใน ทั้งนี้ หากมีการเรียนรู้<br />

ประกอบกับการมีประสบการณ์และเครื่องมือช่วยเหลือ คนตาบอดตั้งแต่แรกเกิด สามารถทำความ<br />

เข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ดี<br />

1.2.2. คนตาบอดภายหลัง การรับรู้ของคนตาบอดประเภทนี้ มีความแตกต่างจากคนตาบอด<br />

ประเภทแรกเป็นอย่างมาก เพราะสามารถจินตนาการต่อจากประสบการณ์เดิมที ่จดจำได้เมื่อครั้งยัง<br />

มองเห็น สามารถเข้าใจถึงสีสันได้ดี สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เหนือศีรษะได้<br />

จากการอธิบายทางการแพทย์และการวิเคราะห์เรื่องการรับรู้ที่แตกต่างกันดังกล่าว ทำให้นัก<br />

ออกแบบการบอกเล่าเรื่องราวผ่านการจัดนิทรรศการ สามารถเลือกใช้สื่อได้กว้างขวางกว่าการใช้วัตถุ<br />

สัมผัสเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ คนตาบอดไม่ได้มีการรับรู้แบบเด็ก<br />

การเตรียมสื่อเพื่อการเรียนรู้นั้น ไม่ได้มีรูปแบบหรือน้ำเสียง (Tone of voice) แบบเดียวกับที่ใช้ในการ<br />

อธิบายเด็ก<br />

ตอนที่ 1. ประเภทผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา และลักษณะการเรียนรู้<br />

การรับรู้ส่วนใหญ่เป็นการรับรู้ด้วยสายตา คนเราพึ่งพาการมองเห็นมากที่สุด จึงไม่ได้ใช้ศักยภาพของ<br />

โสตอื่นซึ่งได้แก่ หูในการรับฟัง จมูกในการได้กลิ่น และร่างกายสัมผัส ซึ่งเป็นโสตที่คนตาบอด 1 ใช้ใน<br />

การรับรู้และทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม คนตาบอดสามารถจดจำสถานที่ด้วยกลิ่น เสียง และมี<br />

ความจำที่แม่นยำ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตามีหลายประเภท มิใช่เฉพาะคนที่มองเห็นความมืด<br />

ดำเท่านั้น นิยามทางการแพทย์ของคนตาบอด 2 หมายถึงผู้ที่มองไม่เห็น หรือ พอเห็นแสง เห็นเลือน<br />

ลาง โดยมีความสามารถในการมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนปกติหลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไข<br />

ทางการแพทย์ หรือมีลานสายตา (ระยะกว้างของการมองเห็น) กว้างไม่เกิน 30 องศา โดยแบ่งเป็น<br />

2 ประเภท ดังนี้<br />

1.1.1 คนตาบอดสนิท หมายถึง คนที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นได้บ้างไม่<br />

มากนัก ไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ ในการเรียน การสอน หรือทำ<br />

กิจกรรมได้ ต้องใช้ประสาทสัมผัส อื่นแทนในการเรียนรู้<br />

1.1.2 คนตาบอดไม่สนิท หรือบอดเพียงบางส่วน สายตาเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่อง<br />

ทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติเช่น ต้องมองในระยะใกล้มากๆจึงจะเห็นวัตถุเห็น<br />

แสงสว่างบ้าง เป็นต้น<br />

1<br />

คาว่า “คนตาบอด” เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้อย่างเป็นทางการสาหรับผู้บกพร่องทางสายตาทุกประเภท<br />

2<br />

พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 มาตรา 4.<br />

3<br />

รายงานการศึกษาสภาพและความต้องการใช้สื่อการศึกษาของนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเรียนร่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล,<br />

วันที่สืบค้น 10 พฤศภาคม 2561. แหล่งที่มา www.braille-cet.in.th/Braille-new/content-files/books/_res_full.doc<br />

ตอนที่ 2. การใช้สื่อเพื่อการบอกเล่าเรื่องราวของวัตถุ<br />

“สิ่งนี้คืออะไร” เรื่องราวพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งหนึ่งว่าหน้าตารูปร่างเป็นอย่างไร ใช้<br />

งานได้อย่างไร ในบางสิ่งที่เคยรู้จักหรือเคยได้ยินมาแล้ว เช่น ช้าง คนตาบอดเคยได้ยินว่าช้างเป็นสัตว์<br />

รูปร่างใหญ่โต มีงวงและมีงา ซึ่งอาจจะเคยได้จับช้างมาแล้วบ้าง แต่เนื่องจากช้างมีขนาดใหญ่จึงอาจ<br />

ไม่สามารถเข้าใจถึงช้างทั้งตัวได้ เมื่อสัมผัสแบบจำลองช้าง สามารถจับสัมผัสช้างทั้งตัวด้วย 2 มือได้<br />

ทั่ว คนตาบอดจึงสามารถเข้าใจถึงรูปร่างของช้างที่แท้จริง รับรู้ว่างวงและงาอยู่บริเวณหน้าของช้าง<br />

ดวงตาอยู่ด้านข้างซ้ายขวา ในกรณีศึกษานิทรรศการนำสัมผัสพระสุเมรุคนตาบอดหลายคน ที่ได้เรียน<br />

รู้ประสบการณ์ใหม่ว่า สัตว์หลายชนิดมีตาอยู่ด้านข้าง มิใช่อยู่ด้านหน้าเหมือนอย่างมนุษย์เรา สิ่งนี้<br />

เป็นตัวอย่างการผูกประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิม ได้ผลเป็นจินตนาการต่อยอดในการ<br />

ทำให้เข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวมากยิ่งขึ้น<br />

นัยยะหนึ่งที่ได้จากการเฝ้าสังเกตุและสัมภาษณ์คนตาบอดในนิทรรศการนำสัมผัสพระสุเมรุ<br />

การเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย เช่น หน้าบันของงานสถาปัตยกรรมไทย คนตาบอดจะสัมผัสไป<br />

ทั่วๆวัตถุจัดแสดง และผูกจินตนาการเป็นรูปทรงง่ายๆ อ้างอิงตามสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น “เป็น<br />

สามเหลี่ยม วัสดุเป็นไม้ มีลายนูนๆอะไรสักอย่างอยู่ตรงกลางสามเหลี่ยม ข้างๆเป็นแหลมๆเหมือน<br />

ฟัน” หากเพิ่มคำอธิบายที่สามารถผูกกับคำที่เคยได้ยิน เช่น ช่อฟ้า และนำสัมผัสบริเวณด้านบนที่เป็น<br />

ช่อฟ้า คนตาบอดจะสามารถผูกเรื่องขึ้นมาได้ว่า สิ่งที่เรียกว่าหน้าบันนี้ทำจากไม้เป็นชิ้นทรงสามเหลี่ยม<br />

มีลวดลายตรงกลาง มีช่อฟ้าอยู่บริเวณด้านบนสุด สิ่งนี้อยู่บนหลังคาโบสถ์ตามวัดต่างๆ เป็นต้น<br />

วัตถุที่ใช้เป็นสื่อ มี2 แบบคือวัตถุจริง และวัตถุที่ทำเลียบแบบขึ้นเป็นหุ่นจำลอง การสัมผัสวัตถุ<br />

โบราณจริงนั้น นอกจากจะทำให้เข้าใจเรื่องราวของวัตถุแล้ว ยังให้ความตื่นเต้น ความรู้สึกพิเศษ และ<br />

ทำให้เกิดการจดจำได้ดี โดยต้องสวมถุงมือไร้กรด ป้องกันการเสียหายที่เกิดจากเหงื่อ ในทางกลับกัน<br />

การสวมถุงมือทำให้ไม่สามารถสัมผัสถึงวัสดุและพื้นผิวได้ดังนั้นอาจจะนำวัตถุชิ้นเล็กที่ใช้วัสดุเดียวกัน<br />

ให้สัมผัสจับต้องด้วยมือเปล่า จากนั้นจึงให้ใส่ถุงมือและจับวัตถุจริง การเลื่อกวัตถุ ควรเป็นวัตถุที่มี<br />

ความแข็งแรง ติดตั้งอย่างแข็งแรงบนแท่นจัดแสดง มีขนาดพอที่จะจับได้ทั่วถึงและเดินได้รอบ<br />

29<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!