23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ภาพที่ 9 : แสดงตแหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต<br />

Image 9 : Ilustration the locations of Thalang shophouse typology in Takuapa Pangnga province<br />

จากลำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าห้องแถวตามภาพที่ 8 จะเห็นว่าสามารถแบ่งได้เป็น 3<br />

สไตล์หลัก ประกอบด้วย Localized style, Eclectic style และ Modern style โดยในช่วง Localized<br />

style รูปด้านหน้าห้องแถวมีความหลากหลายมาก ห้องแถวในเมืองท่าแต่ละแห่งรูปร่างหน้าตาแตก<br />

ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่เป็นลักษณะร่วมคือ หลังคาทรงจั่ว โครงสร้างและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง<br />

แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ (1) โครงสร้างหลัก (เสาและผนังรับน้ำหนัก) เป็นโครงสร้างก่ออิฐถือปูน<br />

(2) โครงสร้างรองเป็นไม้ใช้ในส่วนผนังตกแต่ง โดยภาพรวมห้องแถวมิได้เน้นการประดับตกแต่งใด ๆ<br />

มากนัก ส่วนรูปแบบผนังด้านหน้าพบผนัง 3 รูปแบบ คือ (1) ผนังใต้หน้าต่างเป็นแถบยาวและเน้นเปิด<br />

ช่องหน้าต่างรวมถึงช่องลมระบายอากาศตลอดช่วงเสา โดยผนังบริเวณใต้หน้าต่างนี้บ้างทำด้วยไม้<br />

บ้างก่ออิฐถือปูน (2) ผนังก่ออิฐถือปูน ไม่มีการประดับตกแต่ง (3) ผนังไม้ตีตามตั้งและตีตามนอน รูป<br />

แบบหน้าต่างและช่องลมพบ 3 รูปแบบ คือ (1) หน้าต่างไม้บานเปิดคู่เรียงต่อเนื่องกันยาวตลอดช่วง<br />

เสาและช่องลมเหนือหน้าต่างยาวขนานกันไป (2) หน้าต่างไม้บานเปิดคู่ (3) หน้าต่างไม้สูงยาวคล้าย<br />

บานประตู แต่แบ่งการบานเปิดบานเป็นสองช่วงบน-ล่างโดยด้านล่างกั้นด้วยราวลูกกรงไม้กันตก<br />

ลักษณะลูกฟักหน้าต่างทั้งหมดเป็นไม้ทึบส่วนช่องแสงเป็นเกล็ดไม้ติดตาย รูปแบบประตูและช่องลม<br />

พบ 3 รูปแบบ กล่าวคือ (1) ประตูไม้บานเฟี้ยมและช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา (2) ประตูไม้<br />

บานเปิดคู่กึ่งกลางขนาบสองข้างด้วยหน้าต่างไม้เป็นฝาถังโดยเหนือบานประตูและหน้าต่างพบเป็น<br />

ช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา (3) ประตูไม้บานเปิดคู่ และหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ ทางเดินใน<br />

ร่มพบ 2 ลักษณะ คือ หงอคากี่ หรือ Five foot-way และการยื่นหลังคากันสาด รับด้วยเสาหรือค้ำยัน<br />

เพื่อเป็นทางเดินในร่ม<br />

Eclectic Style แบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงต้น (1 st Eclectic Style) ช่วงกลาง (2 nd<br />

Eclectic Style) และช่วงปลาย (3 rd Eclectic Style) ในเรื่องรูปแบบหลังคายังคงใช้หลังคาจั่วเป็น<br />

รูปแบบหลักเป็นลักษณะร่วมกัน ในช่วงกลางและช่วงปลาย Eclectic Style พบการตกแต่งบริเวณสัน<br />

จั่ว (Roof ridge) ด้วยกระเบื้องดินเผาและกระเบื้องปรุบ้าง รวมถึงพบลักษณะการใช้ Parapet ในการ<br />

ตกแต่ง โครงสร้างในช่วงต้น Eclectic Style โครงสร้างหลักเป็นเสาและผนังรับน้ำหนักก่ออิฐถือปูน<br />

ส่วนโครงสร้างรองเป็นโครงสร้างไม้ ต่อมาในช่วงกลาง Eclectic Style พบว่าโครงสร้างทั้งหมดเป็น<br />

เสาและผนังรับน้ำหนัก และในช่วงปลาย Eclectic Style เริ่มพัฒนารูปแบบการก่อสร้างโดยใช้<br />

โครงสร้างระบบเสา-คานคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบผนังด้านหน้าในช่วงต้น Eclectic Style นิยมผนัง<br />

ใต้หน้าต่างเป็นแถบยาวและเน้นเปิดช่องหน้าต่างรวมถึงช่องลมระบายอากาศตลอดช่วงเสา โดยผนัง<br />

บริเวณใต้หน้าต่างนี้บ้างทำด้วยไม้บ้างก่ออิฐถือปูน หากเป็นการก่ออิฐถือปูนก็มักพบการตกแต่งด้วย<br />

กระเบื้องปรุและประดับเป็นลวดลายด้วยกระเบื ้องเคลือบอย่างจีนบ้าง ส่วนในช่วงกลาง Eclectic<br />

Style มักเป็นผนังก่ออิฐถือปูนทาสีและในและช่วงปลาย Eclectic Style พบการประดับตกแต่งปูนปั้น<br />

เป็นลวดลายต่าง ๆ บนผนัง รูปแบบหน้าต่างและช่องลมในช่วงต้น Eclectic Style นิยมเป็นหน้าต่าง<br />

ไม้บานเปิดคู่เรียงต่อเนื่องกันยาวตลอดช่วงเสาและเน้นเปิดช่องลมเหนือหน้าต่างยาวตลอดช่วงเสา<br />

เช่นกัน ลักษณะลูกฟักหน้าต่างและช่องแสงนิยมใช้เกล็ดไม้ ส่วนช่วงกลางและช่วงปลาย Eclectic<br />

Style ยังคงนิยมหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ด้านบนเป็นช่องแสงกระจกโค้ง วางเรียงอย่างสมมาตรเป็น<br />

จังหวะห่างกันล้อมรอบด้วยซุ้มปูนปั้น อีกทั้งในช่วงนี้ยังนิยมใช้หน้าต่างไม้สูงยาวคล้ายบานประตูแต่<br />

แบ่งการบานเปิดบานเป็นสองช่วงบน-ล่างโดยด้านล่างกั้นด้วยราวลูกกรงไม้กันตก ลักษณะลูกฟัก<br />

หน้าต่างและช่องแสงพบทั้งเกล็ดไม้และกระจก รูปแบบประตูและช่องลมของ Eclectic Style พบใน<br />

2 รูปแบบ กล่าวคือ ประตูไม้บานเฟี้ยมและช่องลมด้านบนเปิดยาวตลอดช่วงเสา และประตูไม้บาน<br />

เปิดคู่กึ่งกลางขนาบสองข้างด้วยหน้าต่างไม้บานเปิดคู่โดยเหนือบานประตูและหน้าต่างนี้มักพบช่องลม<br />

ระบายอากาศเป็นรูปทรงลักษณะแตกต่างกันไป ทางเดินในร่มของ Eclectic Style เป็นหงอคากี่ หรือ<br />

Five foot-way<br />

Modern Style แบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงต้น (Art Deco Style) และช่วงปลาย (Early<br />

Modern Style) ในเรื่องรูปแบบหลังคาในระยะต้นยังคงใช้หลังคาจั่วและใช้ Parapet ปิดหลังคาด้าน<br />

หน้า ต่อมาจึงเริ่มใช้หลังคาแบน (Slab) เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างใช้ระบบเสา-คาน<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กและก่อผนังด้วยอิฐมอญ รูปแบบผนังด้านหน้าปรากฎองค์ประกอบตกแต่งเป็น<br />

เส้นตั้งและเส้นนอน รวมถึงการสร้างแผงบังแดด (Fin) เป็นเหมือน Skin อีกชั้นเพื่อตกแต่งรูปด้านหน้า<br />

ซึ่งไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับช่องเปิด รูปแบบหน้าต่างและช่องลมพบทั้งหน้าต่างไม้บานเปิดคู่ลักษณะ<br />

ลูกฟักหน้าต่างเป็นไม้ทึบและช่องแสงกระจก และอีกรูปแบบเป็นหน้าต่างกระจก บางครั้งนิยมเป็น<br />

เกล็ดกระจกปรับมุม รูปแบบประตูและช่องลมยังคงนิยมใช้ประตูไม้บานเฟี้ยมและช่องลมด้านบนเปิด<br />

ยาวตลอดช่วงเสา ทางเดินในร่มยังพบการใช้หงอคากี่หรือ Five foot-way อยู่บ้าง แต่นิยมยื่นกันสาด<br />

คสล. ออกมาคลุมทางเดินมากกว่า<br />

สรุปผลการวิจัย<br />

พัฒนาการรูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่าทะเลอันดามันและคาบสมุทรมลายูแบ่งออกเป็น<br />

7 ระยะคือ 1) The 1 st localized style 2) The 2 nd localized style 3) The 1 st eclectic style<br />

4) The 2 nd eclectic style 5) The 3 rd eclectic style 6) Art deco style 7) Early modern style<br />

50 51<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!