23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำหรับวิโอเลต์-เลอ-ดุกแล้ว โครงสร้างไม่มีรูปธรรม แต่คือตัวระบบ ซึ่งไม่อาจถูกลดทอน หากดำรงอยู่<br />

อย่างถาวร เกินอายุขัยของอาคารเสียอีก เพราะสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีวันทรุดโทรมเสื่อมสลาย แต่ระบบ<br />

โครงสร้างจะคงอยู่ชั่วกาลและมิอาจทำลายได้ [ภาพที่ 3] ด้วยแนวคิดเช่นนี้จึงเป็นไปได้ที่สถาปนิกจะ<br />

ประยุกต์ระบบโครงสร้างอาคารในอดีตมาใช้ใหม่ยกตัวอย่างเช่น สามารถนำระบบโครงสร้างหลังคาโค้ง<br />

(vaulting) ของโบสถ์โกธิคในศตวรรษที่13 มาใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมใหม่ได้<br />

แม้ไม่อาจกล่าวได้ว่าวิโอเลต์-เลอ-ดุกเป็นต้นคิดสกุลของสำนักเหตุผลนิยมฝรั่งเศส แต่ด้วยผล<br />

งานของเขาที่เขียนขึ้นได้อย่างน่าจูงใจนั้นทำให้ทฤษฎีเหตุผลนิยมทางโครงสร้าง (Structural Rationalism)<br />

เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง (Forty, 2000 : 277) พอ ๆ กับที่ได้สร้างข้อถกเถียงขึ้นในวงการสถาปัตยกรรม<br />

ฝรั่งเศสอย่างร้อนแรง สิ่งที่วิโอเลต์-เลอ-ดุกต่อต้านอย่างแข็งขันมาตลอดคือ การหยิบยืมรูปแบบทาง<br />

สถาปัตยกรรมที่เคยใช้กับวัสดุอย่างหนึ่งมาใช้กับวัสดุอีกประเภทหนึ่งโดยไม่ค ำนึงถึงความแตกต่างทาง<br />

วัสดุ เขาได้วิจารณ์โบสถ์St. Eugene ในปารีส [ภาพที่4] ที่ออกแบบโดย หลุยส์-ออกุส บัวโล (Louis-Auguste<br />

Boileau) อย่างรุนแรง เนื้อหาหลักของการบริภาษก็คือการหยิบยืมรูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคแห่ง<br />

ยุคกลาง ซึ่งเดิมสร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติอย่างหินและไม้แล้วมาทำใหม่ใน ค.ศ. 1855 ด้วยวัสดุสมัย<br />

ใหม่อย่างเหล็กหล่อ วิโอเลต์-เลอ-ดุก วิจารณ์ว่า “เราไม่ควรทำเหล็กหล่อให้มีรูปแบบอย่างหิน เพราะการ<br />

เปลี่ยนแปลงใด ๆ ทางวัสดุต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ” (Viollet-le-Duc, 1855; อ้างถึงใน Legault,<br />

1997 : 25) สำหรับวิโอเลต์-เลอ-ดุกแล้ว รูปแบบรูปทรงทางสถาปัตยกรรมไม่ได้เกิดมาจากหลักการทาง<br />

โครงสร้างเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นไปตาม “ธรรมชาติ” ของวัสดุที่ใช้ในการก่อรูปทางสถาปัตยกรรมนั้นด้วย<br />

ภาพที่ 3 : Analytical Drawings ที่เป็นแบบฉบับของวิโอเลต์-เลอ-ดุก แสดงกายวิภาคของอาคารแบบตัดผ่าน จนดูราวกับว่า<br />

อาคารขาดเสถียรภาพทางโครงสร้าง แต่ที่ยังอยู่ได้ไม่พังทลายหรือร่วงลงมาเป็นชิ้น ๆ เพราะมี “โครงสร้าง” ที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ รองรับอยู่ I<br />

ที่มาภาพ: Viollet-le-Duc. (1875). Dictionnaire Raisonné de l’ Architecture Françoise, Vol. IV ‘Construction’. Paris: V.A. Morel et C., Editeurs: 84, 93.<br />

อย่างไรก็ตามการนำระบบโครงสร้างเก่ามาทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของสำนักเหตุผลนิยมนี้ ไม่ได้<br />

รวมไปถึงวัสดุด้วย วิโอเลต์-เลอ-ดุกบอกกับเราว่า รูปแบบทางสถาปัตยกรรมนั้นนอกจากเป็นผลที่ตาม<br />

มาจากระบบโครงสร้างแล้ว ยังต้องสื่อถึงคุณลักษณะของวัสดุที่ตัวมันเองถูกสร้างขึ้นมา เขากล่าวใน<br />

เรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า “เราพอใจกับการแทนที่อาร์คโค้งที่ทำจากเหล็กด้วยอาร์คโค้งที่ทำขึ้นมาจากหิน<br />

หรือ? เปล่าเลย เราอาจนำหลักการมาใช้ แต่หากวัสดุเปลี่ยน รูปแบบก็ต้องเปลี่ยนตาม” (1959 : 54)<br />

ลักษณะการถามเองตอบเองทำนองนี้มีอยู่ใน Discourses on Architecture แทบทั้งเล่มก็ว่าได้<br />

ภาพที่ 4 : รูปตัดแสดงโครงสร้าง St. Eugene ปารีส ออกแบบโดย หลุยส์-ออกุส บัวโล<br />

การใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กหล่อมาทดแทนวัสดุไม้และหิน เป็นวิธีการที่ขัดต่อหลักการเหตุผลนิยมทางโครงสร้าง<br />

ที่มาภาพ: OPUS 5 architects. (2004). Eglise Saint-Eugène-Sainte-Cécile. Accessed November 11, 2017.<br />

Available from http://www.opus5.fr/PARIS-IX-Eglise-Saint-Eugene-Sainte-Cecile<br />

mage 4 : the Theravada Buddhist Cosmology 12<br />

64 65<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!