23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ดั้งเดิมเป็นบ้านพระราชทานแก่พลเอกเจ้าพระยารามราฆพก่อนที่จะขายให้แก่รัฐบาลไทย ส่วน<br />

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเพชรบุรี เดิมเป็นบ้านของมหาอำมาตย์โทพระยามหินทร<br />

เดชานุวัตน์ก่อนที่ธนาคารจะขอซื้อมาใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2514<br />

พิพิธภัณฑ์ในอาคารโบราณสถาน<br />

การให้ความสำคัญกับฐานานุศักดิ์ของโบราณสถานมีผลต่อแนวทางและรูปแบบการอนุรักษ์<br />

อาคารเก่าในประเทศไทย โบราณสถานส่วนใหญ่ที่เป็นอาคารถาวรและยังหลงเหลืออยู่มักเป็นอาคาร<br />

ทางศาสนา พระราชวังหรืออาคารที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญหรือประวัติศาสตร์ การปรับปรุง<br />

อาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ไม่เป็นเพียงแค่การปฏิบัติการอนุรักษ์ทางกายภาพแต่มีแนวคิดโดย<br />

ทั่วไปว่าจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้านรูปลักษณ์และความหมายของอาคารเดิม (ปิ่นรัษฎ์<br />

กาญจนัษฐิติ, 2552: 95) และแสดงความเคารพต่อศาสนา บุคคลหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์<br />

นั้นๆอย่างเหมาะสม ทั้งประโยชน์ใช้สอยใหม่และรูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพ นอกจากนี้โบราณ<br />

สถานจำนวนมากยังอยู่ในการครอบครองดูแลโดยหน่วยงานราชการหรือองค์กรท้องถิ่น เมื่อเกิด<br />

แนวคิดนำโบราณสถานกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งจึงมักปรับใช้ในรูปแบบที่ประนีประนอม ใกล้เคียง<br />

กับประโยชน์ใช้สอยเดิม หรือปรับใช้เป็นอาคารราชการหรืออาคารสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ<br />

ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเป็นที่ทำการของหน่วยงานและเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรืออาคารเดิมโดยตรง หรือพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยว<br />

กับที่ตั้งหรือหน่วยงานที่ครอบครอง จากการสำรวจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จำนวน 41 แห่ง ที่อยู่ใน<br />

ความดูแลของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2547 พบว่ามีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ปรับใช้โบราณสถาน<br />

ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรเป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานจำนวน 13 แห่ง ประกอบด้วยโบราณ<br />

สถานที่เป็นวัง ศาลากลางเก่าหรือที่ทำการ บ้านพักเจ้านายหรือจวนผู้ว่า โรงช้างและวัด ตัวอย่างเช่น<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (เดิมเป็นอาคารโรงกษาปณ์สิทธิการ) และพิพิธภัณฑสถานแห่ง<br />

ชาติน่าน (เดิมเป็นหอคำซึ่งเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองนครน่านและเคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน) การ<br />

ปรับเปลี่ยนการใช้สอยของโบราณสถานในลักษณะนี้ต้องมีการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารให้สัมพันธ์<br />

กับการใช้สอยใหม่เป็นพิพิธภัณฑ์แม้จะมีข้อดีจากการประหยัดค่าก่อสร้าง ได้สงวนรักษาโบราณสถาน<br />

และได้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ก็มีข้อจำกัดในการติดตั้ง<br />

อุปกรณ์และงานระบบอาคารที่จำเป็น ขนาดพื้นที่และระบบการสัญจรอาจไม่สัมพันธ์กับการจัดแสดง<br />

และมักมีปัญหาเกี่ยวกับความชื้น น้ำหนักบรรทุกของวัตถุจัดแสดงและผู้ชมจำนวนมาก และหน้าต่าง<br />

เดิมที่อาจไม่สอดคล้องกับการจัดแสดง (กรมศิลปากร, 2547: 274-275)<br />

การปรับปรุงอาคารเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์และอาคารสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม<br />

ยังคงมีการปฏิบัติอยู่ต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์อาคารเก่าที่มีคุณค่าและหลีกเลี่ยงการรื้อถอน<br />

อาคารเมื่อไม่เห็นความคุ้มค่าหรือประโยชน์ในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนอาคารเป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์การ<br />

เรียนรู้หรืออาคารนิทรรศการที่เกิดขึ้นใหม่ในระยะหลังยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานราชการ<br />

เป็นส่วนใหญ่ แต่มักมีความร่วมสมัยมากขึ้นทั้งในรูปแบบของการปรับปรุงอาคารทางกายภาพ การ<br />

จัดแสดงนิทรรศการ และการดำเนินการกำหนดประโยชน์ใช้สอยหลักและกิจกรรมหมุนเวียนเพื่อดึงดูด<br />

กลุ่มเป้าหมายให้มาเยี่ยมชมซ้ำ ตัวอย่างเช่น หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่(เดิมเป็นศาลาว่าการมณฑล<br />

พายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่) มิวเซียมสยาม (เดิมเป็นอาคารกระทรวงพาณิชย์) พิพิธภัณฑ์<br />

ศิริราชพิมุขสถาน (เดิมเป็นอาคารสถานีรถไฟธนบุรี) พิพิธบางลำพู (เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา,<br />

ภาพที่ 3) พิพิธภัณฑ์เหรียญ (เดิมเป็นอาคารสำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์) พิพิธภัณฑ์ตำรวจ<br />

(ตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน) พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) พิพิธภัณฑ์<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นห้างและกรมโยธาธิการ) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ<br />

หรือ TCDC กรุงเทพฯ (ส่วนหนึ่งของอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก, ภาพที่ 4) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคาร<br />

แห่งประเทศไทย (เดิมเป็นโรงพิมพ์ธนบัตร, ภาพที่ 5) และการปรับใช้อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง<br />

หลายอาคารเพื่อตอบรับแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางและแผนอนุรักษ์เกาะ<br />

รัตนโกสินทร์ ได้แก่ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และหอสมุดกรุงเทพมหานคร<br />

การปรับใช้อาคารอนุรักษ์เหล่านี้นอกจากจะสร้างประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันแก่อาคารเก่าแล้วยังเปิด<br />

โอกาสให้สาธารณะได้ชมสถาปัตยกรรมในระยะใกล้และได้เรียนรู้คุณค่าของอาคารอนุรักษ์ที่เก็บรักษา<br />

ไว้อีกด้วย<br />

ภาพที่ 4 : ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC<br />

Image 4 : TCDC Bangkok<br />

ภาพที่ 5 : ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย<br />

Image 5 : Bank of Thailand Learning Center<br />

ที่พักทางเลือกเพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยว<br />

ภาพที่ 3 : พิพิธภัณฑ์บางลภู<br />

Image 3 : Pipit Banglamphu Museum<br />

ความรุ่งเรืองของกระแสการท่องเที่ยวทางเลือกที่พยายามฉีกตัวออกจากความจำเจของ<br />

กระแสหลักด้วยการสร้างประสบการณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างออกไปแก่นักท่องเที่ยวช่วยกระตุ้น<br />

กระบวนการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของอาคารเก่าเป็นอย่างมากในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา อาคาร<br />

อนุรักษ์หรืออาคารโบราณที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ลดหลั่นกันไป และอาคาร<br />

ร่วมสมัยซึ่งผ่านการใช้งานแล้วแต่มีลักษณะทางกายภาพที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนให้รองรับ<br />

การใช้สอยใหม่ โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์หรือตึกแถว ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอยและรูปแบบให้เป็น<br />

โรงแรมที่พักในระดับและลักษณะต่างๆกัน ตั้งแต่โรงแรมบูติค (Boutique Hotels) หลายระดับ เพื่อ<br />

รองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) และที่พักแบบโฮสเทล (Hostels) เพื่อรองรับ<br />

การท่องเที่ยวแบบประหยัด (Low-cost Tourism) ที่พักทางเลือกเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก<br />

ที่มีจำนวนห้องพักไม่มากนัก เจ้าของหรือพนักงานจำนวนจำกัดสามารถบริการผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดและ<br />

82 83<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!