23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บทส่งท้าย<br />

ภาพที่ 17 : อู่ต่อเรือเดิมกลายเป็นพื้นที่กิจกรรม ที่มา : Boddi, 2013.<br />

Image 17 : The old dry dock turned an activity ground Image Source : Boddi, 2013.<br />

ในปี ค.ศ. 2015 Bjarke Ingels กล่าวว่า สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นทำให้สถาปัตยกรรมทั่วโลกมีรูป<br />

แบบเหมือนกัน เขาต้องการจะสร้าง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2.0” (Vernacular Architecture 2.0) ซึ่ง<br />

เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะท้องที่ แต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิม และใช้เทคโนโลยีใน<br />

การออกแบบให้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรมากเกินไป (Winston,<br />

2015)<br />

Maritime Museum of Denmark ให้ข้อคิดแก่นักออกแบบได้ในหลายประเด็น วิธีแก้ปัญหา<br />

ของสถาปนิกที่ตีความข้อกำหนดเดิมใหม่ การใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่อาจจะไม่ใช่เทคนิคทาง<br />

วิศวกรรมที่คุ้นเคย การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรองที่อาจไม่ใช่จุดสนใจหลักของ<br />

เมืองแต่ก็มีเรื่องราวที่มีคุณค่าอย่างอู่ต่อเรือเก่า และการออกแบบการอยู่ร่วมกันระหว่างของใหม่- ของ<br />

เก่า โดยผลลัพธ์ที่ BIG นำเสนอนั้น ของเก่าไม่ได้ถูกเก็บไว้ในสภาพเดิมทั้งหมด ผนังเดิมถูกเจาะหรือ<br />

บดบังด้วยวัตถุใหม่บ้างเพื่อตอบสนองต่อหน้าที่ใหม่ของมัน แต่ก็ยังถูกรักษาไว้มากพอให้เราเข้าใจ<br />

เรื่องราวและคุณค่าในอดีต<br />

ภายในอาคาร มีการออกแบบที่มีลูกเล่นน่าสนใจ เช่น การที่พื้นที่นิทรรศการเชื่อมกันจนเป็น<br />

พื้นที่เดียว แต่แบ่งแยกกันด้วยความแคบ – กว้างของทางเดินหรือทางลาดขึ้น – ลง ขอบเขตของห้อง<br />

ประชุมเมื่อเกิดกิจกรรมถูกกำหนดด้วยผ้าม่าน และหลายองค์ประกอบของอาคารได้ถูกออกแบบให้<br />

เกี่ยวข้องกับมิติต่างๆ ของการเดินเรือ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง โครงสร้าง หรือความรู้สึกของพื้นที่<br />

สุดท้ายนี้ ถึงอาคารจะซ่อนตัวอยู่ใต้ระดับพื้นดิน ไม่โดดเด่นเกินรอบข้าง แต่ก็ไม่ธรรมดาจน<br />

ถูกมองข้ามไป มันอาจจะเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ไม่ได้สงบเรียบง่ายเหมือนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ของเดนมาร์กนัก แต่ยังคงจิตวิญญาณของความเป็นเดนมาร์กในหลายแง่มุม – ก็คงเหมือนที่ BIG<br />

เรียกว่า Vernacular Architecture 2.0<br />

ภาพที่ 18 : ร้านกาแฟ<br />

และผนังคอนกรีตเดิมของอู่ต่อเรือ<br />

ที่มา : Boddi, 2013.<br />

Image 18 : Cafe and the dock’s<br />

original concrete walls.<br />

Image Source: Boddi, 2013.<br />

124 125<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!