23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รายวิชา Basin Architecture Morphology และ Environmental<br />

and Architectural Conservation โดยภาควิชา สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัยจึงนำนิสิตลงพื้นที่เพื่อสำรวจ พัฒนาชุมชน โดยความร่วมมือของช่างชาวกระหร่างปกา<br />

เกอะญอ และหน่วยงานต่างๆ ในงานก่อสร้างบ้านกะหร่างปกาเกอะญอดั้งเดิมจำนวน 2 หลังเพื่อ<br />

ศึกษาและถอดความรู้ วิธีการทำงานจากช่างพื้นถิ่นโดยตรง พร้อมกับแนวคิดการสร้างวงจรของวัสดุ<br />

การก่อสร้างบ้านเรือนที่ยั่งยืน<br />

ผลจากการสำรวจเบื้องต้น พบปัญหาสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต โดยชาว<br />

บ้านมีความต้องการบ้านเรือนที่มีความแข็งแรงทางโครงสร้าง ด้วยวัสดุและองค์ประกอบต่างๆที่แตก<br />

ต่างไปจากในอดีต ที่เป็นเพียงเรือนเครื่องผูกจากไม้ไผ่ หวาย หรือไม้จริง เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้นำ<br />

ครอบครัวไม่สามารถจัดสรรเวลาในกามรซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน และการหาทรัพยากรธรรมชาติมา<br />

ก่อสร้างบ้านเรือนนั้นเป็นไปได้ยากมากขึ้น ทั้งด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติในบริเวณหมู่บ้านที่ลดลง<br />

และข้อจำกัดในการหาของในป่าเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ชาวบ้านหันมาใช้วัสดุก่อสร้างเชิง<br />

อุตสาหกรรม ซึ่งไม่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ดังนั้น การตอบโจทย์ปัญหาด้านวัสดุก่อสร้าง<br />

จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องตระหนัก เพื่อให้ชาวกะหร่างปกาเกอะญอสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับ<br />

ธรรมชาติในป่าอุทยานแห่งชาติได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้การลงพื้นที่และการก่อสร้างบ้านนั้นเปรียบเสมือน<br />

พื้นที่ทดลองเพื่อเรียนรู้ที่ยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการหาคำตอบของการปรับสมดุลทั้ง<br />

การใช้วัสดุธรรมชาติ ภูมิปัญญาดั่งเดิม เทคโนโลยีการก่อสร้าง และวัสดุในปัจจุบันให้กลมกลืนกัน<br />

อย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเป็นอยู่ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติโดยรอบชุมชนและเป็น<br />

แนวทางในการพัฒนาอาคารขนาดเล็กที่มีความยั่งยืนต่อไป<br />

2. ประเด็นสคัญจากการทดลอง<br />

2.1 กระบวนการดเนินงาน<br />

การดำเนินงาน แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่<br />

(1) ช่วงแรก: การเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและการทดลองน้ำยาป้องกันมอดไม้ไผ่<br />

เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้างบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกะหร่างปกาเกอะญอในพื้นที่โป่ง<br />

ลึก โดยขั้นต้นทำการสำรวจภาคสนามสังเกตและสอบถามจากชาวบ้าน จากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ไป<br />

พร้อมกับช่างพื้นถิ่นผ่านกระบวนการก่อสร้างจริงโดยมีช่างชาวกะหร่างเป็นผู้ออกแบบและนำการ<br />

ก่อสร้างบ้าน และมีคณาจารย์นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมในลักษณะผู้ช่วย เพื่อถอด<br />

องค์ความรู้ที่เกิดจากการลงมือทำจริง พร้อมเตรียมนำไปประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีทางการก่อสร้าง<br />

สมัยใหม่ ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มทดลองใช้น้ำยาป้องกันมอดไม้ไผ่เพื่อยืดอายุไม้ไผ่ ได้แก่ การผสมน้ำ<br />

ปูนใส น้ำส้มควันไม้ และการหาวิธีกรอกน้ำยาเข้าไปในบางส่วนของไม้ไผ่ที่ใช้สร้างบ้าน<br />

การมองภาพรวมกระบวนการก่อสร้างบ้านต้นแบบ ซึ่งทำคู่ขนานกันไป ตั้งแต่การวิเคราะห์รูปแบบ<br />

การก่อสร้าง การทดลองน้ำยาแช่กันมอด และการวางแผนก่อสร้างร่วมกับชาวกระหร่างปกาเกอะญอ<br />

2.2.2 ข้อจกัดทางการศึกษา<br />

การทำงานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานสร้างข้อจำกัดหลายประการ ตั้งแต่การจัดเตรียม<br />

จัดหาวัสดุไม้ไผ่และวัสดุก่อสร้างประกอบต่างๆ การจัดหาเครื่องมือดำเนินงานก่อสร้างแบบไม่ใช้ไฟฟ้า<br />

ข้อจำกัดด้านเวลาดำเนินงานเนื่องจากไม่สามารถพักอาศัยในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน<br />

ข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดวางวัสดุและพื้นที่ทำงาน ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขเฉพาะหน้างานตลอดเวลา<br />

2.3 ผลการทดลองและการประเมิน<br />

2.3.1 การยืดอายุวัสดุไม้ไผ่ด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติแบบต้นทุนต่ำ<br />

ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการสร้างบ้านแบบดั้งเดิมของชาวกระหร่างปกาเกอะญอ เพราะเป็นสิ่ง<br />

ที่หาได้ง่ายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้แทบทุกส่วนในการก่อสร้าง ชาวกระหร่างปกาเกอะญ<br />

อมีความรู้ในการหาและเตรียมไม้ไผ่เพื่อให้สามารถเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เป็นอย่างดี เช่น การ<br />

เลือกฤดูกาลและช่วงเวลาในการตัด การดูลักษณะไม้ไผ่ที่เหมาะสม เป็นต้น แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่<br />

สามารถยืดอายุการใช้งานเกินไปกว่า4-5ปี ด้วยจุดอ่อนตามธรรมชาติ คือ มอดไม้ไผ่ ซึ่งคอยกัดกิน<br />

เนื้อไม้ไผ่จนทำให้หมดคุณสมบัติทางโครงสร้าง ดังนั้นคณะทำงานจึงทำการทดลองค้นหาแนวทาง<br />

ใหม่ในการป้องกันมอดไม้ไผ่เพื่อยืดอายุการใช้งานโดยศึกษาจากแนวทางที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ การแช่<br />

น้ำ2-3เดือนให้ไม้ไผ่เน่า การทดลองทางอุตสาหกรรมโดยแช่ไม้ไผ่ในสารละลายต่างๆ เช่น Borax หรือ<br />

น้ำปูนใส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมอดไม้ไผ่ โดยคำนึงถึงการนำมาต่อยอดประยุกต์<br />

กระบวนการที่ชาวบ้านสามารถทำได้จริง จนสรุปได้ว่า การนำน้ำปูนใสผสมน้ำส้มควันไม้มาเป็นน้ำยา<br />

แช่ คือตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติในการป้องกันมอดไม้ไผ่ที่ดีกว่าและไม่เป็นพิษต่อ<br />

ธรรมชาติ(การทดลองดำเนินการโดยใช้ชิ้นไม้ไผ่สดแช่สารละลายต่างๆและนำเข้าไปในภาชนะบรรจุ<br />

มอดไม้ไผ่) นอกไปจากนั้น เพื่อให้การนำน้ำปูนใสผสมน้ำส้มควันไม้ไปใช้งานได้ง่ายโดยแรงงานระดับ<br />

ครัวเรือนซึ่งยังไม่มีทุนในการทำบ่อแช่น้ำยา คณะทำงานจึงปรับเปลี่ยนกระบวนการแช่ไม้ไผ่ในบ่อแช่<br />

เป็นการกรอกน้ำปูนสผสมน้ำส้มควันไม้ลงในปล้องไม้ไผ่แทน ทั้งการใช้สว่านเจาะปล้องไม้ไผ่และฉีด<br />

น้ำยาเข้าไปโดยตรง และ การกระทุ้งเจาะรูระหว่างปล้องไม้ไผ่และกรอกน้ำยาเข้าไป ด้วยวิธีการนี้<br />

ไม้ไผ่จะดูดซึมน้ำยาจากเนื้อไม้ภายใน โดยสามารถใข้งานได้ทั้งในการทำองค์ประกอบเสา คาน ตง<br />

จันทัน และ ฟากพื้นผนัง<br />

(2) ช่วงสอง: การทดลองสร้างบ้านประยุกต์ไม้ไผ่ยิดอายุใช้งาน<br />

เป็นการนำเสนอแบบบ้านใหม่โดยคณาจารย์นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิดการ<br />

วางผังบ้านชาวกระหร่างปกาเกอะญอแบบดั้งเดิม ที่เริ่มต้นโครงผังหลักด้วยแนวเสาทรงจัตุรั<br />

ศ3คูณ3ต้น แล้วจึงขยายส่วนระเบียงออกไปทางด้านต่างๆตามลักษณะการใช้งานหรือสภาพพื้นที่<br />

โดยการจัดผังบ้านแนวใหม่นี้ได้รับคำปรึกษาจากช่างปกาเกอะญออย่างใกล้ชิดและมีการปรับเปลี่ยน<br />

ขนาดตามความถนัดของช่าง จากนั้นจึงดำเนินการก่อสร้างด้วยวัสดุไม้ไผ่ในทุกองค์ประกอบหลักของ<br />

บ้านบนพื้นฐานการเตรียมยืดอายุไม้ไผ่ด้วยน้ำปูนใสผสมน้ำส้มควันไม้เพื่อลดการใช้ไม้เนื้อแข็งสร้าง<br />

บ้านโดยมีตัวเลือกไม้ไผ่ซึ่งสามารถปลูกทดแทนได้เร็วกว่า และหากวางแผนจัดการอย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ ย่อมสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้เนื้อแข็งได้<br />

2.2 ขอบเขตและข้อจกัดทางการศึกษา<br />

2.2.1 ขอบเขตทางการศึกษา<br />

การศึกษานี้กำหนดขอบเขตทางพื้นที่ ในหมู่บ้านโป่งลึก ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่ง<br />

กระจาน จังหวัดเพชรบุรีซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในระยะเวลา 1.5เดือน 2ช่วง ระหว่าง<br />

เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2558 และ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2559 ขอบเขตทางการศึกษา มุ่งเน้น<br />

ภาพที่ 2 (ซ้ายบน) : การทดลองการแช่ไม้ไผ่กับสารต่างๆ เพื่อทดสอบการป้องกันมอดไม้ไผ่<br />

Image 2 (upper left) : Bamboo wood being is soaked in different types of solution to<br />

ภาพที่ 3 (ซ้ายล่าง) : การทดสอบการป้องกันมอดไม้ไผ่<br />

Image 3 (Lower left) : Testing the bamboo resistance to bamboo borers.<br />

ภาพที่ 4 (ขวา) : การฉีดนปูนใสเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันมอดไม้ไผ่<br />

Image 4 (Right) : Slake lime is injected into a bamboo stem to optimize the wood’s resistance to bamboo borers.<br />

102 103<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!