23.04.2019 Views

ASA JOURNAL Vol.2 | 2018

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

“ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยงจังหวัดตรัง” 15 (ปัทม์ 2557: 366-371) โดยศึกษาห้องแถวในบริบท<br />

ที่สัมพันธ์กับการ “ประเมินคุณค่า” จึงผูกโยงแนวคิดเข้ากับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของห้องแถว<br />

โดยให้ความหมายที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ความโดยจำแนกพัฒนาการของห้องแถวออกเป็น<br />

5 ระยะ คือ “ตึกแถวแบบจีนสมัยที่1”“ตึกแถวแบบจีนสมัยที่2”“ตึกแถวแบบจีนผสมตะวันตกอิทธิพล<br />

นีโอคลาสสิค” “ตึกแถวแบบตะวันตกร่วมสมัย”“ตึกแถวแบบตะวันตกสมัยใหม่” ทว่าเมื่อมีการศึกษา<br />

สมบูรณ์ดังที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์16 ต่อเนื่องมาเป็นบทความ “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัว<br />

และการพัฒนาของตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” (ปัทม์และเกรียงไกร.<br />

2558: 205-222). ได้ปรับจำแนกพัฒนาการของห้องแถวตามบริบททางประวัติศาสตร์สังคม และ<br />

วัฒนธรรมที่แวดล้อมในช่วงเวลาที่ห้องแถวเหล่านั้นได้ก่อตัวขึ้นโดยเสนอพัฒนาการของรูปแบบห้องแถว<br />

ดังนี้ “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 1 (Localization Style Step 1)” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 2<br />

(Localization Style Step 2)” “ตึกแถวแบบสรรค์ผสาน (Eclectic Style)” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะ<br />

ที่ 3 (Localization Style Step 3)” “ตึกแถวแบบอาร์ตเดคโค่ (Art Deco Style)” “ตึกแถวแบบสมัย<br />

ใหม่ระยะต้น (Early Modernism Style)” และ “ตึกแถวสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ (Modern and<br />

Post Modern)”<br />

การทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์กับการศึกษารูปแบบตึกแถวเมืองท่ากันตัง<br />

เนื่องจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอดระหว่างทับเที ่ยงซึ่งเป็นศูนย์กลาง<br />

การปกครองจังหวัดตรังตั้งแต่ปี พ.ศ.2458-ปัจจุบัน ทำหน้าที่เมืองในแผ่นดิน (In land) เพื่อกระจาย<br />

สินค้าส่งต่อไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการรับเพื่อส่งต่อนั้นก็ต่อเนื่องมาจากเมืองท่า<br />

กันตังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองเก่าก่อน (พ.ศ.2433-2458) นั่นเอง<br />

จากการเก็บข้อมูลภาคสนามและทำการวิเคราะห์รูปด้านหน้าห้องแถวเมืองท่ากันตังจังหวัดตรัง<br />

สามารถลำดับพัฒนาการของรูปด้านหน้าตึกแถว ได้ดังนี้<br />

ภาพที่ 5 : แสดงตแหน่งตึกแถวรูปแบบต่าง ๆ ในเมืองกันตัง จังหวัดตรัง<br />

Image 5 : Ilustration the locations of Kantang shophouse typology in Trang province.<br />

ภาพที่ 4 : แสดงพัฒนาการรูปแบบตึกแถวเมืองกันตัง จังหวัดตรัง<br />

Image 4 : Ilustration the Kantang shophouse development in Trang province.<br />

เมื่อทบทวนวรรณกรรมในเรื่องห้องแถวเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ไม่พบการศึกษาใน<br />

ประเด็นทางสถาปัตยกรรมเลย หากแต่มีการศึกษาถึงเมืองตะกั่วป่าในแง่มุมประวัติศาสตร์ ซึ่งพอจะ<br />

สะท้อนภาพของห้องแถวและเมืองได้อดีตได้บ้าง ดังบันทึกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เมื่อครั้งยังทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี<br />

พ.ศ. 2452 ตอนหนึ่งว่า “..พ้นบ้านพระยาตะกั่วป่าไปถึงตลาด มีตึกแถวอย่างจีนอยู่สองข้างถนน ตึก<br />

เหล่านี้อยู่ข้างจะชำรุดทรุดโทรมมาก ต่อตลาดไปก็มีบ้านเรือนตลอดมา จนถึงเชิงเขาที่ตั้งพลับพลา...<br />

ที่ตลาดใหญ่นี้รู้สึกว่าเป็นเมืองมากกว่าที่เมืองใหม่ ซึ่งได้ขึ้นไปดูเมื่อคืนนี้ ที่นี่ตึกกว้านบ้านช่องก็มี<br />

มากกว่า ผู้คนก็ดูแน่นหนา ที่เมืองใหม่นั้นช่างสมชื่อตะกั่วป่าจริง ๆ คือมีตะกั่ว (ดีบุก) ทั่วไปทั้งเกาะ<br />

และส่วนป่าก็เห็นอยู่มากกว่าบ้าน..” 17 (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2506: 62-64) ดังจะเห็นได้ว่าตะกั่วป่า<br />

มีความเป็นเมืองและตึกแถวปลูกสร้างสองข้างฝั่งถนน รูปด้านหน้าตึกแถวเหมือนอย่างจีน (ได้รับ<br />

อิทธิพลจีน) ภาพตึกแถวที่ปรากฏในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 นี้แลดูค่อนข้างทรุดโทรม ซึ่งสอดคล้องกับ<br />

งานนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2533: 13) อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าว่าในรัชกาล<br />

ที่ 5 เมืองตะกั่วป่าเป็น 1 ใน 4 เมืองที่ผูกภาษี อากรหัวเมืองฝ่ายตะวันตกเรียกว่า “ภาษีผลประโยชน์”<br />

แต่พระยาเสนานุชิต (นุช) ผู้อภิบาลเมืองเป็นแต่ผู้ดีมีชาติตระกูลเก่าไม่เชี่ยวชาญการค้าขาย ยังผลให้<br />

เศรษฐกิจเมืองตะกั่วป่าไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควรหากเทียบกับเมืองถลาง 18<br />

15<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “พัฒนาการรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติอิโคโมสไทย 2557: ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์<br />

และมรดกวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อิโคโมสไทย. 366-371.<br />

16<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์. (2557). “การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบตึกแถวจังหวัดตรัง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร. 23.<br />

17<br />

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2506). “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์. 62-64.<br />

18<br />

ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2533). “อธิบายเรื่องเมืองตะกั่วป่าและธรรมะ” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอามาตย์โทพระยาคงคาธราธิบดี (พลอย ณ นคร). 13.<br />

46 47<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ ์ Issue 02 / <strong>2018</strong><br />

The Architectural Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!