20.07.2023 Views

ASA JOURNAL 12/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

theme / review<br />

TWO IN ONE<br />

48 49<br />

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมมีประโยชน์ตาม<br />

การใช้สอย ตามระบบที่เราคุ้นชินกัน เสามี<br />

หน้าที่รับน้ำาหนักจากคาน ผนังมีหน้าที่แบ่ง<br />

พื้นที่ใช้สอย หลังคามีหน้าที่กันแดดกันฝน แต่<br />

ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวไกลมากขึ้น<br />

หลังคาไม่จำาเป็นต้องทำาหน้าที่แบบเดิมเพียง<br />

อย่างเดียว แต่ยังขยายหน้าที่ของมันเองไปอีก<br />

ยังพรมแดนของอรรถประโยชน์ใช้สอย หลังคา<br />

ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ถูกปรับ<br />

บทบาทไปตามเทคโนโลยี วัสดุ และวิธีการ<br />

อาคารสำานักงาน Center of Excellence for<br />

Forest Conservation ที่ตำาบลมาบตาพุด จังหวัด<br />

ระยอง ชี้ชวนให้เห็นถึงหลังคาในอีกนิยามใหม่<br />

จากการสำารวจความเป็นไปได้โดยทีมสถาปนิก<br />

Architects 49 ที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดย<br />

เริ่มจากการประกวดแบบจนได้รับการคัดเลือก<br />

สถาปนิกได้สำารวจถึงกิจกรรมภายในโครงการ<br />

ที่กำาลังจะเกิดขึ้น โดยโครงการนี้เป็นอาคาร<br />

สำานักงานที่รองรับกิจกรรมจาก Nong Fab<br />

LNG Receiving Terminal ซึ่งทำาหน้าที่กักเก็บ<br />

LNG หรือ Liquified Natural Gas คือก๊าซ<br />

ธรรมชาติเหลวเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกใน<br />

หลายประเทศ ในการสำารวจนี้ สถาปนิกมองเห็น<br />

โอกาสที่จะได้ใช้ความเย็นอันเป็นผลพลอยได้<br />

มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงการ<br />

เมื่อสถาปนิกมีโอกาสเข้าสำารวจภายในถังที่เก็บ<br />

LNG จึงเกิดความสนใจในรูปทรงกระบอกที่ดู<br />

มหึมาภายใน ที่จะได้เห็นเพียงแค่ช่วงก่อนใช้งาน<br />

เท่านั้น จึงประยุกต์รูปทรงกระบอกของถัง LNG<br />

มาออกแบบเป็นรูปทรงภายในอาคาร จากภาพ<br />

จำาที่ติดตา จึงพัฒนาสู่รูปทรงโดยรวม แต่เมื่อ<br />

มองจากภายนอกโดยรวมไม่ได้สื่อถึงภาพของ<br />

ถังเก็บแก๊ส เนื่องด้วยสถาปนิกออกแบบด้วย<br />

แนวคิดให้มีความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ จึง<br />

สร้างเนินดินบางส่วน เพื่อลดขนาดสัดส่วนอาคาร<br />

และลดความแรงของรูปทรงภายนอกที่จะกลาย<br />

เป็นถังขนาดใหญ่อีกใบ เป็นการลดผลกระทบ<br />

ทางสายตา เมื่อมีการสร้างสถาปัตยกรรมใหม่<br />

จนอาจเกิดการเบียดเบียนสภาพของธรรมชาติที่<br />

มีอยู่เดิม จึงออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีมา<br />

ทดแทน นำามาสู่การสร้างภูมิทัศน์รองรับระบบ<br />

การไหลของน้ำาตามธรรมชาติขึ้นใหม่ ส่งผลให้<br />

ระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมฟื้นคืนสู่สภาพเดิม<br />

ส่วนหนึ่งของระบบน้ำาเป็นสระน้ำาขนาดใหญ่ทำา<br />

หน้าที่เป็นที่เก็บน้ำ าสำาหรับพื้นที่โดยรอบแทน<br />

ในส่วนของการใช้สอยพื้นที่ภายใน ครึ่งหนึ่ง<br />

เป็นระบบนิเวศไม้เมืองหนาว และสำานักงาน<br />

พนักงานสามารถเดินเข้ามาชมสวนได้ โดย<br />

ส่วนสำานักงานจัดวางให้อยู่ในชั้น 2 และ 3 ส่วน<br />

พื้นที่ชั้น 1 เปิดเป็นสวนสาธารณะเข้าชมไม้<br />

เมืองหนาว ที่บุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมชม<br />

พันธุ์ไม้ได้ เป็นการแยกทางสัญจรเพื่อการ<br />

เข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว<br />

เนื่องจากขั้นตอนการจากกระบวนการแปร-<br />

สภาพก๊าซ LNG กลับคืนสู่สถานะก๊าซ ถูก<br />

นำามาใช้แทนการทิ้งลงทะเลตามปกติ ซึ่งวิธี<br />

นี้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม อากาศเย็นที่เป็น<br />

ผลพลอยได้จากกระบวนการแปรสภาพก๊าซนี้<br />

ทำาให้เกิดความเย็น -162 องศาเซลเซียส จึง<br />

นำาน้ำามาหล่อความเย็น ดึงความเย็นที่เกิดขึ้น<br />

มาใช้ภายในโดมกระจกไม้เมืองหนาว เป็นการ<br />

นำาความเย็นที่เหลือมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม<br />

ให้เป็นพลังงานเย็นที่เป็นผลพลอยได้ และถูก<br />

นำามาใช้ใหม่เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร<br />

สำาหรับการเพาะปลูกพืชในสภาพอากาศหนาว<br />

เย็นนั้นยังสร้างผลกำาไรให้กับโครงการปีละ 2-3<br />

ร้อยล้านบาท จากขายดอกไม้ในโครงการไป<br />

ต่างประเทศ แล้วยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับ<br />

จังหวัดระยองด้วยเช่นกัน<br />

หลังคาจึงเป็นส่วนหลักของโครงการนี้ โดย<br />

หลังคามี 2 ส่วนหลังคาทึบที่เป็นพื้นท่ีสีเขียว<br />

และ Climatic Dome เป็นเอเทรียมกระจกสูง<br />

3 ชั้น รูปทรงของหลังคามาจากการแบ่งครึ่ง<br />

การใช้สอย เนื่องจากภายในโดมกระจกต้อง<br />

รักษาอุณหภูมิที่ต่ำากว่าภายนอก 10 องศา<br />

เซลเซียส ทำาให้เกิดปรากฏการณ์การควบแน่น<br />

(Condensation) ลักษณะรูปทรงเป็นแบบรวม<br />

เข้าหาศูนย์กลาง ด้วยโครงสร้างแบบ surface<br />

structure เนื่องจากรูปทรงมีความลื่นไหล การ<br />

ประกอบเข้าของรูปทรงจึงเป็นโพลีกอนที่มี<br />

ขนาดไม่สม่ำาเสมอ โครงหลังคาเป็นลักษณะ<br />

สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแล้วคั่นด้วยเหล็กท่อ<br />

แนวนอน การแบ่งโครงเป็นรูปสามเหลี่ยม<br />

ทำาให้เกิดความโค้งยืดหยุ่นได้ง่าย Climatic<br />

Dome เป็นโดมกระจกทรงกระบอกไม่มีเสารับ<br />

แผงหลังคา รัศมีโดมมีรัศมี 32 เมตร ตัวโดม<br />

มีจุดรับแรงที่คานด้านล่าง และคานคอนกรีต<br />

ที่ด้านบนตรงช่องระหว่างหลังคาเหล็กและ<br />

หลังคากรีนรูฟ การปะทะกันของ 2 หลังคา<br />

ถูกออกแบบเป็นช่องระบายอากาศด้วยเช่นกัน<br />

สำาหรับการระบายอากาศแบบเร่งด่วนในกรณี<br />

เกิดเพลิงไหม้<br />

การก่อสร้าง Climatic Dome ผลิตจากโรงงาน<br />

เป็นชุดโครงถัก จากนั้นจึงนำามาติดตั้งที่หน้างาน<br />

ภายหลัง เมื่อติดตั้งโครงถักเสร็จ จึงมาวัดขนาด<br />

ช่องสามเหลี่ยมแต่ละช่องที่หน้างาน เพื่อนำาไป<br />

ประกอบการตัดกระจกที่จะมาติดเป็นเปลือก<br />

อีกครั้งหนึ่ง เพราะ surface เป็นโค้งสามมิติ<br />

ทำาให้มีขนาดสามเหลี่ยมที่หลากหลายขนาด<br />

มาก การออกแบบรายละเอียดของโครงสร้าง<br />

โดม ถูกออกแบบให้ตัวยึดแผ่นกระจกยื่นออก<br />

จากเมมบอร์เหล็กกลม เพื่อทำาการยึดเปลือก<br />

ภายนอกที่เป็นกระจกลามิเนต ซึ่งการออกแบบ<br />

รายละเอียดส่วนนี้จะเป็นลักษณะ free end<br />

ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อการขยายตัวของวัสดุ<br />

เนื่องจากอุณหภูมิภายในโดมถูกรักษาไว้ที่ 15<br />

องศาเซลเซียส สิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำานึงถึงคือ<br />

ป้องกันการควบแน่นจากอุณหภูมิที่ต่างกันของ<br />

ภายนอกและภายใน วิธีแก้ไขคือการออกแบบ<br />

รายละเอียดของรอยต่อกระจกให้แต่ละวัสดุที่<br />

มีอุณหภูมิต่างกัน ไม่เชื่อมต่อกัน จนเกิดการ<br />

ควบแน่นในอากาศได้ง่าย<br />

นอกจากหลังคาที่โปร่งใส ส่วนที่ต้องการความ<br />

ทึบตามการใช้งานเป็นสวนบนหลังคาที่สามารถ<br />

ขึ้นไปใช้งานได้ ซึ่งสร้างความสัมพันธ์กับเนิน<br />

ดินที่หุ้มภายนอกจากสาเหตุลดความแรงของ<br />

ทรงกระบอกคล้ายถัง LNG การเลือกพืชมา<br />

คลุมหลังคาจึงสัมพันธ์ไปกับสภาพแวดล้อม<br />

โดยรอบ ทั้งจากพืชที่มีในท้องถิ่น ทำาให้บาง<br />

ช่วงของหน้าแล้ง อาจจะมีหญ้าตายบ้าง จึง<br />

ต้องออกแบบให้สวนบนหลังคาที่เป็นคอนกรีต<br />

ป้องกันรั่วซึมด้วยการใช้เมมเบรน ออกแบบ<br />

ให้มีส่วนป้องกันดินไหล เพิ่มจุดพ่นน้ำาป้องกัน<br />

อัคคีภัยให้กับหลังคาส่วนนี้ด้วย<br />

โลกของสถาปัตยกรรมก่อนยุคสมัยใหม่ต่างถูก<br />

ควบคุมด้วยเงื่อนไขทางโครงสร้างที่ส่วนใหญ่<br />

ที่เป็นผนังรับน้ำาหนัก เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนา<br />

ต่อยอดจนสลายรวมผนัง หลังคาในงานสถา-<br />

ปัตกรรมได้ แล้วยังดึงแสงธรรมชาติเข้ามา<br />

สังสรรค์ในพื้นที่ได้แบบที่เปลี่ยนไปจากดั้งเดิม<br />

การตั้งคำาถามถึงการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัยในทุกวันนี้ จึงเป็นส่วนผสมของการ<br />

คำานึงถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรม อย่างหลีก<br />

เลี่ยงไม่ได้<br />

03<br />

มุมมองภายนอก<br />

สู่ทางเข้าหลัก<br />

04<br />

ผังบริเวณ<br />

4<br />

MASTER PLAN<br />

10 M<br />

3

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!