20.07.2023 Views

ASA JOURNAL 12/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

theme / review<br />

PITCH PERFECT<br />

62 63<br />

02-03<br />

จุดทางเข้าของร้านอาหาร<br />

ที่มีจุดเด่นด้วยบันไดและ<br />

หลังคาจั่วขนาดใหญ่<br />

ดึงสายตาของผู้ใช้เข้าไป<br />

ภายในอาคารและพื้นที่<br />

ริมน้ำาด้านหลัง<br />

04<br />

รูปตัดของอาคาร<br />

3<br />

2<br />

4<br />

หนึ่งในร้านอาหารที่มีชื่อเสียงมายาวนานที่สุด<br />

ร้านหนึ่งบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำาแคว อำาเภอ<br />

เมือง จังหวัดกาญจนบุรี “คีรีธารา” ให้บริการ<br />

อาหารไทยในร้านอาหารออกแบบตกแต่งสไตล์<br />

“บาหลี” อันอาจเป็นกระแสความนิยมสร้าง<br />

บรรยากาศพักผ่อนของร้านอาหารในช่วงเวลา<br />

หลายสิบปีก่อน จวบจนปัจจุบัน คีรีธาราได้<br />

โอกาสขยายพื้นที่ให้บริการให้กว้างใหญ่ขึ้น<br />

โดยได้จับจองที่ดินริมแม่น้ำาแควในบริเวณ<br />

ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตำาแหน่งเดิม เปิดเป็นร้าน<br />

อาหารแห่งใหม่ในนาม “คีรีธารา ริเวอร์ไซด์”<br />

โดยบรรดาเมนูอาหารไทยที่ยังคงเอกลักษณ์<br />

รสชาติเดิมไว้ได้ถูกเสิร์ฟบนจานใหม่ ในสถา-<br />

ปัตยกรรมคอนกรีตสูงโปร่งที่คงความเป็น<br />

ตะวันออกไว้ด้วยผืนหลังคาจั่วขนาดใหญ่ ที่ให้<br />

ทั้งความรู้สึกแตกต่างและคุ้นเคยในเวลาเดียวกัน<br />

จีรเวช หงสกุล สถาปนิกจาก IDIN Architects<br />

ผู้รับหน้าที่ออกแบบอาคารของร้านอาหาร<br />

แห่งใหม่นี้เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของอาคารว่า<br />

ที่ดินที่ตั้งริมแม่น้ำาแห่งนี้แม้จะมีขนาดไม่เล็ก<br />

แต่ความต้องการพื้นที่ใช้สอยจำานวนมากเกิน<br />

กว่าขนาดผืนดินหลายเท่าเป็นความท้าทาย<br />

แรกสุดที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยในเบื้องต้น<br />

โจทย์จากทางร้านอาหารคือต้องการพื้นที่ครัว<br />

ขนาดใหญ่มากถึงราว 1,000 ตารางเมตร<br />

อันจะถูกใช้เป็นครัวส่วนกลางสำาหรับบริการ<br />

ทั้งร้านอาหารนี้ และบริการธุรกิจอาหารและ<br />

เครื่องดื่มร้านอื่นๆ ของเจ้าของเดียวในละแวก<br />

ด้วย เพื่อความสะดวกในการบริการและรับส่ง<br />

ทรัพยากรและสินค้า ครัวทั้งหมดจึงต้องอยู่บน<br />

ชั้นพื้นดินชั้นเดียวกัน เมื่อได้จัดวางพื้นที่ใช้สอย<br />

นั้นรวมกับที่จอดรถที่ต้องเพียงพอสำาหรับ<br />

รองรับผู้มาใช้บริการที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวแล้ว<br />

นั้น ทำาให้เต็มพื้นที่ของที่ดินจนแทบไม่เหลือ<br />

พื้นที่ให้สำาหรับที่นั่งของร้านอาหารได้อีก<br />

จีรเวชเล่าว่า ส่วนใช้สอยของร้านอาหารทั้งหมด<br />

จึงต้องถูกยกขึ้นไปยังชั้นบน ด้วยวิธีการใดก็ได้<br />

ไม่ให้ผู้ใช้สอยรู้สึกลำาบากในเข้าถึงร้านอาหาร<br />

หรือไม่ให้รู้สึกว่าส่วนหลักของร้านอาหารอยู่<br />

ห่างไกลจากพื้นดินมากเกินไป และในขณะ<br />

เดียวกันก็ต้องซ่อนพื้นที่ใช้สอยหลังบ้านขนาด<br />

มโหฬารให้แนบเนียนจากการรับรู้จากภายนอก<br />

ด้วย สถาปนิกจัดการประเด็นทั้งหมดที่ว่านั้น<br />

ด้วยการออกแบบทางเข้าด้านหน้าให้เป็นลาน<br />

กว้างพร้อมผืนบันไดขนาดใหญ่นำาเส้นทาง<br />

ของผู้ใช้สอยขึ้นไปยังส่วนใช้งานหลักเบื้องบน<br />

สถาปนิกเปรียบลานนี้ว่าเป็นดัง “พลาซ่า”<br />

อันจะช่วยลดความรู้สึกว่าร้านอาหารอยู่สูง<br />

หรือลึกเกินไป และช่วยให้ดึงความสนใจของ<br />

ผู้คนออกจากพื้นที่ใช้สอยหลังบ้านที่ซ่อนอยู่<br />

เบื้องล่างทั้งหมดด้วย<br />

ประเด็นต่อมาคือการออกแบบพื้นที่ร้านอาหาร<br />

โดยมีสองโจทย์หลักคือต้องเอื้อให้มีที่นั่งรับชม<br />

ทัศนียภาพของโค้งน้ำาแควให้มากที่สุดเท่าที่<br />

จะทำาได้ รวมถึงต้องประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอย<br />

สำาคัญอีกส่วนคือห้องจัดเลี้ยงเอนกประสงค์<br />

ในขนาดรองรับจำานวน 1,000 คนด้วย พื้นที่<br />

ใช้สอยขนาดใหญ่ทั้งหมดที่ว่ามานั้นถูกซ้อน<br />

ชั้นขึ้นไป ทำาให้ในทางเทคนิคเมื่อรวมครัวที่<br />

ชั้นล่างอาคารจะประกอบด้วยทั้งหมด 3 ชั้น<br />

แต่พื้นที่ใช้สอยสำาหรับร้านจริงๆ คือพื้นที่<br />

รับประทานอาหารจะเริ่มที่ชั้น 2 พร้อมมีส่วน<br />

ที่นั่งที่ลดหลั่นลงไปติดริมแม่น้ำา และมีห้อง<br />

เอนกประสงค์อยู่ที่ชั้น 3 ที่มีส่วนที่นั่งยื่นออก<br />

มารับทัศนียภาพของแม่น้ำาเช่นกัน ที่สำาคัญ<br />

สถาปนิกยังได้ออกแบบพื้นที่ใช้สอยเหนือห้อง<br />

เอนกประสงค์ให้เป็นดาดฟ้าเพื่อให้ร้านอาหาร<br />

ได้มีพื้นที่รับบรรยากาศริมแม่น้ำาให้มากขึ้น<br />

เท่าที่จะทำาได้ด้วย<br />

เมื่อได้เริ่มต้นวางลักษณะพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด<br />

อันเป็นพื้นฐานของการใช้งานอาคารดังที่ว่ามา<br />

แล้ว องค์ประกอบสำาคัญที่จะมัดรวมทุกพื้นที่<br />

ใช้สอยพร้อมกับนำาเสนอทั้งเรื่องราวและความ<br />

งามในเชิงสถาปัตยกรรม คือผืนหลังคาขนาด<br />

ใหญ่ที่สร้างความโดดเด่นตั้งแต่ด้านหน้า พื้นที่<br />

ใช้สอยด้านใน และที่พื้นที่ปลายสุดด้านติดริม<br />

แม่น้ำา<br />

แนวความคิดที่นำามาซึ่งผืนหลังคาดังกล่าวมา<br />

จากอีกโจทย์ของเจ้าของโครงการ คือความ<br />

ต้องการเชื่อมโยงวัฒนธรรมความเป็นไทยของ<br />

ร้านสู่ตัวสถาปัตยกรรม จีรเวชกล่าวว่า แม้<br />

ร้านอาหารแห่งนี้จะมีพื้นที่ใช้สอยมากจนนับ<br />

ได้ว่าเป็นอาคารขนาดใหญ่ แต่เขาก็ต้องการ<br />

หยิบเอาลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทยจาก<br />

อาคารขนาดเล็กอย่างบ้านพักอาศัยมาใช้<br />

มากกว่าการนำาองค์ประกอบจากอาคารขนาด<br />

ใหญ่อย่างวัดหรือวังมาออกแบบ การตีโจทย์<br />

“ความเป็นไทย” ในที่นี้ สถาปนิกกล่าวว่าจึง<br />

เป็นเรื่องของการนำา “ความรู้สึก” ในอาคาร<br />

มาใช้มากกว่านำาสัดส่วนหรือรายละเอียดของ<br />

องค์ประกอบใดๆ มาใช้อย่างตรงไปตรงมา<br />

อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดอาคารก็ได้ผืนหลังคา<br />

ขนาดใหญ่ที่คลุมยาวตั้งแต่ส่วนต้อนรับด้านหน้า<br />

ไปจนถึงพื้นที่รับประทานอาหารด้านหลัง เป็น<br />

องค์ประกอบตามแนวคิดที่สถาปนิกกล่าวว่า<br />

ต้องการให้ผืนหลังคานี้สร้างเอกลักษณ์ของ<br />

ภาพลักษณ์อาคารที่ภายนอก รวมถึงจะได้<br />

มอบพื้นที่ใต้หลังคาอันจะสร้างความรู้สึกและ<br />

บรรยากาศแบบ “ตะวันออก” อันคุ้นเคยทั่ว<br />

ทั้งภายในร้านอาหาร โดยเพื่อให้อาคารยังคง<br />

รูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยในปัจจุบัน รวมถึงไม่ให้<br />

ขนาดส่วนของหลังคาใหญ่โตเกินความเหมาะสม<br />

สถาปนิกได้ออกแบบและย้ายตำาแหน่งอกไก่<br />

จากที่ควรอยู่กึ่งกลางอาคาร เยื้องมาสู่ฝั่งซ้าย<br />

มือในตำาแหน่งเดียวกับบันไดและทางเดินเข้า<br />

สู่ร้าน แล้วปรับสัดส่วนองศารวมถึงความแอ่น<br />

โค้งของมุมหลังคาในด้านต่างๆ ให้ร่วมสมัยขึ้น<br />

วิธีนี้จะทำาให้ได้รูปลักษณ์ของอาคารภายนอก<br />

ที่โดดเด่น โดยหลังคาก็ได้ถูกออกแบบให้<br />

มีสัดส่วนความลาดชันโค้งรับกับขนาดของ<br />

อาคารโดยรวมไม่ให้ดูใหญ่โตเกินไป ในขณะ<br />

เดียวกันก็ได้สร้างมุมมองด้านทางเข้าสู่อาคาร<br />

ที่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่ยังรักษาเอกลักษณ์และ<br />

กลิ ่นอายความนุ่มนวลแบบ “ตะวันออก” ไว้ได้<br />

มากกว่านั้น การยักย้าย ปรับและบิดองศา<br />

หลังคาดังว่า ยังส่งผลให้เกิดลูกเล่นด้าน<br />

สถาปัตยกรรมในหลายจุดที่พบได้ในอาคาร<br />

ตัวอย่างเช่น การบิดเส้นสายของผืนหลังคา<br />

เอื้อให้สถาปนิกสามารถออกแบบช่องแสง<br />

เหนือบริเวณอกไก่ที่ลากยาวจากด้านหน้าสู่ด้าน<br />

หลัง อันเป็นช่องนำาแสงที่สร้างเทคนิคพิเศษ<br />

ทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจได้ นอกจากนั้น<br />

การเยื้องไปของหลังคายังทำาให้บนบริเวณชั้น 3<br />

เกิดองศาการลาดของหลังคาที่จรดพอดีกับพื ้น<br />

เป็นโอกาสที่เอื้อให้สถาปนิกได้ออกแบบบันได<br />

พาดทับไปบนหลังคา ที่นำาไปสู่พื้นที่ดาดฟ้า<br />

สร้างความรู้สึกราวกับว่าผู้ใช้งานได้เดินไต่<br />

หลังคาขึ้นสู่ชั้นถัดไป<br />

ทั้งหมดนี้ สำาเร็จได้จากวิธีการออกแบบที่มี<br />

หลังคาเป็นปัจจัยหลัก ที่นอกจากจะสร้างความ<br />

เป็นองค์รวมให้อาคาร ยังตอบคำาถามเรื่องนัย<br />

และความหมาย อีกทั้งยังสร้างลูกเล่นและความ<br />

น่าสนใจให้กับอาคารได้ภายในเวลาเดียวกัน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!