09.02.2024 Views

ASA Journal 12/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

78<br />

theme / review<br />

“หลังคาเป็นองค์ประกอบแห่งความเปลี่ยนแปลง<br />

เพราะมันสามารถสร้างประสบการณ์และมี<br />

พลังในการสร้างนิยามการรับรู้เชิงพื้นที่ให้เกิด<br />

ขึ้นกับสถาปัตยกรรม ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่า<br />

หลังคาคือเปลือกอาคารในมิติที่ห้า “fifth façade”<br />

สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ต่อ<br />

สภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง” ข้อความดังกล่าว<br />

คือคำาจำากัดความที่มีต่อคุณลักษณะของหลังคา<br />

ผ่านทัศนะของ Rem Koolhaas สถาปนิกชาว<br />

ดัตช์ ในหนังสือ “S, M, L, XL” หนังสือทฤษฎี<br />

ทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง<br />

หลังคาคือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม<br />

สำาคัญที่มีไว้เพื่อการกันแดด กันฝน และปกป้อง<br />

พื้นที่ภายในของอาคาร นิยามดังกล่าว เป็นความ<br />

หมายพื้นฐานของหลังคาที่ถูกอธิบายผ่านมิติ<br />

ด้านอัตถประโยชน์ อย่างไรก็ตามหลังคากลับ<br />

ครอบคลุมนิยามความหมายที่หลากหลายมาก<br />

เกินกว่าจะอธิบายได้ด้วยมิติของอัตถประโยชน์<br />

ใช้สอย พรมแดนความหมายของหลังคาได้<br />

ครอบครองความหมายทางสัญวิทยา ภาพ-<br />

สะท้อนทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ส่งผลให้<br />

หลังคาได้กลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำาคัญของ<br />

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีส่วนช่วย<br />

สร้างมิติอาคาร เฉกเช่น มิติที่ห้าของเปลือก<br />

อาคาร “fifth façade” ที่ช่วยเชื่อมโยง เปิดรับ<br />

และปกคลุมพื้นที่ว่างระหว่างสถาปัตยกรรมกับ<br />

บริบทรอบข้างกลายมาเป็นบทสนทนาระหว่าง<br />

พื้นที่ว่าง และบริบทพื้นที่ตั้งแวดล้อม และหนึ่ง<br />

ในกรณีศึกษาของการออกแบบหลังคาที่มี<br />

ความน่าสนใจ ต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัย คือ โครงการบ้านมักม่วน ที่อำาเภอ<br />

สีชมพู จังหวัดขอนแก่น<br />

เนื่องด้วยตัวโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล<br />

ชุมชน และเจ้าของโครงการต้องการที่พักอาศัย<br />

ที่ให้ความรู้สึกพักผ่อน ปรับสมดุลให้กับชีวิต<br />

แก่เจ้าของบ้าน “อยากให้บ้านหลังนี้ให้ความ<br />

รู้สึกเหมือนกับอยู่ในพูลวิลล่า” คุณทวิชากร<br />

เหล่าไชยยงค์ สถาปนิกแห่ง S.Pace.Studio<br />

กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ ด้วยเงื่อนไขที่<br />

บ้านจำาเป็นจะต้องตอบสนองต่อความต้องการ<br />

ของผู้ใช้ที่มีสมาชิกของครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ<br />

ผู้ออกแบบจึงออกแบบบ้านชั้นเดียว ที่มีรูปแบบ<br />

ผังพื้นกึ่งปิดล้อม ด้วยลักษณะผังรูปตัว L โอบ<br />

ล้อมพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกที่เป็นส่วนสระว่ายน้ำา<br />

รับกับวิวพระอาทิตย์ตกดิน ประกอบกับพื้นที่<br />

ตั้งโครงการอยู่ห่างจากพื้นที่ชุมชน และแวดล้อม<br />

ไปด้วยพื้นที่สวนและป่า ภาษาของการออกแบบ<br />

ทางสถาปัตยกรรมจึงจำาเป็นต้องให้ความรู้สึก<br />

ปลอดภัยไปในเวลาเดียวกัน<br />

หลังคาทรงจั่วขนาดใหญ่ถูกเลือกนำามาใช้เป็น<br />

หัวใจของโครงการด้วยเงื่อนไขหลายประการ<br />

เช่น การเป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ของความ<br />

เป็นบ้าน หลังคาคือภาพสะท้อนของความเป็น<br />

บ้านหากแต่หลังคานั้นถูกออกแบบให้ปกคลุม<br />

พื้นที่ทั้งหมดของบ้าน กลายมาเป็นจั่วที่พัฒนา<br />

ขยายพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ใช้สอยภายใน<br />

ทั้งหมด “เราตกลงเลือกหลังคาจั่ว เพื่อสร้าง<br />

ระนาบหลังคาขนาดใหญ่ชักชายคาออกมา<br />

ปกคลุมโดยรอบ ซึ่งมันสร้างความรู้สึกที่เข้าถึง<br />

ได้ง่ายและอบอุ่นในทางเดียวกัน ซึ่งกว่าจะมา<br />

สู่รูปแบบนี้เราก็ศึกษาความเป็นไปได้ในหลาย<br />

รูปแบบมาก่อนจนในที่สุดมาจบที่รูปแบบ<br />

ดังกล่าว” คุณทวิชากรกล่าวเสริมถึงการเลือก<br />

ใช้หลังคาในงานออกแบบ<br />

ถึงแม้ว่าปริมาตรของระนาบหลังคาจะมีสัดส่วน<br />

ขนาดใหญ่ (สัดส่วนระหว่างพื้นที่ความสูง<br />

ผนังต่อความสูงของรูปด้านหลังคาอยู่ที่ราวๆ<br />

1:2 ส่วน) แต่ผู้ออกแบบกลับสามารถใช้ความ<br />

แตกต่างของการเลือกใช้วัสดุมุงให้เป็นประโยชน์<br />

ต่อการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ได้อย่าง<br />

แยบคาย กล่าวคือผืนหลังคาในฝั่งที่ประชิดกับ<br />

พื้นที่ด้านหน้าของบ้านที่ปกคลุมส่วนด้านหน้า<br />

ของบ้านและส่วนโรงรถเป็นหลังคาที่ปิดทึบส่วน<br />

พื้นที่หลังคาที่ปกคลุมส่วนเชื ่อมต่อกับสวนและ<br />

สระว่ายน้ำาถูกออกแบบให้มีความโปร่งด้วยแนว<br />

ระแนงอลูมิเนียมสีเทาเข้มที่สร้างคุณลักษณะ<br />

กึ่งปิดให้กับพื้นที่ว่างบริเวณส่วนเชื่อมต่อของ<br />

สวน ทำาให้หลังคาจั่วฝั่งนี้เชื่อมโยงความสัมพันธ์<br />

ระหว่างพื้นที่กึ่งพักอาศัยจากชานไปยังสวนท่าม<br />

กลางภูมิทัศน์ที่แวดล้อมไปด้วยป่าต้นพะยูง ต้น<br />

มะค่าโมง และต้นสัก ในขณะที่จั่วหลังคาอีกฝั่ง<br />

กลับทำาหน้าที่ปกป้องพื้นที่ส่วนพักอาศัย สร้าง<br />

คุณลักษณะของการสร้างพื้นที่ความเป็นส่วนตัว<br />

และทำาการกรุด้วยฝ้าไม้ตามความชันของ<br />

หลังคาจั่วที่ลาดลงในพื้นที่ด้านใน เพื่อสร้าความ<br />

เชื่อมต่อระหว่างหลังคากับพื้นที่อยู่อาศัยภายใน<br />

ในมิติของความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ ผู้ออกแบบ<br />

ได้ออกแบบให้ส่วนจอดรถด้านหน้าถูกปกคลุม<br />

ด้วยแนวหลังคาปิดทึบ ก่อนที่จะเข้ามาสู่พื้นที่<br />

ทางเดินและส่วนของห้องอเนกประสงค์ที่ใช้เป็น<br />

พื้นที่ส่วนกลางในการรับแขกและรับประทาน<br />

อาหาร พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลาง<br />

ที่เชื่อมต่อพื้นที่กึ่งสาธารณะภายนอกเข้ากับ<br />

พื้นที่อยู่อาศัยภายในและเชื่อมต่อไปยังชาน<br />

ด้านในที่เป็นส่วนของสระว่ายน้ำาและสวน พื้นที่<br />

ส่วนนี้ได้รับการออกแบบให้มีการเชื่อมต่อทาง<br />

สายตาผ่านผนังกระจกบานกว้าง และเมื่อเดิน<br />

ไปทางส่วนของปีกอาคารทิศตะวันตก จะเข้าถึง<br />

พื้นที่พักอาศัยในส่วนห้องนอน ซึ่งเชื่อมโยงด้วย<br />

ทางเดินภายใน พื้นที่ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ได้รับ<br />

การออกแบบให้เป็นส่วนตัวมากที่สุดแต่ยัง<br />

เชื่อมต่อกับพื้นที่ธรรมชาติด้วยผังพื้นตัว L<br />

ที่หันฝั่งทางเดินเข้าสู่พื้นที่ชานด้านใน และวิว<br />

ด้านทิศเหนือของห้องนอนทั้งหมดหันออกไป<br />

สู่พื้นที่ภูมิทัศน์ด้านทิศเหนือเพื่อหลบเลี่ยง<br />

แสงแดดและความร้อนจากฝั่งทิศตะวันตก<br />

พื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกได้รับการลดความร้อน<br />

ด้วยระนาบของแนวผืนหลังคาระแนวอลูมิเนียม<br />

ขนาดใหญ่ แนวระแนงนี้สร้างสภาวะกึ่งโปร่ง<br />

ให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ว่างบริเวณชานและสวนของ<br />

courtyard ภายในบ้าน<br />

ในมิติของการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมจะ<br />

พบว่าผู้ออกแบบใส่ใจต่อการออกแบบภูมิทัศน์<br />

ให้สอดคล้องกับปริมาตรของตัวอาคาร ด้วย<br />

การออกแบบแนวของไม้พุ่มที่กลมกลืนกันกับ<br />

จุดนำาสายตาของพื้นที่ใช้สอยภายใน โดยจาก<br />

แนวของไม้พุ่มที่ออกแบบให้สัมพันธ์กับพื้นที่<br />

ใช้สอยของบ้านไปสู่ตัวของสระว่ายน้ำากลาง<br />

ผู้ออกแบบได้ออกแบบประสบการณ์จากการ<br />

ว่ายน้ำาให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่าง จากการ<br />

ว่ายในพื้นที่ชานจะพบความรู้สึกของการเป็น<br />

ส่วนหนึ่งเดียวกับบ้าน ในขณะที่เมื่อว่ายออกไป<br />

ตามแนวแกนทางทิศใต้ จะค่อยๆ พ้นระยะขอบ-<br />

เขตของตัวบ้านไปสู่พื้นที่ว่างโล่งกว้างของสวนที่<br />

สายตานำาไปสู่ป่าด้านนอก สร้างประสบการณ์<br />

ในอีกระดับให้แก่การสัมผัสพื้นที่ใช้สอย<br />

ในส่วนของการเลือกใช้วัสดุ ผู้ออกแบบจงใจ<br />

เลือกสร้างบทสนทนาที่มีไวยกรณ์จากวัสดุ<br />

ท้องถิ่นเช่น อิฐ และไม้ เพื่อคงกลิ่นอายของ<br />

ความเป็นชนบทไปพร้อมกันกับการออกแบบ<br />

ร่วมสมัย ผ่านการออกแบบผนังในส่วนต่างๆ<br />

เช่นการออกแบบผนังไม้แบบแสดงโครงคร่าว<br />

เข้าลิ้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่พบได้โดยทั่วไป<br />

ของผนังยุ้งข้าวอีสาน โดยในส่วนของผนัง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!