04.07.2014 Views

ความเห็นที่ปรึกษาการเงินเกี่ยวกับเหตุผลและ

ความเห็นที่ปรึกษาการเงินเกี่ยวกับเหตุผลและ

ความเห็นที่ปรึกษาการเงินเกี่ยวกับเหตุผลและ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ บริษัท สแกนโกลบอล จํากัด (มหาชน)<br />

จากเงินทุนหมุนเวียนของ DEVA และจากการกู้ยืมจาก เอ็ม บี เค การันตี<br />

6.2 เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย และความเสี่ยงของการเข้าท ารายการ<br />

6.2.1 ข้อดีและข้อด้อยของการท ารายการ<br />

ข้อดี<br />

• ไม่มี<br />

ข้อด้อย<br />

• อัตราผลตอบแทนที่ร้อยละ 14.00 ต่อปี แม้จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) ของ<br />

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2554 (ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดรายการ) ซึ่งอยู่<br />

ระหว่างร้อยละ 6.63 – 7.25 ต่อปี แต่ DEVA ก็มีต้นทุนจากการกู้ยืมเงินจาก เอ็ม บี เค การันตี เพื่อนํามา<br />

ปล่อยกู้ในครั้งนี้ ที่ร้อยละ 12 ต่อปี ดังนั้น DEVA จะมีส่วนต่างดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งถือว่าต่ํา<br />

และมีความเสี่ยงสูง<br />

• ณ วันที่เข้าทํารายการ SMC ได้หยุดดําเนินธุรกิจเดิมทั้งหมด คือธุรกิจนําเข้า และเป็นตัวแทนจําหน่าย<br />

รถยนต์ และหลายบริษัทได้มีการปิดกิจการแล้วในปี 2553 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของ SMC<br />

ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 ได้มีมติอนุมัติแผนการดําเนินธุรกิจของบริษัท ในปี 2553 ถึง<br />

2555 เพื่อดําเนินธุรกิจผู้ผลิตโรงงานกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โดยรูปแบบจะเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้า<br />

จากพลังงานชีวภาพและชีวมวล อย่างไรก็ตาม SMC ยังไม่มีแผนที่ชัดเจนถึงแนวทางในการดําเนินธุรกิจ<br />

และมีเพียงรายได้หลักจากเงินลงทุนในบริษัทฯ ในสัดส่วนร้อยละ 49.90 ของทุนที่ชําระแล้วทั้งหมด โดย<br />

รายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 98 ของรายได้รวม มาจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย และให้<br />

เช่า และรายได้จากงานก่อสร้างจาก DEVA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ทั้งนี้ SMC มีผลขาดทุนสุทธิ<br />

ต่อเนื่องในปี 2551 – 2553 จํานวน (152.42) ล้านบาท (159.24) ล้านบาท และ (252.38) ล้านบาท<br />

ตามลําดับ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการชําระหนี้ของ SMC ด้วยเหตุผลดังกล่าวทําให้บริษัทฯ ในฐานะ<br />

ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ DEVA และผู้ถือหุ้นอื่นของบริษัทฯ มีความเสี่ยงจากการอาจสูญเสียเงินต้น<br />

• ในวันที่ SMC ขอกู้เงินจาก DEVA SMC ยังมีเงินกู้ยืมจากบริษัทฯ เหลืออยู่ ทําให้ยอดเงินกู้รวมจากบริษัทฯ<br />

และ DEVA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเท่ากับ 133.46 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม SMC ได้มีการชําระคืนเงินต้นและ<br />

ดอกเบี้ยบางส่วน ทําให้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554 มีเงินกู้และดอกเบี้ยคงเหลือกับบริษัทฯ และ DEVA<br />

เท่ากับ 44.32 ล้านบาท<br />

ความเสี่ยง<br />

• ตามงบการเงินรวมของ DEVA ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 DEVA มีเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด<br />

เพียง 8.40 ล้านบาท ในขณะที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 43.37 ล้านบาท จากผลขาดทุนสุทธิอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ในช่วง 3 ปีล่าสุด คือ ปี 2551 – 2553 จํานวน (138.63) ล้านบาท (529.62) ล้านบาท และ<br />

(450.31) ล้านบาท ตามลําดับ ดังนั้น การให้เงินกู้จํานวน 111.00 ล้านบาท แก่ SMC ดังกล่าว ทําให้<br />

DEVA ต้องมีการกู้ยืมเงินจาก เอ็ม บี เค การัน ตี โดยมีบริษัทฯ เป็นผู้ค้ําประกัน ทําให้บริษัทฯ และผู้ถือหุ้น<br />

อื่นของบริษัทฯ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น<br />

• การให้เงินกู้โดยมีเงื่อนไขการชําระคืนเมื่อทวงถาม จะมีความเสี่ยงจากการที่ผู้กู้ไม่ทราบช่วงเวลาที่จะต้อง<br />

ชําระเงินกู้ และไม่สามารถเตรียมการล่วงหน้าได้ และเมื่อพิจารณาสถานะการดําเนินธุรกิจซึ่งยังไม่ชัดเจน<br />

บริษัท สีลม แอ๊ดไวเซอรี่ จํากัด หน้า 53/120

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!