09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ไฟล์ดิจิทัล (digitization) อย่างที่ 2 คือนําการมาเผยแพร่​<br />

ให้ผู ้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบที่เขานําไปใช้ต่อได้<br />

ซึ่งสิ่งที่ผมทํา​ยังเป็นแนวทางที่ค่อนข้างใหม่ คนที่ทําอยู่​<br />

ก็มีน้อยมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ในต่างประเทศมีรออยู่แล้ว<br />

แต่การที่จะนําเข้ามาคนยังไม่รู้จักว่าเกิดประโยชน์ยังไง<br />

คนมีเงินพร้อมจะซื้อ แต่ยังไม่มีความรู้ ส่วนคนที่มีความรู้<br />

ยังไม่มีเงิน (หัวเราะ) คงต้องรอเวลาที่เหมาะสมต่อไปอีก<br />

สักพัก แต่ถ้าถามว่าสถานการณ์ของโบราณสถานในบ้าน<br />

เรามันเลวร้ายมากไหม ก็ไม่ได้แย่มากครับ กรมศิลปากร​<br />

มีระบบการดูแลจัดการอยู่<br />

_เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างในการอนุรักษ์<br />

มรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

มติ: ที่สําคัญมากๆ คือเทคโนโลยีพวกนี้ช่วยย่นระยะเวลา<br />

ในการเก็บข้อมูลได้มากเลย จากที่ต้องพานักเรียนไป​<br />

วัดพื้นที่ เก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ เขียนแบบอีก 1 เดือน​<br />

แต่ปัจจุบันเอา 3D Scanner ไปสแกนตัวอาคาร ได้​<br />

Point Cloud มา อัปโหลดเข้าโปรแกรมเขียนแบบต่อใน​<br />

AutoCAD ได้เลย​<br />

ชาวี: หรือเป็นหลักวันก็สแกนเสร็จแล้วนะครับ ทํา​Post-​<br />

Production อีกสัปดาห์หนึ่ง แล้วมันยิ่งเร็วขึ้น พัฒนาขึ้น<br />

ตลอดด้วย แต่ก่อนผมต้องนําแต่ละรูปมาวางแล้วจิ้มว่า​<br />

รูปแรกจุดนี้ รูปที่ 2 จุดนี้ คือจุดเดียวกัน นั่งทําทีละรูป​<br />

แต่ตอนนี้มี Photogrammetry เราโยนภาพเข้าไป โปรแกรม​<br />

ก็จัดการให้หมดเลย ผมขอยกตัวอย่าง “บ้านห้าง ร.5”​<br />

ที่จังหวัดกําแพงเพชร เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง ซึ่งรัชกาลที่ 5​<br />

เคยเสด็จมาที่นี่ เจ้าของเป็นคุณป้าคนหนึ่งที่ได้รับมรดก<br />

ตกทอดมา แต่เขาไม่ได้อยากเก็บบ้านเอาไว้ ยกให้กรม<br />

ศิลปากรก็ไม่ได้ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีนโยบาย จะซ่อมเอง​<br />

ก็ไม่มีเงิน ไม่รู้จะเอาไปทําอะไรต่อ ก็เลยต้องปล่อยให้​<br />

ทรุดโทรมไปเรื่อยๆ เราเห็นว่าถ้าหากบ้านที่โย้เอียงขนาดนี้​<br />

แล้วไปนั่งวัดกัน ก็ไม่รู้เมื่อไหร่จะเสร็จ แต่พอเราเอา 3D​<br />

Scanner ไปสแกนก็จบได้ในวันเดียว<br />

มติ: นอกจากนี้ยังช่วยสันนิษฐานโบราณสถานเก่าแก่​<br />

ที่เหลือเพียงแค่ฐานได้ สแกนขนาด ใส่ข้อมูลเข้าไป ขึ้นเป็น​<br />

3 มิติ แล้วให้นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์มาต่อยอด​<br />

ได้อย่างรวดเร็ว<br />

ชาวี: นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจสอบการพังทลายได้ด้วย​<br />

ปีนี้สแกนครั้งหนึ่ง ปีหน้าสแกนซํ้ำ เพื่อตรวจสอบว่ามีการ<br />

พังทลายไปมากแค่ไหน วิกฤตแล้วหรือยัง ต้องเสริมความ<br />

แข็งแรงไหม หรือเมื่อมีการค้นพบโบราณสถานแห่งใหม่​<br />

แต่ยังไม่มีงบประมาณมาจัดการ ก็เปิดหน้าดินขึ้นมา สแกน​<br />

ข้อมูลเก็บไว้ แล้วกลบกลับไปเหมือนเดิม เพื่อป้องกันความ​<br />

เสียหายระหว่างรอเวลาปรับปรุง<br />

_เทรนด์เกี่ยวกับการรีโนเวตอาคารเก่ากลับมาใช้ใหม่<br />

หรือกระแสความนิยมของเก่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา<br />

จะส่งผลต่อการอนุรักษ์ไหม<br />

มติ: วิธีการแบบ Adaptive Reuse ใช้กันในต่างประเทศ<br />

มานาน 20-30 ปีแล้ว ตึกในยุโรปที่มีมาเป็นร้อยปี ก็นํามา​<br />

ปรับใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่เป็นไปในแนว​<br />

การถ่ายรูป เช็กอินผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น ก็ยิ่งทําให้คน​<br />

หันกลับมามองว่าเราจะทําอะไรกับสิ่งที่มีอยู่ได้บ้าง แต่<br />

องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ก็ยังมีอยู่น้อยมาก ช่างฝีมือ<br />

ก็ต้องชํานาญกว่าปกติ ปูนก็มีไม่กี่แบบ ไม่กี่สี การจัดการ<br />

ความชื้น การผุกร่อน ความรู้เรื่องงานไม้ในบ้านเราน้อย<br />

ลงไปเรื่อยๆ เพราะเราใช้ไม้น้อยลงมาก ช่างฟันช่อฟ้า​<br />

ที่ทําจากไม้ ทั้งประเทศน่าจะมีอยู่ไม่ถึง 5 คน จะซ่อมวัด<br />

ทีต้องรอหลายปี เจ้าอาวาสไม่อยากรอแล้ว เปลี่ยนใหม่<br />

หมดเลยดีกว่า อะไรที่เขาซ่อมไม่ไหวก็จะหายไป เป็นอีก​<br />

ข้อจํากัดที่ต้องปล่อยให้มันพังไป<br />

_เราสามารถพูดได้เต็มปากเลยไหมว่าความท้าทาย<br />

ในการฟื้นฟูมรดกทางสถาปัตยกรรมคือ “เวลา”<br />

ชาวี: มันไม่ทันจริงๆ นะครับ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยย่น<br />

ระยะเวลาการเก็บข้อมูลก็จริง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงมือ<br />

ทําเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย<br />

มติ: ผู้รับเหมาทั้งประเทศไทย มีไม่เกิน 10 เจ้าที่ทํางาน<br />

บูรณะได้ เพราะมันเป็นงานละเอียด ใช้เวลามาก ที่ทราบ<br />

มาผู้รับเหมาเหล่านี้เขาโตมาจากการเป็นช่าง เรียนรู้จาก<br />

กรมศิลปากรนั่นแหละ เติบโตขึ้นก็ออกมาตั้งบริษัทเอง<br />

เท่าที่ผมเข้าใจงานที่เป็นงานปูนเรียนรู้กันมาจากช่างจีนที่<br />

พัฒนาความรู้ด้านการก่อสร้างมาก่อนเรา ช่างปูนจากปีนัง<br />

และภูเก็ต พัฒนาความรู้ ปรับวัสดุมาเรื่อยๆ สืบต่อกันมา<br />

เป็นทอดๆ ว่าปูนหมัก ปูนตําต้องใช้เวลากี่วัน แต่ไม่มี​<br />

การเรียนการสอนจริงจัง<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 102

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!