09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

แต่เกษตรกรสมัยก่อน อย่างชาวสวนทุเรียน​<br />

เขาไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ทําไมเขาสามารถ<br />

พัฒนาพันธุ์ผลไม้ได้หลากหลาย ถ้าเราดู<br />

ประวัติของพระยาภาสกรวงศ์ ท่านบันทึกไว้<br />

เรื่องการทําสวนทํานาว่ากรุงเทพฯ-ฝั่งธน<br />

สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวพันธุ์ทุเรียนได้หลาย<br />

สายพันธุ์ ปัจจุบันความรู้พวกนี้อยู่ในม.เกษตร<br />

แต่ชาวบ้านก็ยังรู้อย่างข้าวหอมมะลิที่กลายเป็น​<br />

พันธุ์ข้าวระดับโลก ถามว่าใครไปช่วยเขา​<br />

เขาได้ความรู้มาจากไหน ก็มรดกจากบรรพบุรุษ​<br />

ทั้งนั้น ต้องเข้าใจนะว่าความรู้เดิมเป็นความรู้<br />

ในระบบหนึ่ง เป็นความรู้เพื่อการดํารงชีพ<br />

รู้จักสภาพแวดล้อม พึ่งพาตนเอง แตกต่าง<br />

จากความรู้ทางชีววิทยา มันคนละระบบกัน​<br />

แต่ถ้าไม่ได้รับความรู้แบบสมัยใหม่หรือแบบ<br />

สากลเราก็อยู่แบบชาวเขา อยู่แบบประเทศที่<br />

ไม่ได้ติดต่อกับใครซึ่งไม่มีแล้ว เพราะตอนนี้<br />

โลกเป็นสากล ความรู้ต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนกัน​<br />

แต่การแลกเปลี่ยนนี้ถ้าเราไม่เฉลียวใจทัน​<br />

มันจะกลายเป็นการปฏิเสธความรู้เดิมและ<br />

ไม่ได้พัฒนาต่อไป<br />

_เราจะผสมผสานความรู้สมัยใหม่และ<br />

ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อย่างไร<br />

ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์หรือสากลที่มีความ<br />

ซับซ้อน ละเอียดอ่อน ถ้าเข้าใจธรรมชาติและ​<br />

สามารถแปรทรัพยากรธรรมชาติที่ความรู้<br />

เดิมไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนได้เข้าสู่ระบบ<br />

อุตสาหกรรม มันจะกลายเป็นความรู้อีก<br />

ระดับหนึ่ง แต่มันก็ยาก และการปฏิวัติ<br />

อุตสาหกรรมตอนนี้ถึงยุคดิจิทัลแล้ว ตั้งรับกัน​<br />

ทันหรือเปล่า ตั้งรับคือใช้เป็นแล้วเปลี่ยนวิธีคิด​<br />

แล้วถามว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า ทุกวันนี้ต้อง<br />

พกโทรศัพท์ มันมีประโยชน์ แต่ขณะเดียวกัน​<br />

มันก็ลวงโลก ฉะนั้นความรู้อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น​<br />

ใหม่ เราต้องรู้ทัน มีสติว่าอะไรเป็นประโยชน์​<br />

อะไรไม่เป็นประโยชน์ ประโยชน์คือทําให้เรา<br />

สามารถกลับไปหาความรู้ในอดีตที่ทําให้เรา<br />

ดํารงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่<br />

ตอนนี้เราต้องพึ่งพาคนอื่นไปหมด ในยุค<br />

ดิจิทัลข้อมูลต่างๆ มันถาโถมมา ถามว่าเรา<br />

จะวางตัวอยู่ตรงไหน แล้วความรู้ที่เป็นมรดก<br />

ดั้งเดิมหายไปหมดเลย ยกตัวอย่างความรู้<br />

ทางการเกษตรที่เราสามารถพัฒนาพันธุ์พืชต่างๆ​<br />

ได้ก่อนที่ความรู้แบบสมัยใหม่จะเข้ามาลองคิดดู​<br />

ว่าถ้าเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมาในเมือง คนเมือง<br />

ตายกันหมดเพราะไม่รู้จะหากินอย่างไร<br />

ความรู้ทุกอย่างมีประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ถ้าเรา<br />

มีสติเราจะรู้ว่าความรู้เรามีอยู่เราต้องไม่ปฏิเสธ​<br />

มันเป็นมรดกของมนุษยชาติ ความรู้แบบ<br />

สมัยใหม่ก็มีประโยชน์สามารถยกระดับ​<br />

ปรับเปลี่ยนชีวิตคนเราไปอีกขั้นหนึ่ง แต่<br />

ความรู้เดิมกลับหายทั้งๆ ที่มันสามารถเลี้ยง<br />

เราได้ ฉะนั้นเมื่อเรารับมาเราต้องมีสติเท่าทัน​<br />

ยกตัวอย่างประเทศจีน เขาก็ทิ้งความรู้เดิม<br />

ไปรับความรู้แบบสมัยใหม่เหมือนกัน ถูก​<br />

จิตสํานึกแบบวิทยาศาสตร์ครอบงําอยู่พักหนึ่ง​<br />

แต่ปัจจุบันกลับมาสนใจการดํารงชีพแบบ<br />

ดั้งเดิม อนุรักษ์ป่าไม้ ชาวบ้านรู้จักหาพืชป่า​<br />

มีการรื้อฟื้นปรัชญาขงจื๊อ กลับไปหาความรู้<br />

ท้องถิ่นที่เป็นของตัวเองแท้ๆ ความรู้เดิมกับ<br />

ความรู้แบบสมัยใหม่จึงมาบรรจบกัน<br />

ที่ภูเก็ตมีลุงที่จักสานเป็นในอดีตผู้ชายก็จักสาน​<br />

ได้ เราจะเอาความรู้เรื่องการจักสานนี้กลับ<br />

มาได้อย่างไร มันจะเป็นประโยชน์ไหมกับ<br />

การพัฒนาชาวบ้านให้สามารถนําภูมิปัญญา<br />

มรดกมาอยู่กับโลกสากล และโลกสากล<br />

ยอมรับด้วย จะเชื่อมต่อตรงนี้ได้อย่างไร ​<br />

ยกตัวอย่างว่าสังคมปัจจุบันนี้เริ่มปฏิเสธ​<br />

ถุงพลาสติก ที่ทางเหนือก็มี packaging ​<br />

ที่เป็นกระดาษ มีไผ่ที่เอามาทําจักสานได้ ​<br />

อันนี้สามารถสร้างเศรษฐกิจในชุมชนได้ ​<br />

มันต้องการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้<br />

เดิมกับแบบสมัยใหม่ที่จะช่วยให้พัฒนาเข้าสู่<br />

ชีวิตประจําวันให้เป็นประโยชน์<br />

ทีนี้ถ้าเรารู้แล้วว่าความรู้แบบสมัยใหม่มีประโยชน์ ​<br />

ก็ต้องรู้จักใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่น<br />

ใช้สนับสนุนความรู้เดิมในส่วนที่ความรู้เดิม<br />

อาจจะไปไม่ถึง อย่างการกลับมาสู่เศรษฐกิจ<br />

แบบพอเพียง ทําไมกลับมาสู่เศรษฐกิจพอ<br />

เพียงล่ะ ทําไมไม่ก้าวหน้าสู่ระบบอุตสาหกรรม​<br />

ก้าวหน้าได้แต่เราต้องเท่าทันระบบอุตสาหกรรม​<br />

อะไรเป็นอุตสาหกรรมเราต้องเรียนรู้ แต่พอ<br />

เรียนรู้แล้วต้องทําให้ระบบอุตสาหกรรม​<br />

เอื้อประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่น ให้เขาสามารถ​<br />

นําระบบอุตสาหกรรมมาเอื้อประโยชน์ภูมิปัญญา​<br />

ท้องถิ่น ความรู้ทุกอย่างเป็นประสบการณ์​<br />

ในการที่มนุษย์เข้าใจธรรมชาติในแง่มุมหรือ<br />

เงื่อนไขหนึ่ง แต่ความรู้ไหนที่จะแปรทรัพยากร​<br />

ธรรมชาติให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นี่คือ<br />

ระบบอุตสาหกรรมมันนําเรา<br />

_ถ้ามองใกล้ตัวเราทั้งในวงวิชาการและ<br />

วงวิชาชีพอาจารย์คิดว่าองค์ความรู้ทาง<br />

สถาปัตยกรรมอยู่ในขั้นวิกฤตไหม<br />

อย่าเพิ่งพูดถึงวิกฤต คอนโดฯ ขึ้นเต็มบ้าน<br />

เต็มเมือง ในชนบทชาวบ้านเปลี่ยนบ้านกัน<br />

หมดแล้ว มันไม่ใช่เรื่องของวิกฤต มันเป็น<br />

เรื่องของความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่คน<br />

ที่มีสํานึกแล้วควรกลับมาดูงานสถาปัตยกรรม​<br />

พื้นถิ่นเพราะถือว่าเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์​<br />

อย่างไร ตอนนี้ช่างไม่มีแล้ว ช่างไม้หายไปหมด​<br />

จะรู้อะไรก็ไม่รู้อะไรจริง เมทัลชีท กระจก​<br />

มาแล้ว แต่เพราะเราไม่ได้ทํางานไม้ ถ้าเรา<br />

เข้าใจงานไม้จริงๆ ระหว่างรัฐกับประชาชน<br />

จะรู้ว่าการปลูกสร้างนั้นไม้มีส่วนสําคัญ แล้ว<br />

จะสามารถวางแผนได้ ปลูกป่าเศรษฐกิจได้<br />

ถึงกลับมาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ไม่พึ่งพา​<br />

ข้างนอก เรื่องปราชญ์ชาวบ้านตอนนี้ยังไม่<br />

ชัดเจนแต่ก็มีการเริ่มหันกลับมา ความรู้ทาง<br />

วิทยาศาสตร์มีประโยชน์แต่ผลกระทบมันร้ายแรง​<br />

ตั้งรับไม่ทัน เปลี่ยนแปลงเร็ว เปลี่ยนแปลง<br />

เร็วเพราะอะไร เพราะตกอยู่ในมือนายทุน<br />

ต้องการให้เราเสพมากๆ อุตสาหกรรมเป็น<br />

ระบบที่ผลิตให้เราใช้ เราต้องพึ่งมัน อย่างใน<br />

ประเทศอินเดีย คนอินเดียแท้ๆ เขาเห็นว่าต้อง<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 20 <strong>21</strong><br />

Refocus Heritage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!