09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

BOOK REVIEW<br />

RE–USA: 20 American Stories<br />

of Adaptive Reuse<br />

แต่งโดย Matteo Robiglio<br />

พิมพ์โดย Jovis Verlag GmbH, Berlin.<br />

จำนวน 239 หน้า<br />

ปีที่พิมพ์ 2017<br />

หลายคนคงเคยเห็นอาคารหรือสถาปัตยกรรม​<br />

เก่าแก่มากมายในเมืองใหญ่แล้วนึกสงสัย<br />

ในความเป็นมาของอาคารและรู้สึกเสียดาย​<br />

เพราะนอกจากจะเสียดายในเชิงมูลค่าแล้ว​<br />

คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอาคารที่บันทึก​<br />

เรื่องราว เหตุการณ์ ยุคสมัยของสถานที่<br />

นั้น ก็มักถูกทิ้งให้ลืมเลือนไปด้วยเช่นกัน​<br />

จึงเกิดคําถามว่าเราจะสามารถนําอาคาร<br />

เก่าเหล่านี้ให้ฟื้นกลับมามีชีวิตใหม่เพื่อ<br />

ประโยชน์กับชุมชนและเมืองได้หรือไม่​<br />

และจะทําได้อย่างไร Matteo Robiglio<br />

อาจมีคําตอบให้กับคุณ เขาได้รับทุนจาก​<br />

Urban and Regional Studies Fellowship​<br />

ในการเดินทางสํารวจ รวมรวบงานปรับปรุง​<br />

อาคารเก่า และเขียนหนังสือชื่อ Re-Use:<br />

20 American Stories of Adaptive<br />

Reuse: A Toolkit for Post-Industrial<br />

Cities หนังสือเล่มนี้มีความตั้งใจที่จะแสดง​<br />

ตัวอย่างและกระบวนการนําอาคารเก่า<br />

ในยุคอุตสาหกรรมของอเมริกามาปรับใช้<br />

ใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเมืองและส่งเสริม<br />

วิถีชีวิตใหม่ๆ ของคนเมือง<br />

โครงสร้างของหนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน​<br />

ส่วนแรกเป็นตัวอย่างโครงการต่างๆ ใน<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา จาก 6 เมืองใหญ่​<br />

คือ Philadelphia, Washington, D.C.,​<br />

Pittsburgh, Chicago, Detroit และ<br />

New York แต่ละโครงการมีการเล่าประวัติ​<br />

ของอาคาร ย่าน ความเป็นมาของโครงการ​<br />

และกระบวนการพัฒนาจนประสบความสําเร็จ​<br />

ส่วนที่ 2 เป็นการนําเสนอ toolkit ที่ถอด<br />

ความรู้มาจากตัวอย่างโครงการในส่วนแรก​<br />

ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของหนังสือเล่มนี้​<br />

เลยก็ว่าได้ เพราะผู้เขียนได้สรุปและเรียง​<br />

ลําดับกระบวนการพัฒนาโครงอย่างเป็น​<br />

ขั้นตอน อธิบายรายละเอียด จุดสําคัญ​<br />

และเรื่องที่ควรระมัดระวังให้กับคนที่สนใจ​<br />

อยากจะนําไปใช้ในโครงการอื่นๆ นอกไป​<br />

จากนี้ยังมีการแทรกการอ้างอิงเป็นตัวเลข​<br />

เพื่อให้เราสามารถกลับไปดูตัวอย่างโครงการ<br />

ที่เกิดกระบวนการเหล่านี้ และส่วนสุดท้าย​<br />

เป็นการให้คํานิยามของคําว่า adaptive​<br />

reuse โดยได้อธิบายประวัติศาสตร์การ​<br />

เริ่มต้นของแนวคิด adaptive reuse ใน​<br />

อเมริกา และอุปสรรคที่เกิดในกระบวนการ​<br />

ปรับใช้อาคาร เพื่อให้เราศึกษาวิจัยเพิ่มเติม​<br />

ต่อไป<br />

เบื้องหลังโครงการที่ประสบความสําเร็จ​<br />

เหล่านี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าสถาปัตยกรรม​<br />

ไม่ได้เกิดจาก top-down เสมอไป<br />

สถาปัตยกรรมที่ดี และมีความหมาย​<br />

ต่อเมืองไม่จําเป็นต้องเกิดจาก “starchitect”​<br />

เท่านั้น หากแต่เกิดจากการร่วมมือกัน<br />

ของทุกฝ่ายในการนําประโยชน์สาธารณะ<br />

เป็นที่ตั้ง และสร้างกระบวนการพัฒนา<br />

ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อพื้นที่และ​<br />

ชุมชนนั้นๆ เพื่อสร้างความหมายใหม่ให้<br />

กับอาคารเก่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มี<br />

ความหมายต่อชุมชนเดิมในอดีต ไม่ว่า<br />

จะเป็นแหล่งงาน แหล่งค้าขายหรือระบบ<br />

ขนส่งของพื้นที่ในอดีตให้กับมามีบทบาท<br />

ใหม่กับเมืองและผู้คนอีกครั้ง<br />

Text: ดร.ชํานาญ ติรภาส / Chamnarn Tirapas, Ph.D.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 142 143<br />

Refocus Heritage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!