09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

INTERVIEW<br />

A Talk with Master:<br />

Assoc. Prof. Vivat Temiyabandha<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> ได้รับเกียรติเข้าไปพูดคุยกับรองศาสตราจารย์วิวัฒน์เตมียพันธ์ หรือ อาจารย์จิ๋ว<br />

บรมครูท่านหนึ่งของวงวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบ้านเรา ว่าด้วยเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม<br />

และภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย<br />

Text: กฤษณะพล วัฒนวันยู / Kisnaphol Wattanawanyoo<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

_ด้วยประสบการณ์การสอนหนังสือและการทำวิจัย<br />

อยากให้อาจารย์ช่วยสะท้อนถึงวงการสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในแง่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญา<br />

ของไทย<br />

เริ่มว่าชีวิตชาวบ้านเป็นชีวิตที่ไม่ซับซ้อนชาวนาเลี้ยงตัวเอง<br />

พึ่งพาตัวเองได้ สร้างสภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้าน ที่พัก<br />

อาศัยของเขาโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอด<br />

มาจากบรรพบุรุษ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็มีความรู้เอง ในสังคม<br />

ยุคนั้นพอเกิดมาแล้วก็ได้เรียนรู้ถึงการดํารงชีวิตเพื่อ​<br />

เอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมและความรู้จากบรรพบุรุษ<br />

ที่ทิ้งไว้ให้ เพราะฉะนั้นเวลาเรารับความรู้หนึ่งมาจาก<br />

บรรพบุรุษเท่ากับเรารับมรดกมา แต่เราไม่รู้ว่าเป็นมรดก​<br />

เราพูดภาษาไทยได้ ทําอาหารไทย แต่ไม่มีสํานึกรับรู้<br />

เราไม่รู้คุณค่าแต่สามารถดํารงอยู่ได้ด้วยความรู้ที่ได้รับมา​<br />

จากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อม ปรับตัว<br />

ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม<br />

สมัยก่อนที่เราดํารงชีวิตอยู่ได้นั้นเรายังไม่ได้รับการศึกษา​<br />

แบบสมัยใหม่ การศึกษาแบบสมัยใหม่เข้ามาก็ต่อเมื่อเรา<br />

ติดต่อตะวันตกซึ่งเข้มข้นขึ้นในสมัย ร.5 ที่ปรับเปลี่ยนสู่<br />

ความเป็นสากล ทําให้มีการส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกกัน​<br />

พอไปเรียนเมืองนอก พื้นฐานความรู้แบบที่เราเคยซึมซับ<br />

ในชีวิตประจําวันเราก็ไม่นับว่าเป็นความรู้ ไปเจอของ<br />

แปลกใหม่อย่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก็คิดว่าเป็นความรู้​<br />

ที่มีความสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พอกลับมา<br />

เขาก็จึงปรับเปลี่ยนกระบวนการให้การรับความรู้เป็นการ<br />

รับจากตํารา แต่ความรู้ที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะมีการศึกษานั้น​<br />

ก็ช่วยให้บรรพบุรุษดํารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อม ไม่ใช่​<br />

รับความรู้มาจากบรรพุบุรุษของตนอย่างเดียวนะ แต่มีการ​<br />

ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของตน คือ<br />

ความรู้ที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัวและหมู่บ้าน ตามพ่อ​<br />

ตามแม่ไป ผู้หญิงเรียนรู้เรื่องการทําครัว การทอผ้า​<br />

การจัดระเบียบของบ้านให้เรียบร้อย ผู้ชายต้องทํางานหนัก​<br />

ลงไร่ไถนา ฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็ไปช่วยกันเก็บเกี่ยว เวลา<br />

เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ตามผู้ใหญ่ไปก็ทําให้เริ่มเห็นสิ่งใด​<br />

เป็นประโยชน์ ความรู้เหล่านี้ถือเป็นมรดกแต่ไม่ได้รับ<br />

การถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นความรู้ที่ฝังลึกและ<br />

ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สังคมดูแลตัวเองให้ได้พอมีประสบการณ์​<br />

ขึ้นมาเราก็สามารถพลิกผันได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้เดิมนี้​<br />

ก็จําเป็นต้องถูกปรับให้เข้ากับความรู้สมัยใหม่ เช่น​<br />

วิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เพราะความรู้<br />

ของเราเป็นความรู้ทางเกษตรกรรม ความรู้เพื่อการดํารงชีพ​<br />

แต่ที่ผ่านมาเราไม่นับว่ามันเป็นความรู้ เช่น ชาวนา ซึ่ง<br />

เขาเลี้ยงเรานะ เขาเข้าโรงเรียนหรือเปล่า แต่ทําไมเขา​<br />

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะไถนา ควรจะฝึกให้ควายไถนาอย่างไร<br />

จะพยากรณ์ฤดูกาลอย่างไรว่าเมื่อไหร่ฝนจะมา เข้าใจ​<br />

สิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัว หาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็น<br />

ประโยชน์มาช่วยในการดํารงชีพโดยตรง<br />

แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เปลี่ยนสถานะ<br />

ของสังคมจากระบบเกษตรกรรมสู่ระบบอุตสาหกรรม<br />

มันก็เป็นอาชีพแต่เป็นอาชีพจากภายนอกที่สังคมไทยรับ<br />

เอามา มันจึงเป็นคนละความรู้กัน ผู้ที่ไปเรียนเมืองนอก<br />

มา กลับมาเขาก็มาวางหลักสูตร ต้องเรียนเรขาคณิต<br />

พีชคณิต ตรีโกณ ต้องเรียนภาษา ถามว่าความรู้พวกนี้<br />

เรียนไปแล้วเราเอากลับมาดํารงชีวิตแบบชาวบ้านได้ไหม<br />

มันดํารงอยู่ไม่ได้ ฉะนั้นเราควรต้องรู้จักนําเอาความรู้<br />

แบบสมัยใหม่มาปรับเปลี่ยนการดํารงชีพ เพื่อเปลี่ยน<br />

สถานภาพของความรู้แบบบรรพบุรุษมาเป็นความรู้สากล<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 18 19<br />

Refocus Heritage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!