09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และไม่ใช่ปฏิเสธความรู้ข้างนอก<br />

แต่ต้องมีการคัดสรร ตอนนี้เราไม่มีการคัดสรร ป่าเรา<br />

หมดแล้ว<br />

เอาเข้าจริงๆ ลองดูว่าตอนนี้อะไรที่ทําลายโลก อุตสาหกรรม​<br />

คนที่ใช้อุตสาหกรรมไม่มีจริยธรรม ไม่มีความเป็นธรรม<br />

ต่อคนอื่น ไม่มีความเท่าเทียม อย่าดิจิทัลเราติดมัน ​<br />

ทําอย่างไรล่ะ ไม่มีดิจิทัลอยู่ได้ไหม คนที่ใช้ดิจิทัลอยู่​<br />

ไม่ได้แล้ว สลับซับซ้อนนะ จะอยู่อย่างไร อยู่ให้ไม่ทําลาย​<br />

สภาพแวดล้อม เรื่องผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทําให้<br />

มนุษย์กลับมาสนใจเรื่องความยั่งยืนพึ่งตนเอง แต่พึ่งตนเอง​<br />

อย่างไร ไม่ใช่แบบเก่าแล้ว สมัยก่อนปลูกเรือนเครื่อง​<br />

ผูกวันเดียวเสร็จ สมัยนี้ก็เหมือนกันแต่เอาสังกะสีมาปะๆ​<br />

เมื่อก่อนมีการปลูกไผ่ใช้กันในหมู่บ้าน ก็อยู่กันมาไม่เห็น<br />

อดตาย สังคมพัฒนามาถึงตรงนี้มันต้องหาทางเลือกเพื่อ<br />

สงวนรักษาสภาพแวดล้อมให้ยังคงอยู่แล้วเกิดการหมุนเวียน​<br />

ใช้ไม่หมด<br />

เรารู้ไม่เท่าทันอะไรเพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วนักวิทยาศาสตร์​<br />

กับนักเศรษฐศาสตร์เขาร่วมมือกันเอากระบวนการวิทยาศาสตร์​<br />

เข้ามาสู่เศรษฐกิจ ผูกขาดสินค้า เราต้องพึ่งพาเขาไปหมด​<br />

ยุคดิจิทัล อย่างที่ชูมาร์กเกอร์พูดไว้ เราต้องพึ่งพาตนเอง​<br />

แต่จะปฏิเสธอุตสาหกรรมอย่างไร อุตสาหกรรมผลิตของ<br />

ให้เราใช้ สร้างความต้องการใหม่ๆ เรื่อยๆ ยั่วยุให้เรา​<br />

ซื้อทั้งนั้น อุตสาหกรรมอยู่ได้เพราะมันเปลี่ยนโมเดล​<br />

ให้ดีกว่าเก่าเรื่อยๆ ให้ทิ้งของเก่า เวลาใช้แล้วชํารุด​<br />

เราต้องซื้อใหม่ แต่มันดีจริงๆ อย่างตู้เย็น ความรู้เดิม<br />

ใช้ได้หรือเปล่าล่ะ<br />

พูดลําบาก ผมไม่มีคําตอบ แต่ผมมีโอกาสได้รู้จักอดีต<br />

เรียนรู้อดีต ภูมิใจในอดีต เกิดมาแล้วเราควรเรียนรู้<br />

ประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นของเราและสากล บทเรียน<br />

ประวัติศาสตร์สอนอะไรไว้บ้าง แล้วบทเรียนมีทั้งเลวร้าย<br />

มีทั้งนําไปสู่ความเจริญงอกงาม เวลาเกิดสงครามเห็นไหม​<br />

เอาเปรียบกันทั้งนั้น เอาเปรียบกันทางทรัพยากร แล้ว<br />

อุตสาหกรรมก็ทําลายธรรมชาติ ถลุงกัน เรารู้เราเห็น<br />

หมด แต่เราไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อยู่ไปวันๆ ได้กิน ​<br />

ได้สนุก ได้ฟังเพลง แต่ยุคสมัยแต่ละยุคสร้างค่านิยม​<br />

ไม่เหมือนกัน แต่ละคนอยู่ในยุคสมัยไหนก็มีค่านิยมแบบนั้น​<br />

ไม่หันกลับมาเห็นคุณค่าอดีต ก็เลยอยู่ไปวันๆ<br />

_แล้วตอนนี้ ความคิดความอ่านของนักศึกษายุคใหม่<br />

เป็นอย่างไรบ้าง<br />

นักศึกษายุคใหม่ก็เรียนรู้การออกแบบนี่ล่ะ แต่การศึกษา<br />

ทุกวันนี้ถูกสากลครอบงําหมด ไม่ใช่ไม่ดี มันก็ดี นักศึกษา​<br />

เราออกแบบได้ทันโลกเลย แต่ไปออกแบบให้ชาวบ้านแล้ว​<br />

เขาอยู่ไม่ได้และเกินฐานะเขา จริงๆ แล้วการออกแบบ​<br />

มีหลายระดับ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ตลาดแบบเก่า<br />

ซึ่งตอนนี้ตายแล้ว เพราะของใหม่ต้องดีกว่าของเดิม​<br />

แต่บางอย่างบรรยากาศเดิมหายไปก็อยากจะได้บรรยากาศ​<br />

เดิมกลับมาอีก เพราะอะไร เพราะแบบเดิมๆ เป็นอัตลักษณ์​<br />

ที่สากลให้ไม่ได้ แต่จะเอาอัตลักษณ์ตรงไหนล่ะ ฉะนั้น<br />

ประวัติศาสตร์ต้องรู้ แต่รู้แล้วนํามาเป็นประโยชน์ต่อ<br />

ปัจจุบัน<br />

ผมออกทริปกับนักศึกษาไปเมืองแพร่ ไปคุ้มเจ้าหลวง<br />

เมืองแพร่ที่เขาสร้างแบบโคโลเนียล ตอนที่นั่นสร้างเสร็จ<br />

เขาให้กวีตาบอดเขียนบทกวีพรรณนาประตูหน้าต่าง ใช้<br />

คําไพเราะมาก ทําไมคนรุ่นหลังไม่ได้เสพรสแบบนี้ แต่<br />

ความเป็นสากลมีเสน่ห์ มีความรวดเร็ว ปรุงให้เสร็จสรรพ​<br />

แต่มรดกของเราสามารถทําให้ดีได้ เช่น เครื่องจักสาน​<br />

ผ้า อาจจะกลับมาได้อีกแต่ไม่มีใครโปรโมต เราจะเอา​<br />

ผ้ากลับมาสู่ชีวิตปัจจุบันได้อย่างไร<br />

การศึกษาของเราเป็นอย่างไร ก็เป็นสากลนี่ล่ะ ฐานราก<br />

ก็เป็นสากลแล้ว ออกแบบก็เป็นสากล แต่สถาปนิกนั้น<br />

พอจะออกแบบให้ชาวบ้าน แก้ปัญหาสลัมได้หรือเปล่า<br />

เอาเข้าจริงๆ housing สําคัญมาก แต่ไม่ค่อยมีใครรับผิดชอบ​<br />

ทําแต่คอนโดฯ กันหมด คลองลาดพร้าวอยู่ดีๆ ก็ไล่​<br />

ชาวบ้านแล้วสร้างให้เขาใหม่ อย่าลืมว่าสลัมต้องอยู่ในเมือง​<br />

ไม่มีสลัมใครจะเป็นแรงงานให้กับเมือง<br />

_อาจารย์มีคำแนะนำอะไรจะฝากถึงสถาปนิก นักศึกษารุ่นใหม่ไหมครับ<br />

สถาปนิกไทยไม่ปฏิเสธว่าเป็นสากลไปแล้ว แต่ทําอย่างไรเอาความรู้สากลมาหาภูมิปัญญา<br />

ดั้งเดิมว่ามันอยู่ตรงไหนบ้าง แล้วพอเข้าไปถึงแล้วจะรักษาไว้ได้อย่างไร มี 2 อย่าง คือสืบเนื่อง​<br />

กับอนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้เรา ก็อย่าไปเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านระดับล่างเราเข้าใจเขา<br />

หรือเปล่า ที่สําคัญคนระดับล่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะทําอย่างไรให้เขามีที่อยู่อาศัยที่ดี ที่เขามา<br />

รุกลํ้ำเพราะเขาอยู่ที่ชนบทไม่ได้ เมืองที่ดีเขาจะมีสํานึกว่าจะช่วยเหลือคนเหล่านี้อย่างไร มี<br />

การกระจายรายได้ แต่บ้านเรายังมีสลัมอยู่ เป็นเรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ มันเป็นความเป็น<br />

ความตายของคน ที่สําคัญ เมืองขยายไปเรื่อยๆ ที่นาก็หมด แล้วชาวนาจะไปอยู่ไหน<br />

เสียดายที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้เห็นมรดกสําคัญของอดีตและไม่ซาบซึ้ง พอไม่ซาบซึ้งก็เลยไม่มี<br />

ความภูมิใจในชาติ อย่างเช่น ประเทศจีนที่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนนี้ เขายังหันกลับมา พยายาม​<br />

เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน อนาคต ด้วยความรู้เท่าทัน จะเป็นอย่างไรไม่ทราบ ไม่มีคําตอบ แต่<br />

เขาเริ่มหยั่งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ต้องเรียนรู้ซึมซับ ผมคิดว่าใครที่เรียนสถาปัตยกรรมไทย​<br />

จะไม่มีอาชีพถ้าไม่สามารถพลิกผันเข้าสู่สากล ต่างกับที่ถ้าเรียนสากลจะพลิกผันเข้าสู่ความ<br />

เป็นไทยได้ง่ายกว่า ผมคิดอย่างนี้ เราทําได้ แต่เราไม่เห็นคุณค่า<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 22 23<br />

Refocus Heritage

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!