11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

theme / review<br />

FREE FLOW<br />

66 67<br />

โลกของสถาปัตยกรรมก่อนยุคสมัยใหม่ต่าง<br />

ถูกควบคุมด้วยเงื่อนไขทางโครงสร้างที่ส่วน<br />

ใหญ่ที่เป็นผนังรับน้ำาหนัก ทำาให้ขาดอิสระ<br />

ในการออกแบบ จนมาถึงในยุคสมัยใหม่ การ<br />

ค้นพบคอนกรีตเสริมเหล็กได้เปลี่ยนรูปแบบ<br />

ไปอย่างสิ้นเชิง จากที่เคยถูกควบคุมด้วย<br />

ข้อจำากัดด้านวัสดุ กลายเป็นผนังแยกส่วนออก<br />

จากโครงสร้าง สามารถเปิดช่องได้มากกว่า<br />

ที่เคยทำาได้ ทั้งจากเจาะช่องแสงยาวตลอด<br />

รูปด้าน การเปิดช่องแสงจากระนาบหนึ่งสู่อีก<br />

ระนาบได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ทั้งนั้นคือคำาตอบ<br />

จากคอนกรีต<br />

บนผืนดินแห่งหนึ่งในเขตเขาใหญ่ฝั่งจังหวัด<br />

นครนายก สภาพโดยรอบเป็นป่าตามธรรมชาติ<br />

ที่ลาดเชิงเขาเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งซึ่ง<br />

แทรกตัวกับต้นไม้นานาพันธุ์แบบป่าเขตร้อนชื้น<br />

สภาพแวดล้อมโดยรวมมีต้นไม้รายรอบสมบูรณ์<br />

ไม่ไกลจากที่ดินผืนนี้ มีแหล่งน้ำาให้สัตว์ป่า<br />

ในเขาใหญ่มาใช้กินเป็นปรกติ ด้วยเหตุที่ดิน<br />

อยู่ใกล้กับเขตป่า ทำาให้เงื่อนไขในการสร้าง<br />

บ้านพักต้องคิดแก้ปัญหามากขึ้น เงื่อนไขที่<br />

ไม่อาจหลีกเลี่ยงเหล่านี้นำาพาไปสู่การขึ้นรูป<br />

สถาปัตยกรรม<br />

โจทย์เริ่มต้นที่เจ้าของบ้าน ผู้นิยามตัวเองว่าเป็น<br />

city dwellers ต้องการบ้านสำาหรับพักผ่อน<br />

ที่เขาใหญ่ บนผืนดินเนื้อที่ 12 ไร่ครึ่ง โดย<br />

Stu/D/O Architects เป็นสถาปนิกที่มาแก้<br />

โจทย์นี้ จากการทำาความรู้จักกับที่ตั้ง สถาปนิก<br />

ได้พบประเด็นหลักใหญ่คือการครอบครอง<br />

พื้นที่ให้สามารถเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ<br />

จึงใช้วิธีสร้างกรอบที่มีลักษณะเป็นกำาแพง<br />

คอนกรีตล้อมพื้นที่ตัวบ้านไว้ กรอบนี้มีลักษณะ<br />

ดูอิสระลื่นไหลไปกับเส้นโค้งของภูมิประเทศ<br />

แต่เมื่อมองจากแปลน พบการทับซ้อนของ<br />

หลายวงกลมที่รวมเข้าด้วยกัน มีลักษณะสร้าง<br />

กรอบจากวงกลม 6 วง ที่ตำาแหน่งศูนย์กลาง<br />

สัมพันธ์กับต้นไม้เดิม 6 ต้นในที่ตั้ง แต่ไม่ได้<br />

ล้อมกรอบกำาแพงนี้ด้วยการเชื ่อมวงกลม 6 วง<br />

อย่างตรงไปตรงมา สถาปนิกใช้วิธีสร้างวงกลม<br />

ย่อยใน 6 วงนี้ซ้อนขึ้นมา เพื่อหาจุดสัมผัสทุก<br />

เส้นโค้งที่ทำาให้เส้นกำาแพงนี้ดูลื่นไหล มีอิสระ<br />

มากขึ้น จนเชื่อมโยงเป็นเส้นโค้งเดียวกันอย่าง<br />

มีสัดส่วนกลมกลืนกันในที่สุด<br />

แม้ว่าส่วนพักอาศัยจะเสมือนถูกปิดล้อมจาก<br />

สภาพแวดล้อมภายนอกด้วยผนังโค้งสูง จน<br />

เกิดเป็นคอร์ตภายใน 2 แห่ง คั่นกลางด้วย<br />

มวลกล่องสี่เหลี่ยมบ้าน เมื่อมองไปยังผนัง<br />

โดยรอบ พบกับการเปิดปิดผนังตามจังหวะ<br />

การใช้สอยภายในคอร์ต ด้านทิศใต้คอร์ตใหญ่<br />

ถูกเปิดออก 2 ช่อง ด้านทิศตะวันตก ผนัง<br />

ถูกเปิดสู่คอร์ตเนื่องจากเป็นโรงจอดรถ ส่วน<br />

ด้านผนังด้านทิศตะวันออกถูกเปิดยกขึ้นเข้า<br />

หาป่าเขาใหญ่ ที่ใช้คำาว่ายกเพราะรูปแบบการ<br />

เปิดเป็นเส้นโค้งคล้ายผนังถูกดึงขึ้นให้ฉุดรั้ง<br />

ขึ้นไปในอากาศ ผนังคอร์ตด้านทิศเหนือถูกยก<br />

เข้าหาทางลาดลงล้อไปกับความลาดเอียงจาก<br />

เชิงเขาสู่ที่ราบด้านล่าง คอร์ตภายในทั้งสองจึง<br />

ถูกเชื่อมโยงกับสภาพป่าภายนอกด้วยเทคนิค<br />

การปิดและเปิดตามจังหวะการใช้สอยของ<br />

บ้าน แม้ว่าจะมองดูว่ามีความเสี่ยงเรื่องความ<br />

ปลอดภัยจากสัตว์ป่าภายนอกบ้าน แต่สถาปนิก<br />

ก็ออกแบบให้มีการป้องกันจากการเติมต้นไม้<br />

และน้ำาใต้ช่องเปิดโค้งที่ถูกยกขึ้นมาจากระดับ<br />

ดิน ทำาให้ยากต่อการเข้าถึงภายในคอร์ต<br />

ผนังโค้งรอบบ้านมีโครงสร้างเป็นคอนกรีต<br />

เสริมเหล็กโดยส่วนใหญ่ ทำาให้คอนกรีตแสดง<br />

ศักยภาพที่จะหลอมรวมตัวมันเองเข้ากับเส้น<br />

โค้งสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี ผนังโค้ง<br />

บางส่วนถูกเสริมด้วยวัสดุ ICF Blocks หรือ<br />

Insulated Concrete Forms ซึ่งเป็นวัสดุที่เบา<br />

วิธีการก่อสร้างคือระบุรัศมีของผนังโค้งมา<br />

จากโรงงานเพื่อความแม่นยำาในการติดตั้งที่<br />

ไซท์งาน จากนั้นฉาบปูนทับกันร้าวด้วยลวด<br />

เสริมผนัง ฉาบขั้นสุดท้ายด้วยวัสดุฉาบผิวบาง<br />

นอกจากคอร์ตใหญ่ในผนังบ้าน สถาปนิกได้<br />

ออกแบบคอร์ตเล็กๆ อีก 6 แห่ง ข้างกำาแพง<br />

นอกบ้าน 4 แห่ง ในตัวบ้านอีก 2 แห่ง พร้อม<br />

กับเติมต้นไม้ให้ยอดไม้สูงทะลุคอร์ต เพิ่ม<br />

มุมมองที่ดีภายในบ้านให้มีความรู้สึกเข้าถึง<br />

ธรรมชาติทุกฉาก<br />

เมื่ออ่านภาพรวมของบ้าน จะเห็นเป็นเส้นโค้ง<br />

ประสานไปกับก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ในส่วน<br />

พื้นที่ชั้น 1 เป็นการรวมทั้งเส้นโค้งจาก<br />

กำาแพงกับส่วนมวลสี่เหลี่ยม การใช้สอยที่ชั้น 1<br />

หลอมรวมไปกับเส้นโค้งของกำาแพงชั้นนอก<br />

ทั้งส่วนพักผ่อน ห้องทำางาน แล้วส่งเส้นโค้งไป<br />

ยังบันไดขึ้นไปชั้น 2 การเปลี่ยนผ่านจากชั ้น 1<br />

ไปยังชั้นที่ 2 เป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป<br />

ด้วยการออกแบบให้แม่บันไดยื่นออกมาจาก<br />

ผนังคอนกรีต ทำาให้เส้นทางสัญจรเป็นเนื้อ<br />

เดียวกันกับโครงสร้างบ้าน สเปซรายรอบ<br />

บันไดออกแบบเป็นโค้งวงรี เส้นโค้งที่มีภายใน<br />

ไหลออกไปยังผนังภายนอก เชื่อมโยงคอร์ต<br />

เล็กนอกบ้านเข้ากับพื้นที่ชานพักบันได พื้นที่<br />

ใช้สอยที่ชั้น 2 เป็นห้องนอนบรรจุในกล่อง<br />

สี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวขนานไปตามแนวทิศ<br />

ตะวันออก-ตก ห้องนอนใหญ่เปิดมุมมองสู่<br />

เส้นชันของเขาใหญ่ฝั่งนครนายกอย่างเต็มผืน<br />

ผนัง มวลที่ชั้น 2 พาดตัวบนผนังคอนกรีตโค้ง<br />

ด้วยความต้องการที่ให้ชั้นล่างเป็นเฉลียงโล่ง<br />

หน้าสระว่ายน้ำา ไม่มีเสาวางกลางคอร์ตเพื่อ<br />

เชื่อมมุมมองที่ดีจากภายนอกสู่ภายในบ้าน<br />

การใช้โครงถักเสริมในผนังจึงเป็นทางเลือก<br />

ให้พื้นที่บ้านชั้น 2 ทางทิศใต้ จนมวลบ้านลอย<br />

กลางอากาศพาดยาวเชื่อมผนังโค้งทั้ง 2 ฝั่ง<br />

สามารถรองรับความยาวกว่า 20 เมตรได้<br />

แม้ว่าวัสดุหลักของบ้านนี้เป็นคอนกรีต แต่<br />

ความกระด้างของคอนกรีต ถูกทำาให้ละมุนละไม<br />

ขึ้นด้วยเงาต้นไม้ แสงเงาในงาสถาปัตยกรรม<br />

ทำาหน้าที่เล่นกับเงาแบบหนังตะลุง และคอนกรีต<br />

กลายเป็นฉากรับเงาเล่าเรื่องราวพันธุ์ไม้เขาใหญ่<br />

ที่เปลี่ยนรูปตามองศาของแสงอาทิตย์เคลื่อนไป<br />

ในแต่ละช่วงวัน<br />

อภิชาติ ศรีโรจนภิญโญ สถาปนิก และหนึ่งใน<br />

ผู้ก่อตั้ง Stu/D/O Architects พูดถึงคอนกรีต<br />

ไว้ว่า “คอนกรีตเป็นวัสดุที่สวย และเราก็ชอบ<br />

ใช้คอนกรีตเปลือยผิว เป็นเพราะว่าเราทำางาน<br />

เรียบๆ คอนกรีตเป็นวัสดุสีเทากลางๆ มันจะ<br />

เข้าได้กับทุกงานที่เราออกแบบ เราทำางานที่<br />

เมืองไทยเยอะ แล้ววัสดุที่ไม่แพงในไทยก็คือ<br />

คอนกรีตเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น มันสามารถทำา<br />

ได้หลายรูปทรง ทั้งตรง ทั้งโค้ง ก็เลยเป็นที่มา<br />

ที่เราชอบใช้คอนกรีต มันทั้งเปลือยผิวได้ แสดง<br />

สัจจะวัสดุได้ มีทั้งสี ความเป็นกลาง ความ<br />

มินิมอล เป็นแนวทางที่เราชอบทำา เลยเป็นไม้<br />

เหล็ก ผสมคอนกรีตอยู่ตลอด”<br />

3<br />

The walls are formed by<br />

generating six small rings<br />

within them to facilitate<br />

the contact points for each<br />

curved line, resulting in<br />

greater flow and fluidity<br />

of the mass of the walls.<br />

Everything eventually links<br />

together and produces a<br />

smooth,curved line with<br />

visually pleasing proportions.<br />

03<br />

ไดอะแกรมแสดงการ<br />

ก่อรูปบ้านที่สร้างจาก<br />

เส้นโค้ง<br />

04<br />

ภาพมุมสูงเผยให้เห็นบ้าน<br />

แทรกในป่าเชิงเขาใหญ่<br />

4

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!