11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

theme / review<br />

ABOVE THE LINE<br />

122 123<br />

ท่ามกลางตึกสูงระฟ้าที่แข่งกันตั้งตระหง่าน<br />

บริเวณพื้นที่ถนนหลังสวน ย่านพาณิชยกรรม<br />

สำาคัญที่ตั้งอยู่ด้านหลังสวนลุมพินี อันเป็นที่มา<br />

ของชื่อถนนในอดีต ทว่าในปัจจุบันกลับเป็น<br />

หนึ่งในพื้นที่ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของประเทศไทย<br />

เป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์<br />

Sindhorn Kempinski Hotel Bangkok ที่ถูก<br />

ออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Plan Architect<br />

ด้วยรูปทรงของสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะ<br />

โค้งเว้า หยอกเย้าไปกับภูมิทัศน์ในสวน ซึ่ง<br />

เป็นพื้นที่สีเขียวของโครงการ ด้วยเส้นโค้ง<br />

คล้ายเกลียวคลื่นที่ตัดกับรูปทรงสี่เหลี่ยมของ<br />

ป่าคอนกรีตของตึกสูงรอบข้างอำานวยให้สถา-<br />

ปัตยกรรมมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์<br />

ชวนให้รำาลึกถึงถ้อยแถลงของ ฟิลิป จอห์นสัน<br />

สถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลชาวอเมริกันที่กล่าวไว้ว่า<br />

“เราสามารถออกแบบและขึ้นรูปทรงอย่างไร<br />

ก็ได้ภายใต้โครงสร้างคอนกรีต ทำาไมเราถึง<br />

ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมด้วยเส้นตรงทั้งๆ<br />

ที่ภายใต้เรือนร่างของมนุษย์นั้นไม่มีเส้นตรง<br />

คุณมักจะประหลาดใจอยู่เสมอเมื่อก้าวเข้าไป<br />

ในห้องที่ปราศจากเส้นตรง มันช่างน่าอัศจรรย์<br />

ใจที่คุณจะสัมผัสได้ว่าผนังโค้งเว้านั้นกำาลัง<br />

กำาลังสนทนากับคุณอยู่”<br />

ด้วยลักษณะของที่ตั้งโครงการที่วางตัวอยู่<br />

ระหว่างถนนหลังสวนกับซอยต้นสนส่งผลต่อ<br />

ข้อจำากัดในเรื่องของความสูงอาคาร ประกอบ<br />

เข้ากับในช่วงแรกทิศทางการออกแบบของ<br />

โครงการถูกกำาหนดให้เป็นโครงการที่พักอาศัย<br />

ที่หรูหรา (Luxury residence) มีกลุ่มเป้าหมาย<br />

เป็นผู้สูงอายุที่เคยถือครองที่ดินในบริเวณพื้นที่<br />

ย่านนี้และมีกำาลังซื้อ ส่งผลให้แนวทางการ<br />

พัฒนาสถาปัตยกรรมให้ความสำาคัญกับพื้นที่<br />

สวนขนาดใหญ่ และตัวอาคารมีลักษณะเป็น<br />

อาคารที่มีความสูงไม่มากนัก เพราะความสูง<br />

สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอยสถาปัตย-<br />

กรรมผนวกเข้ากับความต้องการใกล้ชิดกับ<br />

ธรรมชาติของผู้บริโภค จึงสอดคล้องต้องกัน<br />

กับข้อกำาหนดความสูงทางกฎหมาย ก่อนที่<br />

ในเวลาต่อมาโครงการที่พักอาศัยดังกล่าวจะ<br />

เปลี่ยนโจทย์มาเป็นโครงการโรงแรมอย่างที่<br />

เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการ<br />

เปลี่ยนรูปแบบของโครงการมาเป็นโรงแรม<br />

แล้ว แต่ยังคงหัวใจของการสร้างพื้นที่กึ่ง<br />

ภายนอก (Semi-Outdoor) เอาไว้ดังเดิม ส่ง<br />

ผลให้เกิดภาพลักษณ์ของการเป็นโรงแรมใน<br />

สวนกึ่งเปิดโล่ง ‘Open Air City Hotel’ ที่เป็น<br />

เอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายใต้บริบทของพื้นที่<br />

ที่มีความหนาแน่นของย่านพาณิชยกรรมสูง<br />

“ด้วยความที่เราได้เคยพัฒนาโครงการนำาร่อง<br />

อย่าง Sindhorn Residence ทำาให้เราเข้าใจ<br />

ลักษณะเฉพาะตัวของย่านและกลุ่มลูกค้า ซึ่ง<br />

มักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำาลังซื้อสูง และกลุ่ม<br />

ชาวต่างชาติ ส่งผลให้ตัวโครงการ Sindhorn<br />

Kempinski Hotel Bangkok ถูกออกแบบมา<br />

ให้มีลักษณะพิเศษ ที่สร้างให้เกิดคุณลักษณะ<br />

การอยู่อาศัยร่วมกับสวน หรือ ‘Living in the<br />

Park’ ที่พัฒนามาเป็นหัวใจหลักของโครงการ”<br />

คุณวรา จิตรประทักษ์ สถาปนิกจาก Plan<br />

Architect กล่าวถึงที่มาของแนวทางการพัฒนา<br />

รูปแบบสถาปัตยกรรม ดังนั้นทีมออกแบบจึง<br />

นำาเส้นสายโค้งเว้าที่มีความสัมพันธ์กับต้นไม้<br />

ภายในสวนด้านนอกมาใช้กับส่วนที่สำาคัญที่สุด<br />

ของตัวอาคารคือ ‘Gateway Arch’ หรือซุ้มโค้ง<br />

ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบ Shell structure<br />

บริเวณโถงทางเข้า ที่ทำาหน้าที่เชื่อมพื้นที่<br />

ชั้นล่างเข้ากับพื้นที่สวน ซุ้มโค้งดังกล่าวเกิดขึ้น<br />

จากการหล่อโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />

ขนาดใหญ่ด้วยคานคอนกรีตขนาดหน้าตัด<br />

2x2 เมตร เป็นตัวรับแรงถีบตัวของซุ้มโค้งเอา<br />

ไว้เป็นโครงสร้างหลัก เปรียบได้กับกระดูกที่<br />

หิ้วน้ำาหนักของซุ้มโค้งทั้งหมด พร้อมด้วยการ<br />

เสริมเหล็กจำานวนมากที่ช่วยให้คอนกรีตรับ<br />

แรงถีบตัวได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดพื้นที่<br />

ว่างใต้ซุ้มโค้งที่มีความกว้างถึง 60 เมตร ตัว<br />

พื้นผิวเป็นคอนกรีตเปลือยทั้งหมด เพื่อดำารง<br />

สุนทรียศาสตร์ของการเคารพในสัจจะของวัสดุ<br />

อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำากัดของรูปทรงซุ้มโค้ง<br />

ส่งผลต่อการทำาปฏิกิริยาของคอนกรีต เนื่อง-<br />

จากในระหว่างที่คอนกรีตกำาลังแข็งตัวจะเกิด<br />

ปฏิกิริยาที่ทำาให้เกิดฟองอากาศคายตัวขึ้น<br />

บริเวณพื้นผิวด้านบน เป็นความท้าทายหนึ่ง<br />

ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับการหล่อคอนกรีตโค้งคว่ำา<br />

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างจำาเป็นต้อง<br />

ผสมคอนกรีตสูตรพิเศษ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว<br />

สำาหรับโครงการ จึงทำาให้คอนกรีตเปลือยของ<br />

โครงการมีสีที่เข้มกว่าปกติ โดยในแนวความ<br />

คิดแรกของการออกแบบส่วนพื้นที่ซุ้มโค้งนี้ถูก<br />

ออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง แต่เมื่อโครงการ<br />

ถูกปรับไปเป็นโรงแรมทำาให้จำาเป็นต้องปิด<br />

กระจกเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวถูกใช้เป็นส่วนของ<br />

โถงต้อนรับอาคารที่จำาเป็นต้องมีการควบคุม<br />

สภาพอากาศภายใน<br />

ถัดขึ้นไปจากพื้นที่ซุ้มโค้งขนาดใหญ่ของชั้นล่าง<br />

คือส่วนของช่อง Atrium ขนาดใหญ่ที่เชื่อม<br />

พื้นที่ภายในของอาคารเข้าด้วยกันทั้งหมด<br />

ช่องแสงด้านบนได้รับการออกแบบให้เป็นกริล<br />

(Grille) ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อ<br />

เปิดรับลมและแสงธรรมชาติเข้ามาสู่พื้นที่<br />

ภายในได้ และเป็นการสร้างระบบระบายความ<br />

ร้อนแบบ Stack Ventilation โถงขนาดใหญ่<br />

ดังกล่าวเป็นอีกหัวใจที่สำาคัญของตัวอาคารที่<br />

สร้างให้เกิดสภาวะกึ่งภายนอกขึ้นมาภายใน<br />

พื้นที่ทางเดินเข้าสู่ห้องพักตามแนวความคิด<br />

ของการออกแบบ เช่นเดียวกับการออกแบบ<br />

ครีบอาคารทั้งหมดที่โค้งเว้าสัมพันธ์คล้าย<br />

คลื่นในบริเวณระเบียงภายนอก ที่โครงการ<br />

สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของ<br />

ส่วนโค้งเว้าเพื่อสร้างแสงและเงาที่แตกต่างกัน<br />

ออกไปในแต่ละยูนิต<br />

ด้วยเป้าประสงค์ที่โครงการมุ่งหวังให้เป็น<br />

สถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable achitecture)<br />

ที่ต้องการให้โครงการสามารถดำารงอยู่<br />

ได้อย่างน้อย 100 ปี ส่งผลให้ผู้ออกแบบได้ให้<br />

ความสำาคัญกับการรองรับความเปลี่ยนแปลง<br />

ของการใช้งานที่หลากหลายของแต่ละยูนิต<br />

การออกแบบระเบียงขนาดใหญ่ซึ่งมีความ<br />

แตกต่างไปจากลักษณะของ City hotel ทั่วไป<br />

ที่มักจะไม่ออกแบบระเบียง การออกแบบ<br />

ขนาดของช่องงานระบบ (Shaft) ที่มีขนาด<br />

ใหญ่เป็นพิเศษกว่าปกติ เพื่อรองรับการปรับ<br />

เปลี่ยนอาคารที่อาจถูกใช้เป็นอพาร์ทเม้นต์<br />

ในอนาคต โครงสร้างทั่วไปของโครงการนอก<br />

เหนือจากส่วนซุ้มโค้งด้านล่างใช้การก่อสร้าง<br />

พรีคาสท์คอนกรีต (Precast concrete) แบบ<br />

นั่งบนพื้นโครงสร้าง ไม่ใช่รูปแบบแปะหน้าพื ้น<br />

โครงสร้างที่ทำาโดยทั่วไป เนื่องจากผู้ควบคุมงาน<br />

ก่อสร้างคำานึงถึงความผิดพลาดต่อโครงสร้าง<br />

ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต<br />

หากเราถอยออกมาพิจารณาตัวสถาปัตยกรรม<br />

ที่บริเวณพื้นที่สวนภายนอกจะพบว่าทีมผู้ออก-<br />

แบบได้สร้างรูปทรงโค้งขึ้นอีกสองส่วนคือส่วน<br />

กลางของอาคารที่เป็นสระว่ายน้ำากับส่วนบน<br />

ของอาคารที่ออกแบบให้เกิดเส้นอาคารโค้ง<br />

เว้ากลับด้านล้อกันกับซุ้มโค้งด้านล่าง โดยใน<br />

ส่วนของสระว่ายน้ำา ได้มีการออกแบบคาน<br />

ถ่ายน้ำาหนักเฉพาะ (Transfer beam) เพื่อลด<br />

จำานวนของเสาลง ทำาให้เกิดสระว่ายน้ำาแบบ<br />

‘Infinity pool’ ที่เปิดรับทัศนียภาพเข้ามาได้<br />

อย่างเต็มที่ เชื่อมโยงทิวทัศน์ของพื้นที่สวนใน<br />

โครงการ รวมถึงพื้นที่สวนลุมพินี สนามม้า<br />

ราชกรีฑาสโมสรได้เป็นอย่างดี พื้นผิวของ<br />

พื้นที่ส่วนสระว่ายน้ำากรุด้วยแผ่น Perforated<br />

stainless steel sheet โดยรอบของสระทรงรี<br />

ที่ทำาให้เกิดการสะท้อนทัศนียภาพโดยรอบ<br />

ส่วนพื้นที่ด้านล่างของสระว่ายน้ำาเป็นส่วนของ<br />

งานระบบ (Duct floor) ของโครงการที่ซ่อน<br />

เอาไว้อย่างแนบเนียน<br />

โครงการ Sindhorn Kempinski Hotel Bangkok<br />

เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาทางสถาปัตยกรรม ที่<br />

03<br />

มุมมองจากสวน เป็นพื้นที่<br />

เปิดโล่งที่ช่วยส่งเสริม<br />

ให้เห็นลักษณะโค้งเว้า<br />

ราวเกลียวคลื่นอันเป็น<br />

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ<br />

สถาปัตยกรรม<br />

แสดงออกถึงการผสานการออกแบบโครงสร้าง<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กรูปทรงโค้งขนาดใหญ่<br />

เข้ากับโครงสร้าง precast เพื่อเชื่อมพื้นที่ว่าง<br />

ที่ดำารงอยู่ระหว่างอัตถประโยชน์ใช้สอยภายใน<br />

เข้ากับพื้นที่สีเขียวภายนอก ภายใต้บริบทของ<br />

การเป็นโรงแรมกลางใจเมือง ในช่วงเวลาที่<br />

สังคมกำาลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความ<br />

ต้องการพื้นที่สีเขียวเป็นหัวใจของการอยู่อาศัย<br />

ในศตวรรษที่ 21<br />

3

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!