11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

168<br />

professional / studio<br />

AOMO ARCHITECTURE OF MY OWN<br />

169<br />

ทีมงาน AOMO (Architecture of My Own)<br />

ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไปของ ‘AOM’ ได้ไหมว่า<br />

เริ่มต้นขึ ้นได้อย่างไร?<br />

หลังสำเร็จการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม-<br />

ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมก็ได้<br />

ทำงานอยู่ราว 4-5 ปี ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ<br />

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นก็กลับมา<br />

ที่ประเทศไทยราวปี 2005 ผมได้ทำงานอยู่กับ<br />

บริษัทรับออกแบบสถาปัตยกรรมอยู่ราวๆ 9 ปี<br />

ก่อนมองว่างานออกแบบในสเกลใหญ่ๆ เริ่มไม่<br />

ตอบโจทย์กับแนวทางการทำงานของผมเอง<br />

ผมจึงตัดสินใจลาออก ประกอบกับในขณะนั้น<br />

มีงานเข้ามาอย่างพอดิบพอดี ผมจึง ตั้งบริษัท<br />

‘AOMO’ (Architecture of My Own) ขึ้นมา<br />

หรือถ้าจะแปลเป็นไทยก็คือบริษัทของผมเอง<br />

ซึ่งผมจะทำอะไรก็ได้ อยากทำอะไรก็ทำ โดย<br />

มีอิสระในการจัดการสิ่งต่างๆ ทั้งหมดก็จะเริ่ม<br />

ต้นขึ้นจากตรงจุดนี้ โดยในปัจจุบัน บริษัทก็เปิด<br />

ทำการมากว่า 8 ปีครึ่งแล้วครับ<br />

งานในแต่ละส่วนของบริษัทมีการแบ่งหน้าที่<br />

จัดการกันอย่างไร?<br />

บริษัทของเราประกอบไปด้วยทีมงานสถาปนิก<br />

จำนวน 6 คน นักออกแบบภายใน 3 คน เจ้า-<br />

หน้าที่ธุรการพร้อมกับทำหน้าที่เลขาอีก 1 คน<br />

รวมกับผมไปด้วยทั้งหมดก็จะเป็น <strong>11</strong> คนครับ<br />

แต่การดำเนินงานทุกส่วนก็จะเริ่มต้น ผ่านผม<br />

ทั้งหมดก่อน จากนั้นผมก็จะเริ่มวาง planning<br />

ของแต่ละโปรเจกต์ ก่อนจะเริ่มกระจายส่งงาน<br />

ไปให้น้องๆ มาช่วยกัน หรือรับผิดชอบจัดการ<br />

ร่วมถึงพัฒนา หรือในบางครั้งสำหรับโปรเจกต์<br />

ขนาดใหญ่ก็จะมี 2-3 คนเข้ามารวมกัน และจะ<br />

พยายามร่วมระดมความคิดมองหาแนวทาง และ<br />

แจกจ่ายงานกันไปให้จัดการคนละ 1-2 สกรีน<br />

ก่อนนำมา ร่วมพิจารณาด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง โดย<br />

การมองหาข้อดี-ข้อเสีย และพยายามพลักดันให้<br />

งานของน้องๆ ที่ทำมา มีข้อเสียน้อยที่สุดหรือมี<br />

ข้อดีมากยิ่งขึ้น แล้วจึงนำไปเสนอลูกค้ าพร้อมๆ<br />

กัน โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นงานออกแบบ ของ<br />

ผม หรือของน้องๆ คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะ<br />

ทุกงานที่ส่งไปล้วนแต่เป็นงานได้รับการคัดแล้ว<br />

ว่ามีความพร้อม และดีที่สุด<br />

ช่วยเล่าและขยายความถึงแนวทางปรัชญา<br />

ในการทำงานออกแบบที่คุณพู ดว่า<br />

“สถาปั ตยกรรมที่เรียบง่าย แต่ไม่เลี่ยน”<br />

ให้ฟั งหน่อยได้ไหม?<br />

แนวทางของเราคือการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

ที่ไม่ได้เน้นในเรื่องรูปทรงของอาคาร ดังนั้นการ<br />

ออกแบบรูปแบบอาคารของเราจึงจะเรียบ พอ<br />

อาคารมีความเรียบ เราจึงมองหาว่าความน่าสนใจ<br />

ของอาคาร โดยจะมองหาจากอะไรได้บ้างนั้น<br />

ก็เหลือเพียงในส่วนการจัดการ เรื่องรายละเอียด<br />

วัสดุ และมิติแสง-เงาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับทรวด-<br />

ทรงของอาคาร ดังนั้นในการทำงานออกแบบของ<br />

เราจึงจะคิดอยู่เสมอว่า เราจะต้องไม่ทำอะไรที่<br />

เกินเลยไปกว่าความเป็นจริง หรือหยิบยื่นอะไร<br />

ที่ไม่จำเป็นให้กับลูกค้ า อย่างงานส่วนประกอบ<br />

การตกแต่ง เราก็มักจะไม่ใส่เลย ยกเว้นแต่ว่าถ้า<br />

หากเติมเข้าไปแล้วจะสามารถเสริมฟังก์ชัน<br />

เข้ามาได้เราจึงจะใส่เข้าไป ผมจึงมักจะกำซับกับ<br />

น้องๆ เสมอว่าให้ใช้เงินลูกค้าเหมือนกับใช้เงิน<br />

ของตนเอง ในจุดนี้เองงานออกแบบจึงนำไปสู่<br />

ความเข้าใจจริงๆ ว่าอันนี้ที่จำเป็นต้องมี และ<br />

อันไหนเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยก็จะถูกตัดออก และ<br />

AOMO<br />

Architecture<br />

of My Own<br />

Sivichai Udomvoranun<br />

ด้วยความ ‘เรียบแต่ไม่เลี่ยน’ ก็ยังง่ ายต่อการ<br />

จัดการดูแลรักษาได้มากกว่าอาคารที่ มีลูกเล่น<br />

ทางด้านรูปทรงอีกด้วย<br />

ช่วยยกตัวอย่างผลงานออกแบบที่รู้สึก<br />

ท้าทายหรือประทับใจให้เราฟั งได้ไหม?<br />

ผมนึกถึงงานออกแบบตลาดในย่านลาดกระบัง<br />

แห่งหนึ่ง เพราะเป็นอันแรกๆ เลยที่ยังคงงงอยู่ว่ า<br />

“เราจะทำงาน ออกแบบตลาดหรือ?” แต่อย่างที่<br />

ได้บอกไปแล้ว ผมก็ได้ถามกับเจ้าของโครงการ<br />

ว่าจะให้เราออกแบบตลาดจริงๆ หรือ และคุณ<br />

อยากได้อะไรจากงานออกแบบของเรา เขาก็บอก<br />

กับเราว่า เขาอยากได้ตลาดที่ดึงดูดคน เหมือน<br />

เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวมากกว่าเป็นตลาดธรรมดา<br />

โดยตลาดแห่งนี้จะเป็นตลาดขายของในรูปแบบ<br />

คล้ายๆ กับตลาดจตุจักร ความท้าทายสำหรับ<br />

โปรเจกต์นี้ก็คือ เราต้องไปทำงานกับโครงสร้าง<br />

เหล็กที่เป็นเหล็กหล่อหรือเหล็กรูปพรรณ และ<br />

เนื่องจากเราต้องการโชว์โครงสร้างหลังคาทั้งหมด<br />

ประกอบกับความต้องการของเจ้าของที่จะใช้<br />

เหล็ก ซึ่งดูแพงกว่าเหล็กรูปแบบทั่วไป จึงเกิด<br />

เป็นโปรเจกต์แรกด้วยเช่นกันที่เราทำงานร่วมกับ<br />

Siam Yamato Steel (SYS)<br />

โครงสร้างทั้งหมดจะถูกยกมาและนำมาประกอบ<br />

หน้างาน โดยที่ไม่มีการเชื่อมแม้แต่น้อย เฉพาะ<br />

นั้นความผิดพลาดจึงมีได้น้อยมาก อาจจะเพียง<br />

2 มิลลิเมตรเท่านั้น ดังนั้นทุกอย่ างจึงใช้การเชื่อม<br />

ติดด้วยนอตทุกจุด การทำงานแบบนี้จึงเป็น อะไร<br />

ที่แปลกใหม่ในการทำงานทั้งในเรื่องขนาดของ<br />

โปรเจกต์และรูปแบบ โดยจริงๆ ในต่างประเทศ<br />

ผมเคยทำมาก่อน แต่ที่ประเทศไทยยังไม่เคย<br />

เจอใครทำโปรเจกต์ขนาดเล็กแบบนี้ ทางเราได้<br />

เข้ามาช่วยเจ้าของตลาดตั้งแต่หาผู้รับเหมา ต่อ<br />

รองราคา หา subcontractor มาช่วย จนกระทั่ง<br />

ราคาออกมาถูกมาก คืออยู่ในราคาช่วงหมื่นต้นๆ<br />

ก็จะสามารถสร้างได้แล้ว อีกทั้งรูปลักษณ์ที่ออก<br />

มาก็ตอบสนองต่อสภาพอากาศ ลม ฝน และยัง<br />

มีความน่าสนใจด้านรูปทรง ด้วยเช่นกัน แม้โครง-<br />

สร้างจะเป็นรูปแบบเพิงหมาแหงนธรมดา แต่เรา<br />

ก็ไปปรับ ดัดแปลงเล็กน้อยให้ดูน่ าสนใจยิ่งขึ้น<br />

ตลาดแห่งนี้ก็ได้ผลตอบรับค่อนข้ างดีนะครับ<br />

คุณมองว่าอะไรเป็ นตัวตนหรืออัตลักษณ์<br />

ความเป็ น ‘AOMO’ ในงานออกแบบ<br />

สถาปั ตยกรรม?<br />

จริงๆ แล้ว ผมคิดว่าเราอาจไม่ได้มีอัตลักษณ์ที่<br />

ชัดเจน คือเราจะปรับเปลี่ยนการจัดการในส่วน<br />

ต่างๆ ไปตามแต่ละโปรเจกต์ หากแต่การดูแล<br />

ในส่วนรายละเอียดของอาคาร เราจะทำในรูป-<br />

แบบที่เนี้ยบกว่าปกติเล็กน้อย เนื่องจาก อาคาร<br />

ที่เราออกแบบค่อนข้างมีความเรียบ ดังนั้นหาก<br />

จะลองมองหรือพิจารณาอัตลักษณ์ของเรา อาจ<br />

จะเป็นเรื่องการทำงานหรือวิธีการคิดจัดการที่<br />

ใส่ใจกับส่วนรายละเอียดเป็นพิเศษครับ<br />

คุณได้วางแผนหรือตั้งเป้ าหมายในอนาคต<br />

สำหรับ ‘AOMO’ ไว้อย่างไรบ้างครับ?<br />

นับแต่แรกแล้วผมออกแบบบริษัทไว้ในรูปแบบ<br />

ที่คนรุ่นใหม่สามารถเข้ามาแทนที่ผมเมื่อไรก็ได้<br />

ผมอาจก็จะวางมือ หรือถอยเข้าไปแล้วให้คนรุ่น<br />

ใหม่เข้ามาดูแล แต่เมื่อมองไปตามความเป็นจริง<br />

ก็ค่อนข้างยากเพราะคนรุ่นใหม่ที่ เข้ามาแทนที่<br />

ก็จำเป็นต้องมีความคิดเห็นการทำงานที่ไปใน<br />

ทิศทางเดียวกันและสามารถทำงานตามแนวทาง<br />

ของเราต่อไปได้ ซึ่งนี่ก็จะช่วยขับเคลื่อนบริษัท<br />

ไปในทิศทางเดิมได้ด้วยแนวทางและปรัชญา<br />

รูปแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างเป็นไปได้<br />

ยากที่จะหาคนซึ่งจะเข้าใจไปกับเราได้ทั้งหมด<br />

จึงอาจต้องบอกว่าต้องคอยดูต่อไปครับ สำหรับ<br />

ในอนาคตจริงๆ ผมก็มีความต้องการที่จะสามารถ<br />

เลือกรับงานได้มากยิ่งขึ้นและเป็นงานที่เราสนใจ<br />

ดูแลจัดการ อีกทั้งยังคาดว่าจะผันบริษัทไปใน<br />

ทิศทางของ developer มากขึ้น ซึ่งก็จะเข้ามา<br />

ตอบโจทย์กับรูปแบบทิศทาง การรับงานที่เรา<br />

ต้องการจะไปให้ถึง<br />

Shopzilla Market<br />

Shopzilla Market

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!