11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

theme / review<br />

SIGNATURE BLOCKS<br />

94 95<br />

เอกลักษณ์ หรือ ลายเส้นในงานออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมนั้น สามารถแสดงออกได้หลาย<br />

วิธี ซึ่งแล้วแต่สถาปนิกจะยกเรื่องไหนขึ้นมา<br />

เป็นปัจจัยหลักในการออกแบบ แต่สำหรับ<br />

Vaslab แล้ว หนึ่งในเอกลักษณ์ที่สามารถเห็น<br />

ได้ชัดตั้งแต่งานออกแบบช่วงแรกๆ จนถึง<br />

ปัจจุบัน คือเรื่องเส้นสายที่มีความโดดเด่น<br />

และวัสดุคอนกรีตที่เลือกมาใช้ในการออกแบบ<br />

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเชื่อในการ<br />

ทำงานออกแบบที่วัสดุต้องตอบโจทย์ในเรื่อง<br />

ของการใช้งาน และมีความคงทนแข็งแรง เพื่อ<br />

ให้ง่ายต่อการดูแลรักษาแก่เจ้าของโครงการ<br />

รวมไปถึงงานที่ดีสำหรับ Vaslab นั้นจะต้อง<br />

ตอบโจทย์ในเรื่องของ Timeless Design ทั้ง<br />

ในแง่ของการใช้งาน และภาพรวมของอาคาร<br />

ที่จะอยู่ไปอีกยาวนาน<br />

ด้วยความที่โตมากับยุคที่งานของสถาปนิกอย่าง<br />

Le Corbusier Louis Kahn Danial Libeskind<br />

รวมไปถึงงานสมัยใหม่อย่าง Zaha Hadid<br />

หรือ Tadao Ando ที่หลากหลายงานได้ใช้วัสดุ<br />

คอนกรีตในการแสดงภาพลักษณ์ของโครงการ<br />

นั้นๆ ทำให้ วสุ วิรัชศิลป์ หลงใหลในงานสถา-<br />

ปัตยกรรมคอนกรีต ที่มีความงดงามในตัว<br />

ของวัสดุเองเมื่อผ่านไปตามกาลเวลา สิ่งนี้<br />

จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Vaslab ได้ทดลอง<br />

ทำงานในรูปแบบที่ตัวเองสนใจตั้งแต่โปรเจกต์<br />

แรกๆ ที่ก่อตั้งสตูดิโอขึ้นมา รวมไปถึงออฟฟิศ<br />

Vaslab โครงการต่างๆ อีกมากมายที่ต่อยอด<br />

มาจากความชื่นชอบในรูปแบบเดียวกันของ<br />

ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการ จนมาถึง<br />

House in the Dust บ้านพักอาศัยที่ตั้งอยู่ใน<br />

จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเจ้าของ<br />

โครงการชื่นชอบงาน Overlapping House<br />

ที่ออกแบบโดย Vaslab และต้องการบ้านที่มี<br />

เอกลักษณ์ จึงทำให้โจทย์ของการออกแบบ<br />

เปิดกว้าง และสามารถนำเสนอเอกลักษณ์งาน<br />

ออกแบบตามสไตล์ Vaslab ได้อย่างเต็มที่<br />

ในช่วงเริ่มแรกนั้น การทำงานคอนกรีตหล่อ<br />

ในที่แบบที่ได้เห็นนั้น มีความจำเป็นที่จะต้อง<br />

ทดลอง และพัฒนารูปแบบการก่อสร้างให้<br />

เหมาะสมกับทักษะ วัสดุ และงบประมาณที่<br />

เหมาะสม จึงเกิดเป็นการทดลองปรับเปลี่ยน<br />

วิธีการก่อสร้าง จากที่ในงานส่วนใหญ่ของต่าง<br />

ประเทศนั้น ใช้แม่แบบเหล็กในการขึ้นฟอร์ม<br />

ของผนังอาคารต่างๆ ซึ่งมีข้อเสียในเรื่องของ<br />

งบประมาณ และความชำนาญ โครงการต่างๆ<br />

ของ Vaslab เองจึงประยุกต์ด้วยการใช้แผ่น<br />

ไม้อัดเข้ามาทดแทน รวมถึงพัฒนาทักษะของ<br />

การก่อสร้างของทีมช่างไปพร้อมๆ กัน<br />

สำหรับ House in the Dust ด้วยความที่ตั้งอยู่<br />

ในพื้นที่ที่มีความพิเศษ รายล้อมไปด้วยความ<br />

หลากหลาย ทั้งโรงงานขนาดใหญ่ ลานกว้าง<br />

สำหรับตากข้าวโพด บ้านหลังเดิม รวมไปถึง<br />

วิวต้นสนอินเดียที่รับกับทิวเขาด้วยหลัง สิ่งนี้<br />

เองที่ผู้ออกแบบมองเห็นถึงความน่าสนใจ จน<br />

เกิดเป็นแนวความคิดในการออกแบบบ้านที่<br />

สามารถมองได้รอบทั้งหมด 360 องศา ด้วย<br />

ความที่เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ทำให้พื้นที่ใช้สอย<br />

ต่างๆ ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการใช้<br />

งาน ไม่มีหน้าบ้าน หรือหลังบ้านที่ชัดเจน โดย<br />

แบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน พื้นที่ส่วน<br />

Service ที่เป็นที่จอดรถ และห้องครัว พื้นที่<br />

Common ที่เป็นห้องโถง ห้องนั่งเล่น และอีก<br />

ส่วนคือ พื้นที่ Living ที่เป็นห้องนอน โดยทั้ง<br />

3 ส่วนนั้นถูกวางให้เชื่อมต่อกันแต่แยกออก<br />

เป็นแกนทั้งหมด 3 แกน<br />

ด้วยเส้นสายของ Vaslab เองนั้น พื้นที่แต่ละ<br />

ส่วนถูกเชื่อมต่อกันทั้งแนวนอน และแนวดิ่ง<br />

เส้นสายต่างๆ ถูกลากเข้าหากัน และออกแบบ<br />

มาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ช่วยลดทอนขนาด<br />

ส่วนของตัวอาคาร ไม่ให้ดูแบน หรือ ทึบจน<br />

เกิดไป เส้นปาดเฉียงช่วยทำให้ตัวบ้านดูมี<br />

การเคลื่อนไหวมากขึ้น ทั้งการเชื่อมพื้นที่จาก<br />

ชั้น 1 ไปสู่ชั้นสองด้วยบันไดที่ถูกนำมาจัดวาง<br />

บนผนังภายนอก รวมถึงองค์ประกอบของ<br />

แต่ละแกนก็มีขนาดที่แตกต่างกันตามการใช้<br />

งาน แกนสำหรับอยู่อาศัยจะมีความยาวมาก<br />

ที่สุด แกนที่เป็นที่จอดรถจะเป็นแกนที่สั้นที่สุด<br />

ซึ่งถูกนำมาประกอบ และบิดรูปทรงของ<br />

อาคาร รวมถึงการเลือกให้ด้านที่เปิดรับฝุ่น<br />

นั้นมีลักษณะทึบเป็นหลัก เพื่อป้องกันปัญหา<br />

ที่จะเกิดขึ้น ทำให้ฟอร์มของอาคารนั้นมีความ<br />

เป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่ในลานกว้างอย่าง<br />

ตั้งใจ<br />

สำหรับภายนอกนั้นด้วยความที่เจ้าของโครงการ<br />

ต้องการให้มีความเป็นคอนกรีตทั้งหมดตั้งแต่<br />

เริ่มต้น ส่วนสำคัญในการก่อสร้างคือต้องมี<br />

ผู้รับเหมาที่มีความเข้าใจ มีทักษะที่จะก่อสร้าง<br />

แล้วให้มีเส้นสายตามแบบ ซึ่งแท้จริงแล้ว<br />

ต้องการความละเอียดในการก่อสร้างอย่าง<br />

มาก โดยเฉพาะเส้นสายที่มีความโค้ง เนื่อง<br />

ด้วยการหล่อคอนกรีตนั้นต้องทำให้จบในครั้ง<br />

เดียวในแต่ละส่วน ขั้นตอนนี้จึงมีความสำคัญ<br />

ซึ่ง Vaslab เองก็ให้ความสำคัญ และพัฒนา<br />

ร่วมกับผู้รับเหมามาโดยตลอด<br />

ส่วนพื้นที่ภายในนั้น เป็นการผสมผสานระหว่าง<br />

การใช้คอนกรีตเปลือย และไม้จริงที่เจ้ าของบ้าน<br />

สะสมเอาไว้ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่เหมาะสม<br />

กับการใช้งานพื้นที่มากขึ้น โดยพื้นที่ด้านใน<br />

ส่วนกลางจะมีโถงขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มความ<br />

โปร่งให้กับพื้นที่ รวมไปถึงมุมมองจากบาน<br />

กระจกขนาดใหญ่ที่ทำให้สามารถมองเห็นวิว<br />

แบบ Panorama ไปยังลานตากข้าวโพด หรือ<br />

เห็นการเชื่อมต่อของอาคารที่แต่ละแกนโค้ง<br />

เข้าหากัน ช่วยทำให้พื้นที่มีความเชื่อมโยงกับ<br />

บริบทโดยรอบมากขึ้น ทั้งจากภายใน และ<br />

ภายนอก<br />

House in the Dust ถือเป็นอีกโปรเจกต์หนึ่ง<br />

ที่ทั้งผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการ ได้มี<br />

ส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกันอย่างเต็มที่<br />

เมื่อมีความต้องการตรงกันในจุดเริ่มต้นแล้ว<br />

งานออกแบบก็จะสามารถพัฒนา และนำไปสู่<br />

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นได้ ทั้งในแง่ของรูปฟอร์ม<br />

และวัสดุอย่างคอนกรีตเปลือย ที่ Vaslab ได้<br />

ทำให้เห็นอีกครั้งถึงเส้นสายในงานออกแบบที่<br />

โดดเด่นเหมือนที่เราเคยเห็นมาก่อน<br />

03<br />

ส่วนจอดรถเป็นแกน<br />

ด้านสั้นที่สุด<br />

3<br />

02<br />

ส่วนที่อยู่อาศัยจะมี<br />

การเปิดช่องเปิดรับวิว<br />

จากที่ตั้ง<br />

2<br />

04<br />

ด้านที่เปิดรับฝุ่นมี<br />

ลักษณะผนังปิดทึบ<br />

เป็นหลัก<br />

4

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!