11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

theme / review<br />

CONCRETE IN THE WOOD<br />

80 81<br />

ความสำาเร็จทั้งในแง่ความนิยมและคุณค่าทาง<br />

สถาปัตยกรรมของ Yellow Submarine Coffee<br />

Tank ในอำาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา<br />

ทำาให้สืบสาย จิตตเกษม เจ้าของโครงการและ<br />

หนึ่งในสถาปนิกผู้ออกแบบ เริ่มวางแผนออกแบบ<br />

ส่วนต่อเติมในนาม Yellow Mini เพื่อเป็นสถานที่<br />

รองรับจำานวนคนที่มากขึ้น รวมถึงเพื่อสร้างพื้นที่<br />

ที่จะมอบประสบการณ์แปลกใหม่ขึ้น และพร้อมๆ<br />

กันนั้น เขาก็ได้วางแผนอีกโครงการต่อเนื่องที่ตั้ง<br />

อยู่ในพื้นที่ข้างเคียงกันเป็นบ้านพักอาศัยสำ าหรับ<br />

เขาและครอบครัว ความเหมือนจนน่าสังเกตของ<br />

ทั้งสองโครงการ คือรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็น<br />

เหมือนกลุ่มแท่งและกล่องคอนกรีตวางทับซับ-<br />

ซ้อนลดหลั่นไปตามเนินดิน ใต้ร่มเงาไพศาลของ<br />

ผืนไม้ยมหอม แต่เบื้องลึกนั้น คือความต่างในแง่<br />

เทคนิคการก่อสร้าง รวมถึงในแง่แนวความคิด<br />

ทางสถาปัตยกรรม ที่แสดงให้เห็นว่าแม้ทั้งสอง<br />

โครงการจะมีจุดร่วมเดียวกันคือวัสดุคอนกรีต แต่<br />

ปลายทางของสถาปัตยกรรมทั้งสองนั้นแตกต่าง<br />

กันอย่างน่าสนใจ<br />

สถาปนิก JOYS Architects ที่ประกอบด้วยสืบ-<br />

สาย และสมาชิกผู้ก่อตั้งอีกสองท่าน คือ ประเสริฐ<br />

อนันทยานนท์ และ ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน ได้วาง<br />

แนวคิดการออกแบบ Yellow Mini โดยยึดเอา<br />

ลักษณะของเนินดินที่ลาดชันต่อเนื่องออกมาจาก<br />

ตัวอาคารแรกเป็นตัวแปรตั้งต้นของโครงการ<br />

แนวคิดสำาคัญของโครงการคือการใช้องค์ประกอบ<br />

ทางสถาปัตยกรรมขับเน้นลักษณะลาดชันของ<br />

เนินดินให้ชัดเจน เพื่อผลลัพธ์ด้านประสบการณ์<br />

และการรับรู้ที่แปลกใหม่ ต่อยอดเนื้อหาจาก<br />

อาคารเดิมที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ<br />

สำาหรับแนวทางการออกแบบ สถาปนิกได้เริ่ม<br />

จากการกำาหนดตำาแหน่ง ‘หลังคา’ แบนราบ<br />

ขนาดใหญ่ไว้เหนือผืนดินที่ลาดชันดังกล่าวก่อน<br />

โดยมีแนวคิดให้แผ่นหลังคา หรือระนาบแนวนอน<br />

เหนือศีรษะที่ปกคลุมเนินดินนี้เป็นวัตถุบอก<br />

ขอบเขต และกำาหนดลักษณะของที่ว่างเบื้องล่าง<br />

แต่มีเงื่อนไขคือต้องโปร่งโล่งให้มากที่สุดเท่าที่<br />

จะทำาได้ ผลลัพธ์จึงประกอบด้วยแผ่นหลังคา<br />

คอนกรีตแบนราบผืนใหญ่ราว 8x27 เมตร โดย<br />

มีจุดรองรับน้ำาหนักเบื้องล่างเพียง 5 จุดสลับ<br />

ตำาแหน่งกันไปตามเนินดินที่ลดหลั่น สถาปนิก<br />

ยังได้เลือกเจาะเปิดช่องบนแผ่นหลังคาในจุดต่างๆ<br />

เพิ่มเติม โดยเฉพาะจุดที่ตำาแหน่งหลังคาอยู่ใกล้<br />

ระดับดินมาก เพื่อให้ช่องเปิดดังกล่าวเอื้อให้<br />

ผู้คนสามารถเดินทะลุไต่ระดับขึ้นไปใช้งานยัง<br />

เนินดินเบื้องบนได้ โดยรวมแล้ว ทั้งการแผ่ขยาย<br />

กว้างของแผ่นหลังคา จุดรับน้ำาหนักน้อยจุด และ<br />

การคว้านเปิดในหลายตำาแหน่งนั้น ทำาให้การ<br />

ก่อสร้างและความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมเป็น<br />

เรื่องท้าทายอย่างยิ่ง<br />

การตอบคำาถามในเชิงวิศวกรรมนี่เองที่ทำ าให้วัสดุ<br />

คอนกรีตเป็นปัจจัยเด่นในโครงการ เริ่มจากการ<br />

ใช้คอนกรีตกำาลังสูง และเหล็กกำาลังสูง เอื้อให้<br />

โครงสร้างสามารถรับแรงได้ และมีขนาดตามที่<br />

ต้องการ ฐานรากเป็นอีกปัจจัยสำาคัญในการถ่วง<br />

โครงสร้างทั้งหมด โดยไพศาล พ้นภัย วิศวกร<br />

ของโครงการ ออกแบบฐานรากเป็นแบบแผ่น<br />

ขนาดใหญ่พิเศษ และมีรูปร่างไม่ซ้ำ ากันตาม<br />

ความเหมาะสมในแต่ละจุด ฐานรากเหล่านี้ยัง<br />

มีบทบาทเด่นคือเมื่อสถาปนิกเห็นประโยชน์<br />

จากการแผ่ของฐานรากในลักษณะต่างๆ จึงมี<br />

แนวคิดต้องการเปิดหน้าดินแล้วใช้ผิวฐานราก<br />

เป็นพื้นที่นั่งลงไปโดยตรง ในจุดนี้วิศวกรจึงต้อง<br />

เสริมความหนาของขอบฐานรากเบื้องล่างเพื่อ<br />

ป้องกันไม่ให้ดินไหลเพิ่มเติมด้วย ในท้ายที่สุด<br />

ผืนหลังคามหึมาถูกออกแบบให้ช่วงปลายระยะ<br />

ยื่นยาวลดลำาดับความหนาลงเป็นขั้นๆ ที่นำามา<br />

ซึ่งจุดสมดุลของขนาดโครงสร้าง การแอ่นตัว<br />

การมีช่องเปิดโดยไม่พังทลาย และการยื่นยาว<br />

โดยไม่มีโครงสร้างรองรับทั้งหมด หรือในรูปแบบ<br />

ที่ไพศาลอธิบายไว้ว่า เป็นการกำาหนดจาก<br />

‘รูปธรรมชาติของแรง’ คือเป็นรูปทรงที่เกิดจาก<br />

ความจำาเป็นของแรงด้านวิศวกรรม ณ จุดนั้นๆ<br />

โดยแท้จริง<br />

จะเห็นได้ว่า ความโดดเด่นของคอนกรีตใน<br />

Yellow Mini คือความสำาคัญด้านโครงสร้าง และ<br />

การแสดงออกทางความจำาเป็นด้านวิศวกรรม<br />

ที่สถาปนิกก็เลือกที่จะนำ าเสนอคอนกรีตเช่นนั้น<br />

อย่างตรงไปตรงมาไม่ปิดบัง โดยแนวคิดการยก<br />

เทคนิคการก่อสร้างมานำาเสนอเป็นความงามของ<br />

อาคารนั้น ก็ยังเป็นแนวทางเดียวกันกับ Yellow<br />

House ที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกกลุ่มเดียวกัน<br />

ทว่ามีประเด็นต่างกันในหลายกรณีในเบื้องต้น<br />

บ้าน Yellow House แม้จะมีรูปลักษณ์เป็นบ้าน<br />

กล่องคอนกรีตดูทึบตันโดยตลอด จนชวนให้<br />

นึกว่าโครงสร้างอาคารนั้นอาจเป็นระบบผนังรับ<br />

น้ำาหนัก แท้จริงแล้วตัวบ้านนั้นก่อสร้างในระบบ<br />

Skeleton ที่เกิดจากเสาและคานเหมือนโดย<br />

ทั่วไปในประเทศไทย ความทึบตันของอาคาร<br />

เกิดจากแนวความคิดการออกแบบที่สถาปนิกได้<br />

วางแผนผังอาคารเป็นชั้นๆ ออกไปคล้ายไข่ดาว<br />

โดยมีห้องนอนอยู่ใจกลาง แล้วล้อมรอบสี่ด้าน<br />

ด้วยส่วนใช้สอยอื่นๆ อย่างห้องน้ำ า นั่งเล่น ครัว<br />

และห้องทำางาน ซึ่งหัวใจสำาคัญคือทุกๆ ด้านทั้งสี่<br />

จะมีคอร์ทประจำาด้าน ไว้เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อม<br />

ภายนอก และรับแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน<br />

อาคารด้วย<br />

บทบาทของคอนกรีตในบ้านหลังนี้ชัดเจนที่สุด<br />

คือบนผนังทุกส่วนที่เหมือนกันตลอดรอบบ้าน<br />

โดยเกิดขึ้นตามแนวความคิดหลักคือ การสร้าง<br />

ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงระหว่างความเป็น<br />

ภายในและภายนอกผ่านการใช้วัสดุกรุผนังที่<br />

เหมือนกัน โดยแม้คอนกรีตจะไม่ใช่ตัวเลือกแรก<br />

ของสถาปนิกทั้งสาม แต่ท้ายที่สุด พวกเขาได้<br />

สรุปที่เทคนิคการสร้างพื้นผิวบนผนังก่ออิฐฉาบ<br />

ปูนธรรมดาด้วยการตั้งไม้แบบ และเทคอนกรีต<br />

ประกบตลอดผนังให้เหมือนกันทุกผนังทั้งภาย-<br />

นอกและภายในบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นบ้าน<br />

ที่ประกอบด้วยผนังหนา และขึ้นรูปของวัสดุ<br />

คอนกรีตเป็นชั้นๆ อย่างชัดเจนโดยไม่ปิดบัง<br />

ความไม่ปิดบังเทคนิคการก่อสร้างดังที่ว่านี้<br />

สถาปนิกได้กล่าวเสริมว่า ยังรวมถึงการไม่ปิดบัง<br />

ว่าบ้านทั้งหลังเป็นบ้านที่เกิดจากระบบเสา-คาน<br />

ไม่ใช่ระบบผนังรับน้ำ าหนัก อันจะเห็นได้จาก<br />

การจงใจแสดงความไม่สมบูรณ์แบบของการเท<br />

คอนกรีตปิดผิว ไม่ว่าจะเป็นบรรดารูพรุน รวม<br />

ถึงเศษหินที่กองและทะลุปูนออกมาแทนที่จะถูก<br />

กลบให้มิด เป็นความไม่สมบูรณ์ที่คงไม่อาจ<br />

อนุญาตให้เกิดได้หากเป็นบ้านแบบผนังรับน้ำ าหนัก<br />

ที่ย่อมจะสื่อถึงความไม่แข็งแรง หรือความไม่ได้<br />

มาตรฐานด้านวิศวกรรม<br />

จากแง่มุมนี้ จึงจะเห็นว่าบ้าน Yellow House<br />

มีจุดเด่นเรื่องการใช้วัสดุคอนกรีตที่การเป็น<br />

องค์ประกอบตกแต่ง ทว่าก็เป็นการตกแต่งที่<br />

ต้องการบอกใบ้ หรือสื่อนัยถึงระบบการก่อสร้าง<br />

ที่แท้จริงของบ้าน ในท้ายที่สุดแล้ว โดยทั้งจุด<br />

ร่วมและจุดต่างของทั้งโครงการ Yellow Mini<br />

และบ้านพักอาศัยที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันนี้ เป็น<br />

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการตีความ<br />

สถาปัตยกรรมผ่านวัสดุเดียวกัน คือ คอนกรีต<br />

ไว้อย่างน่าสนใจ<br />

03<br />

การจัดพื้นที่นั่งจากการ<br />

ปรับแต่งพื้นดินที่ต่อเนื่อง<br />

ออกมาจากตำาแหน่งของ<br />

ฐานราก<br />

04<br />

รูปตัดของอาคารเเสดง<br />

การเชื่อมต่อของพื้นที่<br />

ในทางนอน<br />

05<br />

โครงสร้างรองรับหลังคา<br />

ที่ลดเป็นขั้นๆ ออกแบบ<br />

ให้เป็นรูปทรงบันได เพื่อ<br />

ล้อไปกับการไล่ความสูง<br />

ขึ้นของระดับดิน<br />

4<br />

3<br />

5

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!