11.05.2023 Views

ASA JOURNAL 11/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

140<br />

Revisit<br />

THE BANGKOK SCHOOL FOR THE BLIND<br />

141<br />

ชิ้นส่วนจากโรงงานมายังสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นอีกปัจจัย<br />

ที่ส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างจริงเพิ่มขึ้น ดังการสัมภาษณ์<br />

ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์<br />

2566 ที่กล่าวว่า “เผลอๆ จะแพงกว่าการก่อสร้างทั่วไป<br />

ด้วย” ฉะนั้นเมื่อถามว่าการที่ระบบโครงสร้างสำาเร็จรูปที่<br />

โรงเรียนสอนคนตาบอดซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยลดต้นทุน<br />

ค่าก่อสร้างลง เพราะค่าแรงสมัยนั้นยังถูก และการใช้<br />

เทคโนโลยีการผลิตมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง งานชิ้นนี้จะถือ<br />

เป็นการ make a statement ได้หรือไม่ ดร. สุเมธ จึงตอบ<br />

ว่า “ใช่ๆ มันก็เหมือนกับตึกหุ่นยนต์ […] จบมาจากเมืองนอก<br />

ใหม่ๆ อยากจะทำาอะไรที่เป็นเรื่องใหม่สำาหรับประเทศชาติ<br />

แล้วระบบ prefab ยังไม่ค่อยรู้จักกัน”<br />

เหตุผลเรื่องการแสดงถ้อยแถลงทางสถาปัตยกรรมที่ดูมี<br />

น้ำาหนักมากกว่าจะเป็นการลดต้นทุนค่าก่อสร้างนี้ ทำาให้<br />

ระบบโครงสร้างคอนกรีตสำาเร็จรูปที่โรงเรียนสอนตาบอด<br />

นั้นแตกต่างอย่างมีนัยยะสำาคัญจากประเทศต้นกำาเนิด<br />

โดยเฉพาะผลกระทบที่ระบบนี้มีต่อสถานะของผู้สร้างสรรค์<br />

อย่างสถาปนิก<br />

เอเดียน โฟตี้ (Adrian Forty) นักประวัติศาสตร์สถาปัตย-<br />

กรรมชาวอังกฤษ กล่าวว่า เมื่อระบบชิ้นส่วนคอนกรีต<br />

สำาเร็จรูปได้รับการเผยแพร่ในประเทศแถบยุโรปเป็นครั้งแรก<br />

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 สถาปนิกต้อนรับการเข้ามาของ<br />

ระบบการก่อสร้างชนิดใหม่นี้เป็นอย่างดี เพราะเปิดโอกาส<br />

ให้พวกเขาสามารถพัฒนาการออกแบบชิ้นส่วนต้นแบบที่<br />

นำาไปผลิตในสเกลระดับอุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ตามเมื่อ<br />

ระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำาเร็จรูปได้รับการผลิตขึ้นใช้อย่าง<br />

กว้างขวางแล้ว บทบาทของสถาปนิกกลับลดลงเหลือบทบาท<br />

เพียง ‘ช่างเทคนิค’ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบการ<br />

เรียงตัวของชิ้นส่วนสำาเร็จรูปลงบนไซต์ก่อสร้าง เพื่อใช้<br />

ประโยชน์จากองค์ประกอบชิ้นส่วนสำาเร็จรูปให้ได้มากที่สุด<br />

เท่านั้น (Forty 2012, 248-249.)<br />

ดังนั้นในขณะที่ระบบชิ้นส่วนสำ าเร็จรูปกลายเป็น ‘ภัยคุกคาม’<br />

ต่อบทบาททางการออกแบบของสถาปนิกในยุโรปตั้งแต่<br />

กลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา บทบาทของ<br />

สถาปนิกสมัยใหม่อย่าง ดร. สุเมธ กลับโดดเด่นเป็นที่รู้จัก<br />

ขึ้นจากการนำาเอาระบบโครงสร้างคอนกรีตสำาเร็จรูปมา<br />

ใช้ในประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่า ณ ขณะนั้น<br />

ระบบโครงสร้างคอนกรีตสำาเร็จรูปจะยังไม่เป็นที่ยอมรับ<br />

ในประเทศไทย เนื่องจากผู้คนโดยส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นใน<br />

ความเชื่อว่าเป็นระบบก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง<br />

concrete elements from a factory to a building<br />

site, which ended up raising the actual construction<br />

cost even more. In a recent interview he gave<br />

in February <strong>2023</strong>, Dr. Sumet Jumsai na Ayutthaya<br />

remarked, “It may be even more expensive than<br />

a typical construction process.” So, in the case<br />

of the Bangkok School for the Blind, when the<br />

employed construction method did not appear to<br />

contribute significantly to cost reduction due to<br />

low wages and the fact that the manufacturing<br />

technology for prefabricated concrete was expensive,<br />

could the work be regarded as his attempt<br />

to “make a statement’? Sure, Dr. Sumet replied.<br />

“It was like the Robot building [...]. I had recently<br />

graduated from abroad and was highly driven to<br />

create something fresh and pioneering for the<br />

country, and the prefab method wasn’t that well<br />

known at the time.”<br />

If the underlying reason was to make an architectural<br />

statement rather than an attempt to reduce<br />

construction costs, the prefabricated concrete<br />

structure of the Bangkok School for the Blind<br />

differs significantly from those built in Western<br />

countries, particularly in terms of how such a<br />

structural system influenced the architect’s status<br />

as a creator.<br />

Adrian Forty, a British architectural historian, stated<br />

that when prefabricated concrete was invented for<br />

the first time in Europe in the 1950s, architects<br />

embraced the new construction system because it<br />

allowed them to develop prototypes that would be<br />

used in large-scale industrial productions. But, as<br />

the new construction system gained popularity, the<br />

architect’s role was reduced to that of a ‘technician,’<br />

whose main responsibility was to determine how<br />

concrete parts could be arranged and assembled<br />

on site in order for all prefabricated elements to<br />

deliver maximum functional benefits. (Forty 2012,<br />

248-249)<br />

While during the late 1960s, prefabricated concrete<br />

systems posed a challenge to the creative<br />

role of architects in Europe, Dr. Sumet’s role and<br />

stature as a modernist architect in Thailand was<br />

evolving as a result of his implementation of the<br />

technology. It should be emphasized that, at the<br />

time, prefabricated concrete structures were still<br />

not well received in Thailand because the majority<br />

of people believed it was a lower-quality and<br />

weaker construction method.<br />

9<br />

8<br />

Photo Reference<br />

7-9. mplus.org.hk/en/collection/makers/sumet-jumsai<br />

7<br />

07<br />

ระบบโครงสร้างสำาเร็จรูป<br />

ประกอบด้วยชิ้นส่วนคาน<br />

หลักและคานซอยแบบเข็ม<br />

I-Section, แผ่นพื้นที่มี<br />

น้ำาหนักเบาพอที่คน 2 คน<br />

จะยกได้ และเสา<br />

เครดิตภาพ:<br />

Sumet Jumsai<br />

08<br />

เบ้าคอนกรีตตัวเมีย<br />

รูปแปดเหลี่ยม สำาหรับ<br />

ติดตั้งโคนเสา<br />

เครดิตภาพ:<br />

Sumet Jumsai<br />

09<br />

ขณะล็อคโคนเสาเบ้าตัวเมีย<br />

เครดิตภาพ:<br />

Sumet Jumsai

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!