07.06.2018 Views

WE Smile Magazine October 2015

The In-Flight Magazine of Thai Smile Airways

The In-Flight Magazine of Thai Smile Airways

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผู้ปวยด้วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกนั้น มีโอกาสที่จะหายเกิน 90%<br />

ในขณะที่ระยะท้ายๆ หากรักษาด้วยการประคับประคองอาการ และผู้ปวยมี<br />

ร่างกายแข็งแรง กำาลังใจดี ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้ แต่ต้องเฝ้า<br />

ระวังโรคมะเร็งอย่างใกล้ชิดกว่าคนปกติ ดังนั้น สิ่งที่สำาคัญที่สุดในการเป็นผู้ปวย<br />

มะเร็งก็คือ การเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการดูแลรักษาร่างกายตนเอง<br />

อย่างใกล้ชิด เพื่อให้โรคมะเร็งไม่สามารถเข้าควบคุมร่างกายได้<br />

ในระหว่างรับการรักษา ซึ่งกินเวลาตั้งแต่แปดเดือน ไปจนถึงหลายป ตามระยะ<br />

อาการ และความรุนแรงของโรค สิ่งหนึ่งที่คนไข้พึงระวังให้มากคือ การปฏิบัติตัว<br />

ตามคำาสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ โดย<br />

เฉพาะหมู่โปรตีนในระหว่างการให้ยาเคมีบำาบัด เพื่อให้โปรตีนเร่งซ่อมแซมร่างกาย<br />

ส่วนที่สึกหรอและโดนทำาลายจากยาเคมี รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เน้น<br />

ความสะอาด งดของหมักดองและของดิบ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และถ้า<br />

สามารถออกกำาลังกายได้ ให้ออกกำาลังกายเบาๆ ห้ามหักโหม และที่สำาคัญ ต้อง<br />

เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ห้ามเว้นระยะการรักษาโดยพลการ เพราะการรักษา<br />

มะเร็งเป็นการรักษาแบบต่อเนื ่อง ต้องอาศัยวินัยของผู ้เป็นมะเร็งเป็นอย่างมาก<br />

หากได้รับการรักษาไม่ต่อเนื ่อง หรือประวิงเวลาจนกระทั ่งมะเร็งลุกลามไปทั ่ว<br />

ร่างกายแล้ว จะทำาให้การรักษายากขึ้นตามลำาดับระยะเวลาของโรค<br />

ผลข้างเคียงในระหว่างการรักษามะเร็งนั้น เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่ว<br />

ระยะที่รับการรักษาเท่านั้น เมื่อการรักษาเสร็จสิ้นลง ผู้ปวยจะค่อยๆ ฟื้นฟูสภาพ<br />

ร่างกายกลับไปเช่นเดิม ทั้งอาการผมร่วง ริมฝปากแห้ง เป็นแผลในปากเรื้อรัง<br />

ปวดข้อ ปวดกระดูก คลื่นไส้ ผะอืดผะอม ต่อมรับรสและกลิ่นผิดเพี้ยน อาจจะ<br />

ทำาให้ไวต่อรสชาติอาหารและกลิ่นมากขึ้น รวมไปถึงอาการอ่อนเพลีย และสมอง<br />

ประมวลผลได้ไม่ฉับไวเช่นเคย สิ่งที่สำาคัญอีกประการก็คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ปวยที่จะต้อง<br />

ดูแลผู้ปวยต้องเข้าใจในจุดนี้ และประคับประคองทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของ<br />

ผู้ปวยให้แข็งแรงไว้ เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปในทิศทางดีที่สุด หากผู้ปวยร่างกาย<br />

อ่อนแอจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม และพักผ่อนไม่เพียงพอ การรักษา<br />

ก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร และอาจจะส่งผลด้านลบต่อร่างกายของคนไข้ได้ในที่สุด<br />

แม้ในระหว่างการรักษา ผู้ปวยด้วยโรคมะเร็งจะดูอ่อนแอ และได้รับผลข้าง-<br />

เคียงเป็นอย่างมาก แต่หลังการรักษากว่า 90% ของผู้ปวยด้วยโรคมะเร็งเต้านม<br />

ระยะเริ่มแรกจะหายขาดจากโรค และเกือบจะไม่กลับมาเป็นซ้ำาอีก ดังนั้น<br />

ในฐานะผู้ปวยมะเร็งเต้านม คุณควรรู้เท่าทันการรักษาโรคนี้ และปฏิบัติตัวตาม<br />

กฎการรักษาอย่างเคร่งครัด และมะเร็งเต้านมก็จะไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอีกต่อไป<br />

Breast cancer, if discovered in the early stages has a 90%<br />

chance of being treated. If discovered in a later stage, the<br />

patient can lead a normal life while monitoring the cancer<br />

closely in case it relapses. The most important thing for the<br />

patient is to continuously follow the doctor’s orders and to<br />

stay strong both physically and mentally.<br />

The process takes eight months to several years<br />

according to the cancer’s stage and aggressiveness. The<br />

patient must strictly follow the doctor’s treatment plan.<br />

Their diet should be rich and suffi cient during chemotherapy<br />

so that the body is able to heal itself. It’s advisable to have<br />

freshly made, clean meals. Fermented and raw foods are<br />

prohibited during chemotherapy due to possible bacteria<br />

content. Suffi cient sleep and light exercise will also be<br />

benefi cial. Stopping the treatment abruptly is not<br />

recommended because cancer needs consecutive<br />

treatment. Just as in war, discipline is necessary for victory.<br />

The side effects are only temporary. After the treatments,<br />

the patient will regain strength. Side effects such as balding,<br />

dried lips, bone aches, vomiting, and fatigue should all<br />

begin to dissipate. Also, someone close to the patient must<br />

understand these points. You have to encourage the patient<br />

to stay focused in order to combat the cancer. If the patient<br />

is too weak from not enough nutrition or lack of sleep,<br />

treatments will be less effective.<br />

During this time, cancer patients may look malnourished<br />

and tired. As a patient, you need patience to follow the<br />

course and to stay focused on the treatment. The good<br />

news is that today, breast cancer sufferers have a 90%<br />

chance of survival without the cancer returning. With more<br />

understanding and awareness, we can help to raise that<br />

percentage higher.<br />

PINK RIBBON<br />

Pink Ribbon ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สากลในการรณรงค์<br />

เรื่องมะเร็งเต้านมมาตั้งแต่ป 1991 โดย Susan G. Komen<br />

Foundation ที่แจกจ่ายริบบิ้นรูปแบบดังกล่าวให้กับหญิงสาว<br />

ที่หายปวยจากโรคมะเร็งเต้านม เชื่อกันว่ารูปแบบริบบิ้นถูกนำา<br />

มาจากแคมเปญ Red Ribbon ของผู้ปวยด้วยโรคเอชไอวี<br />

และใช้สัญลักษณ์สีชมพูเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้หญิง และ<br />

ความอ่อนโยนของเพศแม่ที่จะส่งความห่วงใยให้แก่กันและกัน<br />

องคกรเกี่ยวกับมะเร็งเตานมในประเทศไทย<br />

มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ<br />

โทร. 0-2256-4774 (www.qscbcfoundation.org)<br />

สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย<br />

โทร. 08-5243-3500 (www.thaibreast.org)<br />

สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย<br />

โทร. 0-2318-7560 (www.thastro.org)<br />

Since 1991, the Pink Ribbon was used as the<br />

international symbol for breast cancer awareness. The<br />

Susan G. Komen Foundation distributed these ribbons to<br />

cancer survivors for the fi rst time that year. It is believed<br />

that the ribbon was derived from the Red Ribbon<br />

Campaign for HIV infected patients and a change in<br />

colour represented the courage of women.<br />

Breast Cancer Organisations in Thailand<br />

Queen Sirikit Centre for Breast Cancer Foundation<br />

Tel: 0-2256-4774 (qscbcfoundation.org)<br />

Thai Breast Disease Society<br />

Tel: 08-5243-3500 (thaibreast.org)<br />

Thai Society of Therapeutic Radiology and Oncology<br />

Tel: 0-2318-7560 (thastro.org)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!