16.02.2024 Views

ASA Journal 15/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

54<br />

theme / review<br />

ชุมชนตลาดท่าฉลอม หรือตลาดท่าจีน ภายใต้<br />

การดูแลของเทศบาลนครสมุทรสาครในปัจจุบัน<br />

เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นมาจากการเป็นท่าเรือประมง<br />

ที่มีชุมชนชาวจีนและชาวไทยตั้งถิ่นฐานมาอย่าง<br />

ยาวนาน เมื่อท่าฉลอมมีสัดส่วนของประชากรแฝง<br />

แรงงานต่างชาติมากขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม<br />

การประมงที่ขยายตัว สัดส่วนของประชากรใน<br />

ชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้โครงสร้างของชุมชน<br />

มีสัดส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุสูงขึ้น เพราะกลุ่มวัย<br />

แรงงานชาวไทยอยู่ในพื้นที่อื่น และชุมชนเองขาด<br />

พื้นที่สาธารณะที่รองรับความต้องการพื้นฐานของ<br />

คนในชุมชนทุกช่วงวัย และทุกกลุ่ม ภายหลังจาก<br />

การระดมความคิดเห็นจากคนในชุมชน พบว่ามี<br />

ความต้องการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุด<br />

พื้นที่ออกกำลังกาย จุดต้อนรับนักท่องเที่ยว พื้นที่<br />

ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และต้องสะท้อนอัตลักษณ์<br />

ความเป็นท่าฉลอมไปในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึง<br />

นำมาสู่โครงการห้องสมุดเก๋งเรือลอยฟ้าท่าฉลอม<br />

จากความต้องการพื้นที่สาธารณะของชุมชน<br />

“เราเริ่มต้นจากการรับฟังความคิดเห็นจากการ<br />

สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อหา<br />

ความต้องการพื้นฐานจากผู้ใช้ในชุมชน ไปพร้อม<br />

กับการพูดคุยกับภาคีเครือข่าย โดยได้ความ<br />

อนุเคราะห์จากเทศบาลนครสมุทรสาครในการ<br />

อำนวยความสะดวกด้านพื้นที่ตั้ง บุคลากร และ<br />

งบประมาณส่วนใหญ่ในการดำเนินงานโครงการ<br />

ครั้งนี้” คุณอิสริยา ปุณโณปถัมภ์ สถาปนิกชุมชน<br />

จากสถาบันอาศรมศิลป์กล่าวถึงขั้นตอนการทำงาน<br />

ที่ตั้งโครงการบนพื้นที่ขนาด 2 ไร่ 2 งาน ของ<br />

ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งมีหอเก็บน้ำเดิมที่เคย<br />

ถูกใช้หล่อเลี้ยงชุมชนตั้งอยู่ โดยในอดีตโครงสร้ าง<br />

ดังกล่าวเป็นหอเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค<br />

เดิมของเทศบาล และถูกทิ้งร้างมากว่า 35 ปี<br />

ด้วยความหวังว่าจะให้โครงการดังกล่าวเป็นพื้นที่<br />

สาธารณะของชุมชน ผ่านการออกแบบให้เป็น<br />

ห้องสมุดสาธารณะ เนื่องด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดิน<br />

ของชุมชนท่าฉลอมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม<br />

ท่าเรือ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการประมง<br />

พื้นที่สาธารณะในเมืองมีอยู่อย่างจำกัด และความ<br />

มุ่งหมายอีกประการของโครงการคือการสร้าง<br />

พื้นที่สำหรับรองรับต่อการเกิดกิจกรรมใหม่ ๆ ของ<br />

ชุมชน เช่น กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน ที่ชุมชน<br />

ท่าฉลอมกำลังดำเนินนโยบายพัฒนาชุมชนจาก<br />

รากฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางสภาวะวิกฤติ<br />

จากอุตสาหกรรมประมงเดิมที่กำลังซบเซา<br />

ในแง่ของรูปแบบสถาปัตยกรรม ด้วยความ<br />

ต้องการของชุมชนให้อาคารสะท้อนถึงตัวตน<br />

ความเป็นท่าฉลอม ชาวบ้านจึงลงความเห็นกัน<br />

ว่าอัตลักษณ์เด่นของท่าฉลอม คือเรือประมง เรือ<br />

เป็นหัวใจสำคัญของท่าฉลอม ทีมนักออกแบบ<br />

จึงออกแบบคลี่คลายรูปทรงของเก๋งเรือให้เกาะ<br />

อยู่ในโครงสร้างเดิมของหอเก็บน้ำ โดยคำนึงถึง<br />

รูปทรงของช่องเปิด ขนาด และสัดส่วนของเก๋ง<br />

เรือจริง<br />

ด้านโครงสร้างของหอเก็บน้ำ ทีมผู้ออกแบบได้<br />

ค้นหาแบบก่อสร้างของหอเก็บน้ำเดิม แต่ไม่<br />

สามารถค้นหาพบเนื่องจากสถาปัตยกรรมก่อสร้าง<br />

มานานแล้ว ดังนั้นจึงต้องตรวจประเมินสภาพ<br />

อาคาร โดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมวิศวกร<br />

โยธาของทางเทศบาลนครสมุทรสาครในการช่วย<br />

ประเมิน นำมาซึ่งการออกแบบโครงสร้างเหล็ก<br />

ติดตั้งเข้าไปกับส่วนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />

เดิม ซึ่งโครงสร้างเดิมถูกออกแบบไว้สำหรับรับ<br />

น้ำหนักของน้ำปริมาณมาก การเสริมโครงสร้าง<br />

เหล็กเข้าไปในโครงสร้างเก่าจึงไม่เป็นปัญหา<br />

ต่อการคำนวณการรับแรงของการใช้สอยตาม<br />

รูปแบบโครงสร้างใหม่แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้<br />

ทีมผู้ออกแบบ และทีมวิศวกร จึงลงความเห็น<br />

ร่วมกันในการพัฒนาโครงสร้างเหล็กขึ้นในส่วน<br />

ของปริมาตรที่ว่างของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม<br />

ของหอเก็บน้ำ<br />

ในส่วนของงานออกแบบภูมิทัศน์ทีมผู้ออกแบบได้<br />

วางผังบริเวณ “ลานบ้านท่าฉลอม” อันประกอบ<br />

ด้วยพื้นที่หลายส่วน คือ ลานกีฬาไทย ลานโพงพาง<br />

ลานเดินกะลา ลานโป๊ะยก เหยียด ลานทำการบ้าน<br />

ลานไต้ก๋งน้อย (สนามเด็กเล่น) บ่อทราย ซึ่ง<br />

เป็นพื้นที่ลานกิจกรรมที่ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่<br />

รองรับกิจกรรมในแต่ละฐาน ส่วนลานกิจกรรม<br />

กลางแจ้ง และสนามเด็กเล่น เป็นพื้นที่ออกกำลัง<br />

กายกลางแจ้งที่ทีมออกแบบได้ออกแบบภูมิทัศน์<br />

และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวของเครื่องเล่นเอาไว้วาง<br />

บนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของโครงสร้าง<br />

ถังเก็บน้ำใต้ดินเดิม เรียกว่ า “สนามเด็กเล่นไต้ก๋ง<br />

น้อย” พื้นที่ดังกล่าวเป็นลานกิจกรรมกลางแจ้งที่<br />

ชุมชนต้องการให้เป็นพื้นที่ออกกำลังกาย ลู่วิ่ง<br />

รอบพื้นที่ของโครงการ ส่วนสนามกีฬากลางแจ้งนี้<br />

เชื่อมต่อกับส่วนม้านั่งไม้โค้งชั้นล่างสุดของหอ<br />

เก็บน้ำ ในพื้นที่ส่วนนี้ผู้ออกแบบได้กำหนดให้เป็น<br />

พื้นที่ใต้ถุนของห้องสมุดสำหรับนั่งพักผ่อน พูดคุย<br />

ระหว่างวัน<br />

บันไดพื้นที่ชั้น 2 เป็นพื้นที่ส่วนการเรียนรู้<br />

อเนกประสงค์สำหรับเด็ก ถูกออกแบบให้เป็น<br />

บันไดเวียนขึ้นไปที่ชั้น 3 ซึ่งเป็นส่วนพื้นที่นั่งอ่ าน<br />

หนังสือ ห้องสมุด ทำการบ้าน ก่อนที่จะขึ้นบันได<br />

ไปสู่จุดชมวิวด้านบนสุดของโครงการ ที่จะมอง<br />

เห็นทัศนียภาพของชุมชนท่าฉลอมจากพื้นที่ของ<br />

หอเก็บน้ำเดิม มุมมองดังกล่าวเปิดให้เห็นคุ้งน้ำ<br />

ท่าเรือประมง พื้นที่พักอาศัยเกือบทั้งหมดของ<br />

ท่าฉลอม ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบโครงการปรับปรุง<br />

พื้นที่สร้างจุดชมวิวที่น่าสนใจ โดยไม่จำเป็นต้อง<br />

สร้างอาคารหอชมทัศนียภาพใหม่แต่อย่างใด<br />

ในส่วนของการออกแบบภายในนักออกแบบได้<br />

ออกแบบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรือ ไม่ว่า<br />

จะเป็น เชือกเรือ เสากระโดงเรือ พังงาเรือจำลอง<br />

อุปกรณ์บนเรือ เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการ<br />

เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเรือให้กับเด็ก ๆ<br />

นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่มาเยี่ยมชม<br />

จากมุมมองของการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

เพื่อความยั่งยืน โครงการห้องสมุดสาธารณะ<br />

ชุมชนท่าฉลอมนี้ เป็นหนึ่งในรูปแบบการพัฒนา<br />

พื้นที่บราวน์ฟิลด์ (Brownfield development)<br />

ซึ่งเป็นการปรับปรุงสถาปัตยกรรม เพื่อการ<br />

ใช้งานอุตสาหกรรม หรือเพื่อตอบสนองต่อ<br />

วัตถุประสงค์ของเงื่อนไขทางสังคมในบริบท<br />

แบบหนึ่ง เมื่อเงื่อนไขและบริบททางสังคม<br />

เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้สถาปัตยกรรมเดิมถูก<br />

ทิ้งร้าง การฟื้นฟูสถาปัตยกรรมเก่า ตลอดจน<br />

การออกแบบภูมิทัศน์เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไข<br />

ทางสังคมแบบใหม่นี้ จึงน่าจะเป็นแนวโน้มใน<br />

อนาคตของการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน<br />

ด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเดิม<br />

ที่มีศักยภาพ มาพัฒนาใหม่เป็นสถาปัตยกรรม<br />

เพื่อสาธารณะ<br />

“การนำเอาโครงสร้างของหอเก็บน้ำเก่ามาใช้<br />

ปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอยใหม่<br />

เป็นโครงการที่ให้ผลลัพธ์ได้น่าสนใจ เพราะเรา<br />

ได้พลิกฟื้นสิ่งปลูกสร้างเก่าให้กลับมามีชีวิต<br />

ที่ตอบสนองวิถีชีวิตในปัจจุบัน และสร้ างแรง-<br />

บันดาลใจให้เกิดกับผู้ใช้อาคารได้อย่างสร้างสรรค์”<br />

อิสริยา ปุณโณปถัมภ์ กล่าวเสริมท้ายถึงการ<br />

ถอดบทเรียนที่ได้จากการออกแบบปรับปรุง<br />

พื้นที่โครงการห้องสมุดเก๋งเรือลอยฟ้าท่าฉลอม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!