16.02.2024 Views

ASA Journal 15/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ONE FOR ALL, ALL FOR ONE<br />

81<br />

02<br />

รูปด้านอาคารแสดง<br />

ส่วนพื้นที่สีเขียวภายใน<br />

บริเวณอาคารสภาวิศวกร<br />

2<br />

อาคาร โดยใช้หลักการออกแบบอย่างยั่งยืน<br />

เช่น การเลือกใช้ไม้ยืนต้นกับไม้พุ่ม มาเป็นองค์-<br />

ประกอบหลัก แทนที่จะเลือกปลูกหญ้าให้เป็น<br />

พื้นที่สีเขียว เนื่องจากไม้ยืนต้นกับไม้พุ ่มมีอัตรา<br />

การบริโภคทรัพยากรน้ำาที่น้อยกว่า และสามารถ<br />

ดูแลรักษาจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

และยั่งยืนมากกว่าการปลูกหญ้า ซึ่งทางสถาปนิก<br />

ยังได้ออกแบบระบบสุขาภิบาลให้มีการนำาน้ำาเสีย<br />

จากการอุปโภคบริโภค เข้ามาใช้ในการรดน้ำา<br />

ต้นไม้ในพื้นที่ส่วนนี้อีกด้วย ช่วยสร้างการ<br />

หมุนเวียนทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเป็นระบบ<br />

หากมองเลยเหนือพื้นที่สีเขียวขึ้นไป จะสามารถ<br />

มองเห็นรูปทรงของอาคารสภาวิศวกรที่ผิว<br />

ภายนอกมีลักษณะโปร่ง ไม่ทึบ และหุ้มตัว<br />

อาคารในส่วนชั้นบนแบบเต็มพื้นที่ ซึ่งพื้นผิว<br />

อาคารส่วนนี้ทำาหน้าที่ปิดล้อมส่วน High Zone<br />

ของอาคารสภาวิศวกรเอาไว้ ทางผู้ออกแบบได้<br />

เลือกใช้วัสดุปิดผิวภายนอกเป็นแผ่นอลูมิเนียม<br />

เจาะรู และกั้นด้วยผนังกระจกใสตัดแสงด้านใน<br />

อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการออกแบบระบบนี้คือ Doubleskin<br />

façade เพื่อช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัว<br />

อาคาร แผ่นอลูมิเนียมเจาะรูทำาหน้าที่ทั้งป้องกัน<br />

แสง และความร้อนที่เข้าสู่อาคาร ทั้งยังสามารถ<br />

ช่วยระบายอากาศได้พร้อม ๆ กัน ทำาให้อาคาร<br />

สามารถหายใจได้ และให้แสงธรรมชาติสามารถ<br />

ผ่านเข้ามายังภายในอาคารได้อีกด้วย ระบบ<br />

Double-skin façade ยังช่วยลดภาระการทำางาน<br />

ของทั้งระบบแสงสว่างภายในอาคาร และระบบ<br />

ปรับอากาศ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งาน และการ<br />

ซ่อมบำารุงให้ลดน้อยลง<br />

เนื่องด้วย façade ของอาคารสภาวิศวกร ที่<br />

สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากพื้นที่โดยรอบ<br />

ผู้ออกแบบจึงต้องการสร้างปฎิสัมพันธ์เพิ่มเติม<br />

กับชุมชน นอกเหนือจากเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้<br />

กับชุมชนแล้วนั้น คือการใช้พื้นที่ façade ทาง<br />

ด้านหน้าโดยการติดตั้งจอ LED รูปแบบโปร่ง<br />

ขนาด 8 x 8 เมตร เพื่อแสดงข้อมูลต่าง ๆ แบบ<br />

Real-Time ให้เป็นแหล่งข้อมูลแก่ชุมชนโดยรอบ<br />

หรือผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เช่น การรายงานสภาพ-<br />

อากาศประจำาวัน ทั้งอุณหภูมิ ฝนตก แดดออก<br />

การรายงานค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เสมือนเป็นข้อมูล<br />

ในชีวิตประจำาวันที่ทุกคนตระหนักถึง รวมทั้ง<br />

สามารถแจ้งข้อมูลเตือนภัยฉุกเฉินเพื่อตอบรับ<br />

กับยุคสมัย และแสดงผลของข้อมูลเพื่อใช้ใน<br />

การประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน<br />

อนาคตได้อีกทางหนึ่ง ฉะนั้นการเลือกใช้วัสดุ<br />

อาคารจึงต้องสอดรับกับแนวคิดความยั่งยืน<br />

ทั้งทางสังคม และการใช้งานเป็นสำาคัญ โดย<br />

ผสมผสานกับเทคโนโลยี และวัสดุใหม่ ๆ<br />

ควบคู่กันไป<br />

สถาปนิกยังเลือกใช้วัสดุอาคารที่ผลิตในประเทศ<br />

เป็นส่วนใหญ่ เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก<br />

การนำาเข้าวัสดุจากต่างประเทศ และมีการใช้<br />

วัสดุเช่น ผ้าทอต่าง ๆ ที่ใช้เส้นใยจากกระบวนการ<br />

รีไซเคิล สำาหรับงานตกแต่งภายใน และเฟอร์นิ-<br />

เจอร์อีกด้วย ส่วนงานภูมิสถาปัตยกรรมได้มี<br />

การนำาวัสดุ เช่น คอนกรีตซึมน้ำา ซึ่งเป็นนวัตกรรม<br />

ใหม่เข้ามาใช้ในโครงการนี้ด้วยเช่นกัน<br />

ในหลักการออกแบบอย่างยั่งยืน เมื่อพิจารณา<br />

จากอาคารสภาวิศวกรนั้น ประกอบไปด้วยมิติที่<br />

หลากหลาย นอกเหนือจากทางสถาปัตยกรรม<br />

และวิศวกรรม ยังมีมิติทางสังคม ชุมชน ระบบ<br />

ผังเมือง และจิตวิทยา และหากตรวจสอบจาก<br />

เกณฑ์ของการประเมินอาคารเขียว ก็จะพบว่า<br />

ทีมออกแบบให้ความสำาคัญกับข้อกำาหนดในการ<br />

พิจารณาหลายประเด็น เช่น การใช้ทรัพยากรน้ำา<br />

อย่างคุ้มค่า การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การเลือก<br />

ใช้วัสดุและอุปกรณ์ให้เหมาะสม การลดการใช้<br />

พลังงาน การคำานึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ<br />

และความเป็นนวัตกรรมอาคาร แต่ก็ยังเป็นข้อ<br />

กำาหนดที่ถูกสร้าง หรือมีกรอบคิดมาจากบริบท<br />

แวดล้อมที่ต่างกัน การนำามาปรับใช้ และต่อยอด<br />

แนวคิด จึงเป็นส่วนสำาคัญต่อกระบวนการของ<br />

การออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป<br />

ในอนาคต<br />

เมื่อโลกเริ่มตอบสนองและเปลี่ยนแปลงอย่าง<br />

รวดเร็ว และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ดังเช่นเหตุการณ์<br />

แพร่ระบาดของโรค COVID-19 การเปลี่ยน-<br />

แปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน หรือ<br />

การพัฒนาระบบ Artificial Intelligence อย่าง<br />

ก้าวกระโดด ส่งผลให้กระบวนการออกแบบทั้ง<br />

ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมต้องปรับตัว<br />

กันขนานใหญ่ การออกแบบและก่อสร้างของ<br />

อาคารสภาวิศวกรหลังนี้ ก็อยู่คาบเกี่ยวระหว่าง<br />

ช่วงที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน<br />

ความร่วมมือจากทุกองคาพยพจึงเป็นสิ่งจำาเป็น<br />

การออกแบบสถาปัตยกรรมไม่ได้มีเพียงแค่<br />

เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบเท่านั้น แต่<br />

ต้องการการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมจากผู้ที่<br />

ได้รับผลกระทบทั้งหมด เพื่อรับมือกับการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่อาจคาดการณ์ได้ยากขึ้น นิยาม<br />

ของการออกแบบอย่างยั่งยืนจึงไม่ใช่การออกแบบ<br />

เพื่อให้อาคารอยู่ยืนนานที่สุด หรือการรักษา<br />

ให้คงไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง แต่สถาปัตยกรรม<br />

ยั่งยืนแห่งอนาคตต้องมองเห็น และสามารถรับมือ<br />

กับการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน โดยต้องเปิดรับ<br />

ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ผ่านความหลากหลาย และ<br />

ลื่นไหลไปตามการปรับเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม<br />

ที่ไม่หยุดนิ่ง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!