16.02.2024 Views

ASA Journal 15/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

66<br />

theme / review<br />

นอกจากอาคารสำานักงานยุคใหม่จะมีแนวคิดที่เป็น<br />

มิตรต่อวิถีการทำางานของเหล่ามนุษย์เงินเดือนแล้ว<br />

ในยุคปัจจุบันอาคารเหล่านี้ยังหันมาใส่ใจและเลือก<br />

ใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จนเกิด<br />

เป็นอาคารประหยัดพลังงานที่ดีต่อทั้งมนุษย์และ<br />

สิ่งแวดล้อม ซึ่งหนึ่งในอาคารที่ว่านี้ คืออาคาร<br />

สำานักงานแห่งใหม่ของ OSD Company Limited<br />

บริษัทด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีอายุกว่า 20 ปี<br />

ผลงานการออกแบบจากทีมสถาปนิก AMA Design<br />

Studio และภูมิสถาปนิกจาก URBANIS<br />

เดิมทีบริษัท OSD Company Limited เคยตั้งอยู่<br />

ในอาคารทาวน์โฮมหลายหลังที่เกิดจากการขยับ<br />

ขยายไปตามช่วงเวลา จนกระทั่งบริษัทเริ่มเติบโต<br />

และถึงเวลามองหาสถานที่ใหม่ที่เพียงพอต่อความ<br />

ต้องการของพนักงาน จึงนำามาซึ่งโครงการออกแบบ<br />

สำานักงานแห่งใหม่บนที่ดินในซอยรามอินทรา 20<br />

โจทย์ของการออกแบบเริ่มต้นจากสองเจ้าของผู้-<br />

บริหารที่มาพร้อมความต้องการให้อาคารแห่งใหม่<br />

สะท้อนภาพลักษณ์องค์กร สามารถรองรับลูกค้า<br />

จัดกิจกรรมประจำาปี และเปิดรับกลุ่มนักศึกษาจาก<br />

มหาวิทยาลัยที่จะมาเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิง<br />

ปฏิบัติการ และที่สำาคัญคือพนักงานต้องอยู่สบาย<br />

ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัว<br />

ของทางเจ้าของ ช่วยสร้างพื้นที่คลายเครียดที่ไม่ใช่<br />

เพียงแค่นั่งโต๊ะทำ างาน แต่ยังมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ<br />

เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น<br />

“ด้วยความที่เจ้าของไม่ได้ต้องการพื้นที่สีเขียวที่แค่<br />

มองแล้วสวย แต่เขาต้องการพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อ<br />

การพักผ่อนของพนักงาน ที่ทั้งสามารถมองเห็น<br />

และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ในไอเดียเริ่มต้น<br />

เราเลยมองว่า เราจะแบ่งพื้นที่สีเขียวนี้ กระจาย<br />

ออกและแทรกไปในแต่ละชั้น ด้วยการเรียงพื้นที่<br />

ใช้สอยทั้งหมดไว้ตรงกลางของอาคาร ก่อนจะห่อ<br />

หุ้มด้วยพื้นที่สีเขียว รวมถึงจะมีการคว้านพื้นที่<br />

ตรงกลางบางส่วน เพื่อแทรกพื้นที่สีเขียวลงไปอีก<br />

ชั้น ซึ่งเรามองว่าไอเดียนี้สามารถตอบโจทย์ความ<br />

ต้องการได้ค่อนข้างครบ ในขณะที่ยังใช้พื้นที่อาคาร<br />

ได้อย่างคุ้มค่า”<br />

พื้นที่ใช้สอยแต่ละส่วนที่เกี่ยวเนื่องถูกออกแบบให้อยู่<br />

บริเวณใกล้กัน จัดเรียงภายในอาคาร 4 ชั้นรวมถึง<br />

ดาดฟ้า โดยทีมสถาปนิกออกแบบชั้น 1 ให้เปิดโล่ง<br />

และยกส่วนของพื้นที่สำานักงานไปที่ชั้นบน ทำาให้<br />

ชั้น 1 กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยที่ค่อนข้างสาธารณะ<br />

เพื่อใช้ในการต้อนรับลูกค้า และมีลักษณะคล้าย<br />

ใต้ถุนที่สามารถแทรกพื้นที่สีเขียวได้อย่างเต็มที่<br />

เปิดให้ลมธรรมชาติไหลเวียนได้เกือบตลอดเวลา<br />

ซึ่งห้องประชุมทั้ง 3 ห้องในโซนด้านขวาของชั้น<br />

ยังกระจายตัวเสมือนลอยอยู่บนบ่อน้ำ าท่ามกลาง<br />

ภูมิทัศน์ ที่นอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศในการ<br />

ทำางานแล้ว ยังกลายเป็นภาพประทับใจในการ<br />

ต้อนรับแขกผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี<br />

ในส่วนของชั้น 2 เป็นพื้นที่สำ านักงาน แบ่งเป็น<br />

แผนกต่าง ๆ ตั้งแต่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ<br />

ฝ่ายขาย โดยห้องทำางานของทุกฝ่ายจะถูกกั้นด้วย<br />

กระจกเพื่อเปิดมุมมองให้สามารถมองเห็นพื้นที่<br />

สีเขียวเป็นจุดพักสายตา และในขณะเดียวกันก็ยัง<br />

สามารถมองเห็นการทำางานของฝ่ายอื่น ๆ ได้ด้วย<br />

เช่นกัน ส่วนบริเวณปีกขวาของชั้นเป็นโซนห้อง<br />

ทำางานของสองผู้บริหารรวมถึงห้องรับรองแขก<br />

ซึ่งเป็นทิศทางที่สามารถมองเห็นวิวยอดไม้สีเขียว<br />

จากบริบทรอบด้านได้สวยงามที่สุด<br />

ชั้น 3 เป็นโซนระบบปฏิบัติการช่างที่รวมพื้นที่<br />

ทำางานของฝ่ายวิจัยและพัฒนา ห้องเซิร์ฟเวอร์<br />

ห้องมอนิเตอร์ และห้องทดสอบอุปกรณ์ ที่สามารถ<br />

เปิดให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสัมมนา<br />

เชิงปฏิบัติการได้ ในขณะที่ชั้น 4 เป็นห้องประชุม<br />

ขนาดใหญ่สำาหรับจัดเลี้ยง ห้องออกกำ าลังกาย<br />

สำาหรับพนักงาน และส่วนสำานักงานฝ่ายบัญชีที่<br />

แยกตัวมาอยู่ที่ชั้นนี้ เนื่องจากรูปแบบการทำ างาน<br />

ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับฝ่ายอื่น ๆ และต้องการความ<br />

เป็นส่วนตัว ต่อเนื่องจากบริเวณชั้น 4 มีทางเดิน<br />

เชื่อมสู่สวนดาดฟ้าที่สามารถใช้งานเป็นพื้นที่<br />

จัดเลี้ยงกลางแจ้ง หรือบางเวลาก็กลายเป็นพื้นที่<br />

พักผ่อนหย่อนใจที่พนักงานสามารถมารับลม ชม<br />

ธรรมชาติเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศได้บ้างในวันทำ างาน<br />

ความพิเศษ คือที่บริเวณชั้น 2 ชั้น 3 และชั้น 4 นี้<br />

ถูกออกแบบโดยแทรกพื้นที่สีเขียวเข้าไปโดยรอบ<br />

ของอาคาร ส่วนบริเวณใจกลางเป็นทางเดินขนาด<br />

ใหญ่ทำาหน้าที่แจกจ่ายไปยังพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ<br />

ซึ่งบริเวณทางเดินนี้เองที่ภูมิสถาปนิกมีการออกแบบ<br />

พื้นที่บางส่วนให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางกึ่งกลางแจ้ง<br />

ที่พนักงานสามารถมานั่งพักผ่อน นั่งคุย หรือนำ า<br />

แล็ปท็อปมานั่งทำางานเปลี่ยนบรรยากาศได้ตาม<br />

สะดวก นอกจากนี้พื้นบางส่วนของทางเดินยัง<br />

ออกแบบเจาะช่องเปิด เพื่อเชื่อมอาคารหลายชั้นถึง<br />

กันในแนวตั้ง ทำ าให้ในทุก ๆ ชั้น เราสามารถมองเห็น<br />

กิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งนอกจาก<br />

จะทำาให้อาคารโปร่ง โล่ง วิธีนี้ยังช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์<br />

ให้กับพนักงานระหว่างแผนกได้มากขึ้นอีกด้วย<br />

ถึงแม้ว่าอาคารหลังนี้จะมีการสอดแทรกธรรมชาติ<br />

ไว้มากมายเพื่อให้เกิดภาวะน่าสบายในการใช้งาน<br />

เพื่อป้องกันความร้อนอีกหนึ่งชั้น สถาปนิกได้<br />

ออกแบบให้มีผนังตะแกรงเหล็กเจาะรู (Perforated<br />

Aluminium Sheet) เป็นเกราะกำาบังชั้นนอกสุด<br />

ของอาคาร โดยทำาหน้าที่ป้องกันแสงแดด ความ<br />

ร้อน ป้องกันฝน และยังช่วยบดบังมุมมอง ซึ่งเส้น<br />

สายที่ใช้ยังได้แรงบันดาลใจมาจากแผงวงจรไฟฟ้า<br />

ที่ต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุด สะท้อนภาพลักษณ์องค์กร<br />

ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี โดยมีทั้งส่วนที่ปิด<br />

ทึบ เปิดโล่ง และกึ่งเปิด แต่ละรูปแบบอ้างอิงตาม<br />

พื้นที่ใช้สอยที่ซ่อนอยู่ภายใน อย่างเช่น ผนังกรอบ<br />

อาคารเปิดให้เห็นส่วนกลางของสำานักงาน หรือ<br />

ห้องออกกำาลังกาย ในขณะที่พื้นที่ที่ต้องการความ<br />

เป็นส่วนตัว อย่างห้องประชุม หรือห้องผู้บริหาร<br />

ผนังอาคารจะถูกออกแบบให้ปิด และมีช่องเล็ก ๆ<br />

ทำาหน้าที่กรองแสง ระบายอากาศ และบดบังสายตา<br />

จากภายนอก<br />

“อาคารนี้ไม่ได้กันฝน 100% แต่ส่วนที่เป็น<br />

สำานักงานต่าง ๆ แน่นอนว่าสามารถกันฝนได้เต็ม<br />

รูปแบบ ซึ่งส่วนที่เรายอมให้เปียกได้ คือพื้นที่ที่<br />

เวลาฝนตกเราไม่ได้ใช้มัน เช่น พื้นที่ส่วนกลางที่<br />

พนักงานออกมานั่งพักผ่อน ถ้ามองผิวเผินอาจจะ<br />

เห็นว่าอาคารนี้ค่อนข้างเปิด แต่จริง ๆ เราพยายาม<br />

ออกแบบให้ช่องเปิดขนาดใหญ่สลับกัน เราไม่ได้<br />

เปิดหมดทุกด้าน ถ้าเปิดกว้างที่ด้านหนึ่ง อีกด้าน<br />

จะผสมเป็นพื้นที่ปิดเพื่อช่วยลดแรงลม และป้องกัน<br />

ฝนสาด ซึ่งเราก็ยังมีการวางระบบระบายน้ำ าซ่อน<br />

อยู่โดยรอบของอาคารด้วย”<br />

นอกจากนั้นทีมภูมิสถาปนิกจาก URBANIS ยัง<br />

ออกแบบสวนแนวตั้ง เพื่อทำาหน้าที่ปกป้องพื้นที่<br />

ทำางานภายในจากแดด ลม ฝน และฝุ่น เราจึงได้<br />

เห็นพืชพรรณนานาชนิดร้อยเรียงในระดับต่าง ๆ<br />

ตั้งแต่พื้นที่ว่างระหว่างผนังอาคารโปร่งภายนอก<br />

และห้องกระจกภายใน โถงที่ว่างส่วนกลาง รวม<br />

ไปถึงสวนหลังคา เปรียบเสมือนการดึงเอาป่า<br />

ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศภายในอาคาร<br />

จากแนวคิดทั้งหมด บทสรุปของอาคารแห่งนี้จึง<br />

ไม่ใช่แค่สำานักงานที่เป็นมิตรกับเหล่าพนักงาน<br />

เพียงเท่านั้น แต่ยังใส่ใจ และสอดแทรกกระบวนการ<br />

คิดที่เป็นมิตรกับวัตถุดิบธรรมชาติ การันตีด้วย<br />

รางวัล ASEAN Energy Awards 2021 จากการเป็น<br />

อาคารอนุรักษ์พลังงานที่ออกแบบให้มีช่องเปิด<br />

ภายในอาคารทั้งทางแนวตั้ง และแนวนอน เพิ่มการ<br />

ไหลเวียนของธรรมชาติ ลดอุณหภูมิภายในอาคาร<br />

ผ่านต้นไม้ และบ่อน้ำา ทำาให้ผู้ใช้งานสามารถอยู่ใน<br />

ทุกพื้นที่ของอาคารได้ในสภาวะน่าสบาย โดยไม่<br />

จำาเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา นี่จึง<br />

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาคารสำานักงานยุคใหม่<br />

และอาคารประหยัดพลังงานที่น่าสนใจ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!