16.02.2024 Views

ASA Journal 15/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

่<br />

80<br />

theme / review<br />

บนกรอบแนวคิด “A place for all” เพื่อที่จะ<br />

มุ่งเน้นและยกระดับการออกแบบที่คำานึงถึง<br />

ความยั่งยืนในทุกภาคส่วน ผ่านแนวคิดทางการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรม และการออกแบบระบบ<br />

วิศวกรรมรวมเข้าไว้ด้วยกัน คือที่มาของแนวคิด<br />

และเป้าหมายการออกแบบอาคารสภาวิศวกร<br />

แห่งใหม่ ตั้งอยู่ริมถนนลาดพร้าวในย่านโชคชัย 4<br />

ที่กำาลังต้อนรับการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบ<br />

ขนส่งแบบรางเดี่ยว หรือโมโนเรล ซึ่งจะส่งผล<br />

ให้สามารถเดินทางเข้าถึงย่านได้สะดวกสบาย<br />

มากขึ้น ดังนั้นเพื่อรองรับการปรับตัว เปลี่ยนแปลง<br />

ของย่านเดิม และตอบรับการขยายตัวใหม่ ๆ ที่<br />

กำาลังจะเกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการพัฒนา<br />

ระบบขนส่งและผังเมือง การออกแบบอาคาร<br />

สภาวิศวกรหลังนี้จึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้น และ<br />

หมุดหมายใหม่ของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบอย่าง<br />

ยั่งยืน และให้เท่าทันยุคสมัยที่กำาลังเปลี่ยนแปลง<br />

ตึกแถวหลายคูหาเดิม ติดริมถนนลาดพร้าว<br />

ได้ถูกรื้อทิ้งออกไป เพื่อให้เป็นที่ตั้งของอาคาร<br />

สภาวิศวกรแห่งใหม่นี้ เป็นพื้นที่ให้บริการ<br />

วิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทย ทั้งเรื่องเกี่ยวกับ<br />

ใบประกอบวิชาชีพ การสอบใบประกอบวิชาชีพ<br />

และการออกใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริการ<br />

พื้นฐาน และหน้าที่หลักของสภาวิศวกรแห่ง<br />

ประเทศไทยเนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงทาง<br />

ด้านวิถีชีวิตและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว<br />

ส่งผลให้รูปแบบและการใช้งานอาคารมีการ<br />

ปรับปรุงและจัดการพื้นที่ให้สามารถปรับเปลี่ยน<br />

ให้รูปแบบไม่ตายตัว สอดคล้องกับการเกิดขึ้น<br />

ของช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่<br />

ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อวิถีชีวิต สังคม สภาพ-<br />

แวดล้อมและเศรษฐกิจที่รุนแรง ทำาให้ช่วงเวลา<br />

ระหว่างการออกแบบสภาวิศวกรแห่งนี้ ได้มี<br />

การปรับรูปแบบครั้งใหญ่ถึงสองครั้ง คือ ช่วงที<br />

ได้เกิดโรคระบาดขึ้น และภายหลังจากการแพร่<br />

ระบาดของ COVID-19 ภายหลังจากการเปิด<br />

ใช้งานอาคารสภาวิศวกรแล้วนั้น พื้นที่บางส่วน<br />

ภายในอาคารมีการเปลี่ยนแปลง และยกเลิก<br />

การใช้งานเดิม จากที่เคยออกแบบไว้จนถึงช่วงที่<br />

ก่อสร้างแล้วเสร็จ<br />

อาคารรูปทรงเปิดที่ดูลอยเหนือขึ้นจากพื้น<br />

(High Zone) มีพื้นที่สวนขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อ<br />

ระหว่างพื้นทางเท้า และอาคารสภาวิศวกร<br />

(Low Zone) มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมประมาณ<br />

9,000 ตารางเมตร บนความสูง 7 ชั้น โดย<br />

เป็นอาคารประเภท Mixed Use ที่มีทั้งส่วน<br />

บริการวิชาชีพ สำานักงาน ห้องสมุด ห้องประชุม<br />

และคาเฟ่ รวมเข้าไว้ด้วยกัน ในบริเวณพื้นที่<br />

โครงการ ผู้ออกแบบได้แบ่งอาคารออกเป็น 2<br />

อาคาร คืออาคารหลักซึ่งเป็นส่วนของการใช้งาน<br />

ทั่วไป และอาคารจอดรถแบบอัตโนมัติอยู่ทาง<br />

ด้านหลังของพื้นที่โครงการ โดยทีม Ativich<br />

Studio รับหน้าที่เป็นสถาปนิกผู้รับผิดชอบหลัก<br />

ในการออกแบบโครงการนี้<br />

ภายในอาคารความสูง 7 ชั้น ถูกแบ่งพื้นที่<br />

แยกย่อยออกเป็น Low Zone ซึ่งประกอบไป<br />

ด้วย โถงสำาหรับผู้เดินทางโดยรถยนต์ คาเฟ่<br />

ร้านอาหาร ร้านค้า และห้องควบคุม ส่วนพื้นที่<br />

High Zone ประกอบไปด้วยโถงทางเข้า Service<br />

Centre สำานักงาน ห้องสมุด ห้องสัมมนา ห้อง<br />

ประชุม และห้องสำาหรับจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ<br />

หรือบรรยาย ด้วยแนวคิดหลักเรื่อง “A place<br />

for all” ทาง Ativich Studio ได้ทดลองแทรก<br />

พื้นที่ส่วนกลาง ไปยังพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ เพื่อ<br />

สร้างปฎิสัมพันธ์ใหม่ ๆ กับผู้มาใช้งานอาคาร<br />

เช่น การเปิดพื้นที่ชั้นหนึ่งที่ติดริมถนนลาดพร้าว<br />

ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยผู้ออกแบบยกระดับ<br />

พื้นที่โถงต้อนรับ และส่วนงานบริการวิชาชีพ<br />

ให้สูงขึ้นไปจากระดับถนน (High Zone) เพื่อ<br />

เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนโดยรอบ ผ่านการ<br />

สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ของการมาใช้งาน<br />

พื้นที่ภายในบริเวณอาคาร ซึ่งลักษณะของพื้นที่<br />

จะเป็นทางเดินทอดยาวควบคู่ตลอดไปกับแนว<br />

พุ่มไม้ในระดับสายตา เป็นการไล่ระดับจาก<br />

พื้นทางเท้าพาดผ่านสูงขึ้นไป จนถึงระดับของ<br />

โถงทางเข้าหลักของอาคาร พื้นที่ส่วนนี้ทาง<br />

ผู้ออกแบบยังเสริมการใช้งานด้วยที่นั่งภายนอก<br />

อาคารหรือ Amphitheater ตรงส่วนด้านหน้า<br />

ของโถงทางเข้า ให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้<br />

งานได้ ทั้งสำาหรับการนั่งพักผ่อน พูดคุย อ่าน<br />

หนังสือ จนไปถึงนอนงีบหลับ ซึ่งเป็นความตั้งใจ<br />

ของผู้ออกแบบและทางสภาวิศวกรที่เห็นร่วม<br />

ตรงกัน เพื่อให้พื้นที่ในส่วนนี้เสมือนเป็นพื้นที่<br />

เปิด สำาหรับชุมชนใกล้เคียงให้เข้ามาใช้งานได้<br />

อย่างทั่วถึง จากบริบทของย่านเดิมที่เป็นที่อยู่<br />

อาศัยค่อนข้างหนาแน่น การเพิ่มพื้นที่สาธารณะ<br />

สีเขียวนี้ จึงช่วยสร้างปอดให้กับเมืองหรือชุมชน<br />

ได้หายใจมากขึ้น สามารถส่งผลให้เกิดสุขภาวะ<br />

ที่ีดีตามมา<br />

อีกแนวทางหนึ่งที่ทางผู้ออกแบบต้องการลด<br />

ผลกระทบของการสร้างอาคารใหม่ ด้วยแนวคิด<br />

เรื่อง Urban Ventilation เข้ามาใช้ในการจัดวาง<br />

โซนของอาคาร จัดการแยกส่วนอาคารออก<br />

เป็นสองอาคาร เพื่อเปิดพื้นที่ระหว่างตรงกลาง<br />

ให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง และใช้เป็นทางสัญจรของ<br />

รถยนต์ อีกนัยหนึ่ง การแยกอาคารออกจากกัน<br />

เป็น 2 ส่วนในโครงการนี้ ยังทำาให้ขนาด และ<br />

สัดส่วนของอาคารสภาวิศวกรใกล้เคียงกับ<br />

บริเวณรอบข้าง โดยเป็นการตระหนักถึงพลวัต<br />

ของบริบทแวดล้อม ดังนั้นสถาปนิกจึงไม่ใช่<br />

เพียงแค่ออกแบบสภาพแวดล้อมเฉพาะในตัว<br />

อาคาร หรือในบริเวณพื้นที่อาคารเท่านั้น แต่ยัง<br />

สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมโดย<br />

ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน การที่สถาปนิก<br />

ต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์กันในทุกองคาพยพ<br />

ของระบบนิเวศของเมืองและชุมชน ยังส่งผลให้<br />

ตัวอาคารไม่มีการติดตราสัญลักษณ์ขององค์กร<br />

หรือป้ายขนาดใหญ่บนอาคาร เพื่อให้อาคาร<br />

สภาวิศวกรนั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และ<br />

สร้างความเป็นมิตรทางสายตาแก่ชุมชนข้างเคียง<br />

ด้วยสภาวิศวกรต้องการให้อาคารเป็นพื้นที่<br />

สำาหรับทุกคน ไม่จำากัดเพศ วัย และอาชีพ ซึ่ง<br />

เป็นเป้าหมายหลักตั้งแต่แรกเริ่มที่สภาวิศวกร<br />

ได้ตั้งโจทย์ให้ทางสถาปนิกทำาการออกแบบ<br />

พื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนองค์-<br />

ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ในทุกแขนงวิชา ทั้ง<br />

วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาพื้นถิ่น<br />

ที่ไม่ได้จำากัดแค่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง<br />

เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่สนใจศึกษาทุกภาคส่วน<br />

ได้เข้ามาร่วมกันแบ่งปันพื้นที่นี้ด้วยกัน รูปแบบ<br />

และลักษณะของตัวอาคารจึงประกอบไปด้วย<br />

3 แนวคิดหลัก คือ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่<br />

ด้วยหลักการออกแบบอย่างยั่งยืน และพื้นที่<br />

สำานักงานรูปแบบใหม่ที่เน้นเรื่องความยืดหยุ่น<br />

ในการใช้งาน และมีนำาระบบโมดูลาร์เข้ามาใช้ใน<br />

การออกแบบ สุดท้ายคือการออกแบบพื้นที่ใช้<br />

งานภายในให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง<br />

ทั้งในเชิงความร่วมมือ หรือให้เป็นพื้นที่<br />

สาธารณะได้ในอนาคตอย่างสะดวก โดยไม่<br />

กระทบการใช้งานพื้นที่เดิม ฉะนั้นรูปแบบและ<br />

องค์ประกอบของอาคารจึงเป็นการผสานองค์<br />

ความรู้และเทคนิคในหลายแขนงวิชาให้เข้ากับ<br />

วิถีชีวิตร่วมสมัยไว้ด้วยกัน<br />

จากภาพแรกของอาคารสภาวิศวกร หากมอง<br />

จากริมถนนลาดพร้าวเข้ามาจะพบกับสวนขนาด<br />

ใหญ่ที่สอดแทรกทางเดินเท้าเข้าไปยังตัวอาคาร<br />

ซึ่งเป็นส่วนของ Low Zone ที่ผู้ออกแบบตั้งใจ<br />

ให้สวนแห่งนี้เป็นเสมือนส่วนต้อนรับหลักของ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!