28.03.2024 Views

ASA Journal 16/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

54<br />

theme / review<br />

ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำาคัญต่อการ<br />

สร้างความเป็นส่วนตัว และปฏิสัมพันธ์ระหว่าง<br />

มนุษย์กับธรรมชาติ ได้สร้างข้อถกเถียงต่อจุด<br />

สมดุลในการดำารงอยู่ระหว่าง ‘ความเป็นส่วนตัว’<br />

กับ ‘ความเป็นสาธารณะ’ อันเป็นคุณลักษณะ<br />

สำาคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

โดยเฉพาะเมื่อเราพิจารณาถึงสถาปัตยกรรม<br />

ประเภท ‘บ้านพักอาศัย’ ที่ความต้องการรูปแบบ<br />

เฉพาะในการจัดสรรความเป็นส่วนตัว ได้ทวี<br />

ความเข้มข้นมากขึ้น ดังตัวอย่างของ Azuma<br />

House โดยสถาปนิก Tadao Ando ถูกสร้างขึ้น<br />

ภายใต้บริบทของความเป็นชุมชน Sumiyoshi<br />

ใจกลางเมืองโอซาก้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 ความ<br />

ซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนนี้ยังเพิ่มสูง<br />

ขึ้นอันเนื่องมาจากความรุดหน้าของพัฒนาการ<br />

ทางเทคโนโลยี ที่ถูกเรียกร้องผ่านการออกแบบ<br />

พื้นที่ใช้สอยที่ต้องการความยืดหยุ่น และตอบ<br />

สนองต่อการรักษาสมดุลระหว่างสภาวะสองสิ่ง<br />

ให้ดำารงอยู่ไปด้วยกัน<br />

โครงการ MC House เป็นโครงการบ้านพักอาศัย<br />

สองชั้น ตั้งอยู่ภายใต้บริบทชุมชนพักอาศัยเก่าแก่<br />

ที่รายล้อมไปด้วยบ้านพักอาศัยอายุหลายสิบปี<br />

ด้วยรูปแบบของขนาดผืนที่ดิน เป็นรูปทรงตัว L<br />

มีด้านที่ติดกับถนนซอยเล็กๆ เพียงเล็กน้อย<br />

สำาหรับเข้า-ออก และผืนที่ดินส่วนใหญ่ด้านใน<br />

ถูกประชิดไปด้วยบ้านพักอาศัยของเพื่อนบ้าน<br />

ส่งผลให้เป็นโจทย์ที่สำาคัญของการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมของบ้านในเวลาต่อมา โดยทีม<br />

สถาปนิก นำาโดย ศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว<br />

ปาณินท์ ได้ร่วมกันขบคิดกับเจ้าของบ้านใน<br />

การหาจุดสมดุลระหว่างการสร้างปฏิสัมพันธ์<br />

กับสภาพแวดล้อมภายนอกกับการสร้างความ<br />

เป็นส่วนตัวแก่พื้นที่พักอาศัยของบ้าน ผ่านการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมกับบริบทแวดล้อม ใน<br />

ขณะเดียวกัน ด้วยความต้องการหลักอีกประการ<br />

ของเจ้าของบ้านนั้นต้องการให้บ้านเป็นพื้นที่จัด<br />

แสดงผลงานศิลปะ เหตุด้วยเจ้าของบ้านมีความ<br />

ชื่นชอบ และครอบครองผลงานงานศิลปะไว้เป็น<br />

จำานวนมาก จึงนำามาซึ่งข้อสรุปที่จะสร้างโลก<br />

ส่วนตัวที่แวดล้อมไปด้วยผลงานศิลปะ อันเป็น<br />

ของสะสมของเจ้าของบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน<br />

ก็ได้เปิดแง้มตนเอง ให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับโลก<br />

ภายนอก ในบางพื้นที่ และบางองค์ประกอบที่<br />

เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์กับตัวโครงการ<br />

เมื่อพิจารณาถึงผังพื้นของบ้าน จะพบว่าพื้นที่ดิน<br />

ฝั่งติดถนนที่อยู่ด้านปลายของตัว L ถูกออกแบบ<br />

ให้เป็นพื้นที่ของโรงจอดรถยนต์และพื้นที่ทางเข้า<br />

พื้นที่ผนังฝั่งขวาสถาปนิกเก็บรั้วเก่าที่เป็นรั้วเดิม<br />

ของเพื่อนบ้านเอาไว้ ในขณะนี้ฝั่งซ้ายออกแบบ<br />

ให้เป็นรั้วก่อใหม่ โดยบริเวณทางเข้าบ้านจะพบ<br />

กับต้นมะกอก และแนวผนังอิฐก่อสีเทารับแนว<br />

ปะทะทางสายตา มีประตูไม้บานใหญ่ทางฝั่งขวา<br />

เป็นพื้นที่ทางเข้าที่นำาเข้าไปสู่พื้นที่ Courtyard<br />

กลางของบ้าน พื้นที่ลานเปิดโล่งนี้ผู้ออกแบบ<br />

กำาหนดให้เป็นพื้นที่สำาคัญของบ้าน มีการปลูก<br />

แนวไม้ยืนต้นบริเวณใจกลางของบ้าน พื้นของ<br />

ลานบริเวณนี้ปูด้วยหินเกล็ด ในขณะที่ทางเดิน<br />

เชื่อมระหว่างพื้นที่ใช้สอยถูกยกพื้นขึ้นจากลาน<br />

หินเกล็ดประมาณ 10 เซนติเมตร ปูด้วยหิน<br />

แกรนิตสีเทาเข้มเชื่อมพื้นที่ว่างของโถง เข้ากับ<br />

ส่วนอยู่อาศัยที่สำาคัญทั้งหมดของบ้านเข้าด้วย<br />

กัน เพื่อสร้างให้พื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก<br />

มีสภาวะก้ำากึ่งระหว่าง Soft Scape กับ Hard<br />

Scape ปรากฏขึ้น โดยในส่วนของชั้น 1 พื้นที่<br />

ฝั่งทิศตะวันออกที่ขนานกับแนวด้านกว้างของ<br />

ที่ดิน ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ<br />

กึ่งหมุนเวียนที่เจ้าของบ้านสะสม ทำ าให้เกิดเป็น<br />

ทางเดินจัดแสดงงานศิลปะที่แทรกซึม และล้อม<br />

พื้นที่ว่างของโถงกลางไว้ทั้งหมด ส่วนพื้นที่ฝั่ง<br />

ทิศตะวันตกที่ขนานกับแนวกว้างของที่ดินถูก<br />

ออกแบบให้เป็นพื้นที่ของห้องนั่งเล่น และส่วน<br />

รับแขก รับประทานอาหาร โดยมีพื้นที่ฝั่งที่<br />

ประชิดกับแนวเขตที่ดินฝั่งทิศตะวันตกด้านหลัง<br />

เป็นพื้นที่ของส่วนบริการ เช่น ห้องครัว ห้อง<br />

เก็บของ ห้องพักแม่บ้าน รวมถึงห้องน้ำ าของห้อง<br />

นั่งเล่นที่จัดวางไว้บริเวณแนวประชิดฝั่งทิศ<br />

เหนือของบ้าน<br />

ในส่วนของพื้นที่ฝั่งทิศใต้ของบ้าน เป็นส่วน<br />

เชื่อมต่อ ที่มีบันไดล้อมโถงขนาดเล็กขึ้นไปยัง<br />

ส่วนพื้นที่ชั้นสอง ซึ่งเป็นพื้นที่ของส่วนห้อง<br />

นอนและห้องแต่งตัว พื้นที่ส่วนนี้ถูกออกแบบ<br />

ให้สามารถมองลงมายังพื้นที่ Courtyard และ<br />

ส่วนจัดแสดงศิลปะชั้นล่างได้ทั้งหมด เพื่อสร้าง<br />

บรรยากาศของการอยู่อาศัยท่ามกลางการ<br />

ซึมซับบรรยากาศของการเสพผลงานศิลปะ ใน<br />

ขณะเดียวกันที่ส่วนของทางเดินฝั่งทิศตะวันออก<br />

ของพื้นที่ชั้น 2 ซึ่งเปรียบได้กับ Façade ของ<br />

อาคารได้ถูกออกแบบให้ระนาบของส่วนนี้เป็น<br />

แนวของผนังอิฐเอียงทำามุมบดบังสายตาต่อแนว<br />

ปะทะที่ด้านหน้าของบ้าน เพื่อสร้างคุณลักษณะ<br />

ของการสร้างสภาวะกึ่งความเป็นส่วนตัว ที่<br />

สถาปนิกกล่าวไว้ว่า เปรียบได้ดั่ง ‘บ้านไม่มีหน้า’<br />

ผืนระนาบเอียงดังกล่าวเป็นหนึ่งในไวยากรณ์ทาง<br />

สถาปัตยกรรมที่สถาปนิกผู้ออกแบบเลือกใช้ ใน<br />

การสร้างระดับของความเป็นส่วนตัว (Level of<br />

Privacy) ที่แตกต่างกัน<br />

โครงการนี้ได้ถูกกำาหนดให้มีรูปแบบของการก่อ<br />

อิฐที่แตกต่างกัน 3-4 วิธีการ เช่น พื้นที่ชั้นล่าง<br />

ส่วนห้องนั่งเล่น และพื้นที่ติดสวนมีรูปแบบการ<br />

ก่ออิฐแบบครึ่งแผ่น ในขณะที่ผนังก่ออิฐของชั้น<br />

บนฝั่งที่ประชิดแนวที่ดินทิศใต้ ถูกออกแบบให้<br />

เป็นผนังก่ออิฐแบบ Flemish เว้นอิฐหนึ่งจังหวะ<br />

สร้างช่องเปิด เพื่อให้แนวระนาบผนังนี้ที่ทำ าหน้าที่<br />

คล้ายระแนงกันแดด แนวผนังทั้งสองฝั่งนี้มี<br />

คุณสมบัติสร้างสภาวะกึ่งส่วนตัว และช่วยระบาย<br />

ความร้อนและกันแดดไปได้ในตัว ความแตกต่าง<br />

ของรูปแบบการก่ออิฐส่งผลให้บ้านมีภาษาของ<br />

การสร้างความเป็นส่วนตัวที่มีความหลากหลาย<br />

ซึ่งสถาปนิกจำาเป็นต้องใช้การทดลองทั้งเทคนิค<br />

การก่อ ที่ใช้การวางเหล็กเป็นโครงสร้างภายใน<br />

แล้วก่ออิฐตามโครงสร้างของเหล็กเส้นที่วางเอา<br />

ไว้ รวมไปถึงการเลือกใช้อิฐ สถาปนิกได้เลือก<br />

ใช้อิฐ อปก (APK) อิฐมอญปั้นมือ สลับกับอิฐ<br />

แบบอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความสมดุลระหว่าง<br />

ความเป็นงานกึ่งท้องถิ่น และความเป็นงานแบบ<br />

อุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการเลือกใช้สีเทาใน<br />

หลายเฉด เป็นไปเพื่อการคำานึงถึงความเข้ากัน<br />

ได้กับงานศิลปะ ซึ่งสีเทาเป็นค่ากลางที่ถูกใช้<br />

ในการเป็นพื้นหลังให้กับงานศิลปะในรูปแบบ<br />

ต่าง ๆ ได้ดีที่สุด วัสดุแทบทั้งหมดของโครงการ<br />

ไม่ว่าจะเป็นงานก่อ ส่วนพื้น ผนัง สถาปนิกจึง<br />

เลือกกำาหนดสีเทาเป็นพื้นในงานออกแบบสถา-<br />

ปัตยกรรม ในส่วนรายละเอียดอื่นของโครงการ<br />

เช่น ส่วนของงานระแนงไม้ที่บริเวณชั้น 2 ได้มี<br />

การติดตั้งระแนงไม้ เพื่อลดความร้อนของแดด<br />

ในช่วงบ่ายพร้อมกับสร้างให้เกิดระนาบของเงา<br />

ทาบทับพื้นที่ส่วนภูมิทัศน์ของโถงกลาง<br />

โครงการ House MC ได้สร้างบทสนทนาให้<br />

เกิดขึ้นต่อการสร้างนิยามความสัมพันธ์ระหว่าง<br />

สภาวะความเป็นส่วนตัวกับปฏิสัมพันธ์กับสภาพ<br />

แวดล้อมภายนอกในบ้านพักอาศัย ที่มิติของ<br />

ความเป็นส่วนตัวให้คุณค่าผ่านคุณลักษณะเชิง<br />

พื้นที่ ท่ามกลางความสงบเงียบของภาษาทาง<br />

สถาปัตยกรรม สกัดออกมาเป็นสุนทรียศาสตร์<br />

ของความสงบเงียบ ดังคำากล่าวของทาดาโอะ<br />

อันโดะ ที่ว่า “ผมไม่คิดว่าสถาปัตยกรรมต้อง<br />

ส่งเสียงดังเกินไป สถาปัตยกรรมควรคงความ<br />

เงียบและปล่อยให้ธรรมชาติเข้ามาในรูปแบบของ<br />

สายลมและแสงแดด”

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!