28.03.2024 Views

ASA Journal 16/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

68<br />

theme / review<br />

“เราไม่สามารถเรียนรู้ความเฉพาะของบริบท<br />

ที่เฉพาะได้เพียงใช้เวลาระยะสั้น เราจึงชอบ<br />

ที่จะทำางานออกแบบที่มีเวลาไม่สั้นจนเกินไป<br />

เพื่อให้เราเข้าใจสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ประกอบเป็น<br />

บริบทเฉพาะถิ่น อันนำามาสู่การคิดกระบวน-<br />

การก่อสร้าง การเลือกสรรวัสดุนำามาร้อยเรียง<br />

จากวัสดุชิ้นต่อชิ้นจนสามารถประกอบเป็น<br />

งานสถาปัตยกรรม”<br />

อาคารสถาปัตยกรรมที่พักอาศัยซึ่งโดดเด่น<br />

ด้วยพื้นผิวของอาคารที่ร้อยเรียงก้อนอิฐหลาก-<br />

หลายลวดลายเข้าไว้ด้วยกัน สอดประสานเข้า<br />

กับท่วงจังหวะของการสลับสับหว่างโปร่งโล่ง<br />

ที่ล้อรับไปกับพื้นที่เปิดและปิดภายใน ร่วมไป<br />

กับกระเบื้องหลังคาลอนคู่ วัสดุสามัญทั่วไป<br />

ที่ถูกเลือกใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือนของผู้คน<br />

ในพื้นที่ ‘บ้าน ณ สตูล’ เป็นโครงการที่พักอาศัย<br />

สำาหรับรองรับการพักพิงของการอยู่อาศัยใน<br />

รูปแบบครอบครัวขยาย คือหนึ่งครอบครัวใหญ่<br />

กับอีกสามครอบครัวย่อย ที่จะเข้ามารวมอยู่<br />

ภายใต้ชายคาเดียวกัน อาคารในผังตัว U แห่งนี้<br />

ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล ท่ามกลางสวนปาล์ม ที่ด้าน<br />

หนึ่งขนาบด้านข้างด้วยภูเขาหินปูน ซึ่งดูแลงาน<br />

ออกแบบและบริหารงานก่อสร้างโดย ‘กลุ่ม<br />

สถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน’ โดยประกอบไป<br />

ด้วย ซัลมาน มูเก็ม, รุสลาน เดะเระมะ, อนันต์<br />

หลีกา, ฮาริส หมัดบินเฮด และ มูซอฟฟัรด์<br />

กาเจ<br />

ด้วยการลงพื้นที่แทรกซึมทำาความเข้าใจไปกับ<br />

สภาพแวดล้อมเป็นระยะเวลาร่วมกว่าหนึ่งปี<br />

กระทั่งเข้าใจการทำางานของธรรมชาติของภูเขา<br />

ที่อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการซึ่งสามารถจะสร้าง<br />

ร่มเงาตกกระทบเข้ามายังพื้นที่ ก่อนกระบวน-<br />

การริเริ่มออกแบบและทำาการวางขอบเขตรูปแบบ<br />

ของการก่อสร้าง ทำาให้ทีมผู้ออกแบบและผู้<br />

รับผิดชอบดูแลงานก่อสร้างเกิดความเข้าใจถึง<br />

บริบทเฉพาะถิ่น อันนำามาสู่การออกแบบสถา-<br />

ปัตยกรรมที่ตอบรับไปกับบริบทแวดล้อมได้<br />

อย่างพอดิบพอดี กล่าวคือบริบทเฉพาะ “พื้นที่<br />

ใต้ร่มเงา” (A Place in the shade) จากการ<br />

วางตัวของแนวภูเขา นำาไปสู่การวางผังของ<br />

อาคารให้สอดคล้องไปกับการขึ้นลงของดวง<br />

อาทิตย์ อีกทั้งแนวทางการพัดของกระแสลม<br />

ท้องถิ่นที่ทางทีมผู้ออกแบบได้ทำาการเฝ้า<br />

สังเกตุและศึกษาย้อนหลังไปเป็นระยะเวลา<br />

หลายปี ผนวกร่วมกับการลงพื้นที่จริงประกอบ<br />

ดังนั้นในการวางผังและทิศทางของอาคารจึง<br />

สามารถทำางานร่วมไปกับสภาพแวดล้อมของ<br />

พื้นที่ได้อย่างลงตัว<br />

ในการวางผังของอาคารสถาปนิกได้ออกแบบ<br />

ให้แต่ละส่วนของที่พักอาศัยทั้งชั้นบนและ<br />

ชั้นล่างมีความเป็นส่วนตัว โดยแบ่งสัดส่วน<br />

ของอาคารออกเป็นสามส่วนที่ทำางานสอดรับ<br />

โดยมีฟังก์ชันไปในทิศทางเดียวกัน และมี<br />

พื้นที่ส่วนกลาง อย่าง พื้นที่ห้องนั่งเล่น ห้อง<br />

รับประทานอาหาร และบริเวณพื้นที่ลานกลาง<br />

บ้านที่ใช้งามร่วมกัน และพื้นที่สำาหรับส่วนของ<br />

ห้องนอนจะสงวนเฉพาะไว้ในบริเวณชั้นสอง<br />

ของอาคาร ด้วยความต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์<br />

ให้กับทั้งผู้อยู่อาศัย ร่วมไปกับบริบทสภาพ-<br />

แวดล้อมที่โอบรัดโดยรอบ ผู้ออกแบบจึงเลือก<br />

ขับเน้นนำาเสนอบริเวณพื้นที่ลานกลางบ้านที่จะ<br />

ช่วยสามารถเชื่อมโยงย่อขยายทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

เข้าไว้ด้วยกัน แน่นอนว่าแม้ราวกับพื้นที่นอก-<br />

ในจะถูกทลายเข้าหาจนเกือบจะมอบความรู้สึก<br />

กลืนกลายเป็นผืนพื้นที่เดียวกัน ก็ได้ถูกขวาง<br />

กันด้วยจังหวะการทึบและโปร่งของช่องอิฐไว้<br />

อย่างแยบยล<br />

อิฐแดงคุณภาพที่เหลืออยู่ในกระบวนการทาง<br />

อุตสาหกรรม เป็นวัสดุถูกนำากลับมาใช้เป็น<br />

องค์ประกอบหลักในกระบวนการออกแบบ<br />

และก่อสร้างอาคาร อันสืบเนื่องมาจากข้อจำ ากัด<br />

ทางด้านงบประมาณในการก่อสร้าง อย่างไร<br />

ก็ตามด้วยการเลือกใช้อิฐกว่า 25,000 ก้อน<br />

ภายในโครงการกับลวดลายที่หลากหลาย<br />

อันแฝงไปด้วยกลิ่นไอของความดั้งเดิม เนื่อง<br />

ด้วยรูปลักษณ์จากลวดลาย อย่าง ลวดลาย<br />

ดอกไม้ ดาวห้าแฉก หรือลายรางหมู ก็ได้ถูก<br />

นำามาประกอบร่วมกับการออกแบบวางรูป-<br />

แบบการจัดเรียงลวดลายจนเกิดเป็นท่าที<br />

อันร่วมสมัยในท้ายที่สุด โดยแนวทางการก่อ<br />

อิฐนั้น ได้ถูกเรียบเรียงไว้อย่างชัดเจนเพียง<br />

กึ่งหนึ่ง และละให้เกิดการสร้างสรรค์จากการ<br />

จดจำารูปแบบดังกล่าวและทำาซ้ำาตามการจดจำา<br />

ของช่างฝีมือในพื้นที่ผู้จัดเรียบเรียงวางอิฐ<br />

ทีละก้อน และสร้างแนวลวดลายที่อาจจะ<br />

ถูกต้องตรงตามแบบ หรืออิสระจนเกิดเป็น<br />

ความเฉพาะและท่วงทำานองอันไม่สม่ำาเสมอ<br />

แต่โดดเด่นได้อย่างลงตัว<br />

หลักสำาคัญอีกประการในการเลือกใช้อิฐแดง<br />

นำาเสนอพื้นผิวเป็นพื้นผิวของอาคาร นอกจาก<br />

เรื่องของความงามอันจะเกิดขึ้นอย่างไม่ซ้ำากัน<br />

ด้วยจากทั้งสีสันที่ถูกเผาจนเกินพอดีและการ<br />

จัดวางของลวดลายแล้ว สถานะวัสดุสามัญ<br />

ทั่วไปที่ไม่ว่าช่างฝีมือที่ไหนก็สามารถก่อขึ้น<br />

รูปหรือทำางานร่วมได้ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งส่วน<br />

สำาคัญอันนำาไปสู่ในการเลือกใช้งานอิฐแดงใน<br />

โครงการอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว อิฐบล็อก<br />

กระเบื้องลอนคู่ รวมไปถึงรูปแบบโครงสร้าง<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กก็ได้นำามาผสานเข้าเป็น<br />

โครงสร้างของอาคารร่วมกัน หากแต่ก็ดำาเนิน<br />

ไปในทิศทางของการปรับเปลี่ยนให้ทั้งสอด-<br />

คล้องไปกับบริบทแวดล้อม เช่น การเสริม<br />

ชายคายืดออกกระทั่งสุดข้อจำากัดทางด้าน<br />

ความยาวของแนวเหล็ก เพื่อรองรับกับการ<br />

สาดของน้ำาฝนที่ตกฉุกในพื้นที่ และก็ไม่ลืม<br />

ที่จะวางลูกเล่นให้สอดรับไปกับความร่วมสมัย<br />

เช่นกัน<br />

น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ในการออกแบบ ทีมสถา-<br />

ปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน มักกล่าวเน้นย้ำาถึงการ<br />

เริ่มต้นดำาเนินกระบวนการในการออกแบบนั้น<br />

ต้องวางอยู่บนรากฐานความสามารถทำางาน<br />

ร่วมกันกับทั้งวัสดุและการทำางานเชิงช่างของ<br />

ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ไม่เพียงแต่เรียบง่าย<br />

แต่ยังสามารถบอกเล่าผ่านสุนทรียศาสตร์<br />

ทางด้านความงาม พร้อมไปกับการแทรก-<br />

กายทำางานร่วมไปกับบริบทสภาพภูมิกาศอัน<br />

เฉพาะที่จะเกิดขึ้นภายในพื้นที่ โดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งกับความเข้าใจและข้อจำากัดจากทาง<br />

เจ้าของโครงการไปอย่างพร้อมเพรียง ดังนั้น<br />

ในระหว่างการริเริ่มทำาการออกแบบ พวก<br />

เขาจึงเริ่มจากการทำาความเข้าใจถึงกายภาพ<br />

ทั้งแง่รูปธรรมและนามธรรมของวัดสุที่เลือก<br />

ใช้อย่างเพียงพอ ก่อนวางแนวทางการนำาไป<br />

ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดเท่าที่จะ<br />

สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!