30.01.2015 Views

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ในฝรั่งเศส: การเปลี่ยนแปลงจาก<br />

“การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” สู่ “ความเสียหายจากความวิตกกังวล” <br />

<br />

เมื่อเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บจากแอสเบสตอสเป็นที่รับรู้ในฝรั่งเศสครั้งแรก, เหยื่อคนงาน<br />

แอสเบสตอสและทนายความของพวกเขาเลือกกลยุทธ์ในการฟ้องคดีแพ่งสำหรับ “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้”<br />

ในส่วนของนายจ้าง - เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในฝรั่งเศสช่วงเวลาก่อนหน้านั้น. เหยื่อที่เป็นโรคจาก<br />

การทำงานที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการหรือทายาทตามกฎหมายของพวกเขาสามารถฟ้องร้องนายจ้างได้<br />

ถ้าพวกเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่านายจ้างได้กระทำสิ่งที่เรียกว่า “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้”, ซึ่งหมายความว่า<br />

เป็นการตั้งใจทำผิดกฎเกณฑ์ความปลอดภัยหรือผิดกฎอนามัย. ในการตัดสินคดีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545,<br />

เรื่อง “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” โดยนายจ้างผู้ซึ่งผลิตหรือใช้แอสเบสตอสหรือผลิตภัณฑ์จากแอสเบสตอส<br />

(การพิพากษาคดีซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส), ศาลฎีกา (Court of Cassation) ที่รับผิดชอบการ<br />

พิจารณาคดีเกี่ยวกับแรงงานได้ยุติมายาคติที่ว่าผู้นำบริษัทภายใต้คำกล่าวหานั้นไม่ทราบถึงอันตรายของแอสเบสตอส,<br />

โดยการแสดงให้เห็นว่าอันตรายเหล่านั้นเป็นที่รับรู้อยู่แล้วในฝรั่งเศสตอนช่วงเปลี่ยนศตวรรษ [1]. เหยื่อคนงาน<br />

แอสเบสตอสและครอบครัวของพวกเขาชนะคดี “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” หลายพันคดีในฝรั่งเศสตั้งแต่ปี<br />

พ.ศ. 2545.<br />

<br />

ในการเผชิญกับคลื่นคดีดังกล่าว, เจ้าหน้าที่ทางการได้ตัดสินใจในปี พ.ศ. 2543 ที่จะตั้งกองทุนเพื่อ<br />

ชดเชยให้แก่เหยื่อแอสเบสตอส, คือ องค์กรฟีวา (FIVA). กฎหมายบัญญัติว่าฟีวาอาจจะย้อนกลับมาฟ้องนายจ้าง<br />

ในข้อหา “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” เมื่อมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเกิดการกระทำผิดดังกล่าวขึ้นจริง. ขณะที่ฟีวา<br />

ทำให้เหยื่อแอสเบสตอสได้รับค่าชดเชย ไม่อย่างนั้นพวกเขาอาจจะได้รับค่าชดเชยหลังจากการพิจารณาคดีที่แสน<br />

ยาวนาน, ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลในการระงับ “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” ของเหยื่อคนงานแอสเบสตอส, ด้วย<br />

เหตุนั้น จึงเป็นการโอนภาระการจ่ายเงินชดเชยเหยื่อเหล่านั้นจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ “กระทำผิดที่ให้<br />

อภัยไม่ได้”, และควรจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินให้พวกเขา, ไปเป็นภาระของกองทุนรวมสำหรับการบาดเจ็บและโรคภัย<br />

ที่เกิดจากงานที่ชื่อว่า “เอทีเอ็มพี” (ATMP) ซึ่งนายจ้างทุกรายจ่ายเงินสมทบ, และโอนไปเป็นภาระของรัฐ (เพราะ<br />

รัฐต้องจ่ายเงินสมทบด้วย-ผู้แปล). อิเทอร์นิตยังคงหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินทุกอย่างในคดี “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่<br />

ได้” ที่อดีตลูกจ้างได้รับชัยชนะ โดยให้ศาลพิพากษาคดี “การกระทำผิดที่ให้อภัยไม่ได้” ให้ใช้เงินจากกองทุนเอที<br />

เอ็มพีเนื่องจากข้อผิดพลาดในขั้นตอนของการรับรู้ว่าเหยื่อในคดีนั้นมีโรคที่เกิดจากการทำงาน. สำหรับคดีที่ฟีวา<br />

ฟ้องนายจ้างนั้น, พวกเขาได้รับเงินน้อยกว่า 4% ของเงินรวมทั้งหมดจำนวน 2,782 ล้านยูโรที่จ่ายออกไปจาก<br />

กองทุนเพื่อให้กับเหยื่อแอสเบสตอสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2553. เห็นได้ชัดว่าบริษัทแอสเบสตอสในฝรั่งเศส<br />

ไม่ได้ถูกบังคับให้รับภาระทางการเงินในการจ่ายค่าชดเชยให้กับเหยื่อที่พวกเขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบเลย.<br />

การหาความยุติธรรมให้แก่เหยื่อของอิเทอร์นิต - ประสบการณ์ของฟรานโก-อิตาเลียน | 105

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!