30.01.2015 Views

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

คำฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวโทษว่าเป็นการฆ่ามนุษย์ หรือความเสียหายจากการประมาท<br />

เลินเล่อเพื่อเรียกร้องการรับผิดทางอาญาของนายจ้างในแต่ละกรณีของคนงานที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคที่<br />

สามารถพิจารณาได้เป็นการเฉพาะว่าเกี่ยวกับแอสเบสตอส. คดีเน้นทั้งโรคที่เกิดจากการได้รับแอสเบสตอส (โรค<br />

เมโสเธลิโอมา และโรคใยหิน) และมะเร็ง ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของสาเหตุที่เป็นไปได้ โดยมีหลักฐานทางระบาดวิทยา<br />

ที่แสดงถึงความเป็นไปได้สูงว่าที่เกิดจากการได้รับแอสเบสตอส (ส่วนใหญ่คือมะเร็งปอด). การอ้างอิงข้อมูลระบาด<br />

วิทยาสามารถป้องกันเหตุผลในเรื่องความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ เพราะไม่มีโรคมะเร็งที่สามารถ “ระบุชัด” ว่าเกิดจาก<br />

การได้รับสิ่งใดเป็นการเฉพาะ. คำพิพากษาที่เป็นแบบอย่างที่ตัดสินใน พ.ศ. 2545, ศาลฎีกาที่พิจารณาอุทธรณ์ได้ชี้<br />

ว่า ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมีการพิสูจน์กลไกอย่างชัดเจนของการเกิดมะเร็งในแต่ละคน, และตรรกะความเป็นไป<br />

ได้อย่างสูงสามารถได้จากข้อมูลทางระบาดวิทยาและสถิติ [3].<br />

<br />

คำตัดสินโดยทั่วไปอยู่บนพื้นฐานของบทบัญญัติสามมาตราของประมวลกฎหมายอาญาอิตาลี. มาตรา<br />

40.2 กำหนดเงื่อนไขของสาเหตุที่ต้องพิจารณาว่าเป็นประเด็นทางอาญา. กฎหมายกำหนดว่า “ความล้มเหลวใน<br />

การป้องกันเหตุการณ์ที่มีหน้าที่ที่ต้องทำตามกฎหมายมีค่าเท่ากับการเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดเหตุการณ์”.<br />

มาตรา 589 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับการฆ่ามนุษย์ ขณะที่มาตรา 590 กำหนดให้การทำความเสียหาย<br />

ทางอาญาต่อบุคคลเป็นอาชญากรรม.<br />

<br />

หน้าที่ทางกฎหมายที่จะทำให้สถานที่ทำงานมีสุขภาวะและปลอดภัย กำหนดจากสาระสำคัญในกฎหมาย<br />

การทำงานที่มีสุขภาวะและปลอดภัย. มีหลักกฎหมายที่ถือเอาคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้องอยู่พอสมควร<br />

ที่จะระบุว่าหน้าที่ในเรื่องความปลอดภัยเกิดขึ้นเมื่อมีความรู้ทางวิชาการเพียงพอเกี่ยวกับผลที่ตามมาของการได้รับ<br />

แอสเบสตอส ศาลฎีกาที่พิจารณาอุทธรณ์มีความชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องดูแล รวมทั้งต้องนำ<br />

<br />

มาตรการป้องกันทุกเทคโนโลยีที่เป็นไปได้มาใช้ และไม่จำกัดเฉพาะการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเท่านั้น.<br />

<br />

คดีตูรินได้ใช้กฎหมายในการพิจารณาข้อเท็จจริงแตกต่างออกไป. ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดสองประเภท.<br />

ดังนี้<br />

<br />

มาตรา 434 ของประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติลักษณะความผิดจากการจงใจทำให้เกิดหายนภัย เช่น<br />

การกระทำละเมิด หรือ การละเว้นที่ทำให้เกิดผลอันเล็งเห็นได้และต้องมีผู้กระทำ.<br />

<br />

มาตรา 437 เกี่ยวข้องเฉพาะกับสภาพการทำงาน และเกี่ยวกับการจงใจกระทำผิดโดยการยกเลิกหรือละเว้น<br />

การป้องกันหายนภัยหรือความเสียหายในที่ทำงาน.<br />

<br />

92 | อิเทอร์นิตและคดีแอสเบสตอสที่ยิ่งใหญ่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!