30.01.2015 Views

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

Downloadหนังสือ - เลิก ใช้ แร่ใยหิน

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สุขภาพที่บริษัทก่อขึ้น, เป็นเวลาเนิ่นนานหลายปี, จึงถูกกลบฝังไปพร้อมร่างเหยื่อที่เสียชีวิตเหล่านี้. ในปีพ.ศ.<br />

2538, หรือสองปีหลังจากปิดโรงงานโอซาสโค, บรรดาอดีตคนงานเริ่มรวมตัวกันและร่วมกันก่อตั้งองค์กรต่อสู้เพื่อ<br />

ให้สังคมยอมรับโรคที่เกิดจากแอสเบสตอส; รวมทั้งค้นหาวิธีรักษาและการเรียกร้องการชดเชยความเสียหายที่เกิด<br />

ขึ้น, ตลอดจนรณรงค์การห้ามใช้แอสเบสตอสในประเทศบราซิล -องค์กรที่พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้น คือ อาเบรีย.<br />

<br />

ปฏิกิริยาของบริษัทเริ่มในทันทีและบริษัทได้จัดตั้งองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงคนงานและครอบครัวออก<br />

จากคดี โดยเกลี้ยกล่อมให้คนงานเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลและรับเงินชดเชยจำนวนไม่มาก<br />

ร่วมกับการทำประกันสุขภาพตลอดชีวิตให้คนงาน, ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้จัดหาให้เอง แต่คนงานต้องสละสิทธิ์จากการ<br />

เรียกร้องตามกฎหมายใดๆในอนาคต. สัญญาประนีประนอมดังกล่าวยังเปิดช่องให้การเข้ารับบริการทางสุขภาพ<br />

สิ้นสุดลงในกรณีที่บริษัทล้มละลายหรือมีการห้ามใช้แอสเบสตอสในประเทศบราซิล, ทำให้คนงานและครอบครัว<br />

ของคนงานกลุ่มนี้กลายเป็นตัวประกันสำหรับการคงไว้ซึ่งการใช้แอสเบสตอสต่อไป.<br />

<br />

อิเทอร์นิตยืนยันกับนักข่าวว่า บริษัทได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับคนงานที่เคยอยู่ใน<br />

บริษัทแล้ว 3,000 ฉบับทั้งในกลุ่มโรงงานซีเมนต์แอสเบสตอสหลายแห่ง <br />

ตลอดจนเหมืองแอสเบสตอสในเครือ (เอส<br />

เอเอ็มเอ).<br />

<br />

กระทรวงสาธารณะของรัฐเซา เปาโล, ไม่พอใจการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว, สหพันธ์<br />

ลิทิส (litis consortium) ร่วมกับอาเบรีย, ได้เสนอให้ฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล [เออร์กา ออมเนส (erga<br />

omnes)] เหมือนกับที่เคยทำในตูริน. คดีนี้ร้องต่อศาลให้ชดเชยแก่เหยื่อ 2,500 คน, สำหรับความเสียหายทาง<br />

ร่างกายและความทุกข์ทางจิตใจ, และเรียกร้องให้บริการการดูแลและการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตแก่ผู้ที่ป่วย.<br />

เป็นที่น่าเสียดาย, ในความล่าช้าของระบบศาลบราซิล, การฟ้องร้องถูกเลื่อนโดยไม่มีข้อยุติใดๆ, แม้ว่าการตัดสิน<br />

คดีของศาลในคดีแรกจะระบุว่าอิเทอร์นิตต้องรับผิดชอบต่อการทำความเสียหายให้แก่เหยื่อทั้ง 2,500 คน, แต่โชคร้าย<br />

ที่คำตัดสินของศาลอุทธรณ์, ได้พิพากษากลับ, และปล่อยให้บริษัทพ้นผิด, โดยยอมรับข้อแก้ต่างคดีว่า บริษัทได้<br />

ดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายแรงงานของบราซิลอยู่เสมอ, แม้จะไม่เพียงพอและไม่ทันสมัยในขณะนั้น แต่<br />

เอกสารเท่าที่ปรากฏมีแค่อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 162 ในปี พ.ศ. 2534 เท่านั้น,<br />

ศาลเห็นว่าเท่าที่ปรากฏยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า บริษัทมีความผิด. แม้การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจะยังกระทำได้,<br />

แต่ต้องใช้เวลาหลายปี. ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น, เหยื่อแอสเบสตอสจำนวนมากคงเสียชีวิตหมดแล้ว.<br />

<br />

ด้วยการเปลี่ยนแปลง “ขอบเขตอำนาจศาล” จากศาลแพ่งไปสู่ศาลแรงงานตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ<br />

ฉบับที่ 45 เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2547, ซึ่งมีกระบวนการเร่งรัดการตัดสินคดีเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย<br />

อิเทอร์นิตในประเทศบราซิล | 157

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!