01.11.2014 Views

cache

cache

cache

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ตอการเกิด CI ทฤษฎีนี้อธิบายวา ณ อุณหภูมิวิกฤต กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ซึ่งเปน<br />

องคประกอบเยื่อหุมเซลลตาง ๆ โดยเฉพาะในพืชที่ไวตออุณหภูมิต่ําจะมีการเปลี่ยนสถานะจาก<br />

ลักษณะที่ออนตัว (liquid crystalline) เปนลักษณะแข็ง (solid gel) ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

โครงสรางและการจัดเรียงตัวของไขมันในเยื่อหุมเซลล เกิดการรั่วไหลของประจุ เกิดการเสีย<br />

สมดุลของกระบวนการเมแทบอลิซึมและเยื่อหุมเซลลเกิดความเสียหายหรือเกิดอันตรายตอเซลล<br />

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุมเซลลทําใหตองการเพิ่มพลังงานกระตุน (activation energy)<br />

ของเอนไซมที่เกาะอยูกับเยื่อหุม (membrane-bound enzyme) จึงทําใหการเกิดปฏิกิริยาตาง ๆ ชาลง<br />

การสงผาน ATP ไปยังแหลงใชพลังงานชาลง มีผลทําใหการเคลื่อนที่ของโปรโตพลาสซึมหยุด ทํา<br />

ใหผลผลิตเสื่อมคุณภาพและตายในที่สุด การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุมนี้สามารถกลับคืนสูสภาพเดิม<br />

ไดถาอยูในอุณหภูมิต่ําในชวงสั้น ๆ แลวนํากลับมาไวที่อุณหภูมิปกติ อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิต่ํา<br />

จะไมเกิดขึ้น (สายชล, 2528) การศึกษาในตนกลาหรือผลแตงกวา ตนขาวโพด ผลมะเขือเทศ ผล<br />

พริกหวาน สนับสนุนทฤษฏีนี้โดยพบวามีการเปลี่ยนแปลงอัตราสวนระหวางกรดไขมันไมอิ่มตัว<br />

และกรดไขมันอิ่มตัว มีปริมาณ phospholipid ในเยื่อหุมเพิ่มขึ้นสอดคลองกับความเสียหายของเยื่อ<br />

หุมเซลลและการแสดงอาการ CI เนื่องจากอุณหภูมิต่ํา ในการใหสารชะลอการเจริญเติบโตแกกลา<br />

แตงกวาสามารถชะลออาการ CI มีความสัมพันธกับการชะลอการเปลี ่ยนแปลงองคประกอบของ<br />

ไขมันในเยื่อหุม (Whitaker and Wang, 1987; Parkin and Ku, 1989; Sharom et al., 1994; Whitaker,<br />

1995; Kaniuga et al., 1999)<br />

ในพืชที่ทนทานตอความเย็นหรือพืชที่มีถิ่นกําเนิดในเขตหนาวมักมีอัตราสวนหรือปริมาณ<br />

ของไขมันไมอิ่มตัวสูงกวาพืชที่มีถิ่นกําเนิดในเขตรอน ทําใหเยื่อหุมยังคงรักษาสภาพออนตัวและ<br />

การทํางานของเซลลใหอยูในสภาพปกติ (Murata et al., 1982; Roughan, 1985) การทํา chilling<br />

hardening กับตนถั่ว Phaseolus vulgaris ซึ่งเปนพืชที่ไวตออุณหภูมิต่ํา ทําใหพืชมีความทนตอ<br />

อุณหภูมิต่ํามากขึ้น เมื่อวิเคราะหชนิดของไขมันในใบพบวาไขมันไมอิ่มตัวเพิ่มขึ้น แตการทํา<br />

drought hardening ในพืชชนิดเดียวกัน กลับไมพบการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมัน โดยอธิบายวา<br />

ปจจัยเบื้องตนในการชักนําใหเกิดความทนทานตอ CI จากการขาดน้ํา อาจเกี่ยวของกับฮอรโมนพืช<br />

บางชนิดที่มีผลตอการเปดของปากใบหรือการสูญเสียน้ํา (Wilson, 1976) การศึกษาตนกลาขาวโพด<br />

และยาสูบ พบวาความทนทานตอการเกิด CI มีความสัมพันธกับการเปลี่ยนแปลงของฮอรโมน<br />

abscisic acid (ABA) การให ABA มีผลในการยับยั้งการลดลงของ phospholipid และ glutathione<br />

ชวยปองกันการเกิด CI (Rikin et al., 1979; Janowiak et al., 2002)<br />

8

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!