25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

อบอุ่น เป็นมิตรใกล้ชิดกับมนุษย์ มีความยืดหยุ่น<br />

มากกว่าวัสดุอุตสาหกรรม ทำาให้ไม้ได้รับความ<br />

นิยมในงานสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ<br />

ในพื้นที่เขาใหญ่ อำาเภอปากช่อง จังหวัดนคร-<br />

ราชสีมา ปรากฏวิหารของศูนย์ปฏิบัติธรรมชื่อ<br />

ว่า “วิหารแก้ว” เป็นวิหารไม้ทรงสูง รูปทรง<br />

แลดูสมัยใหม่ เรียบง่าย ด้วยเส้นตั้งจากเสาที่<br />

คล้ายเสานางเรียงในสถาปัตยกรรมทางศาสนา<br />

ศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ออกแบบโดย บริษัท<br />

ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำากัด แนวคิดการวางผังโดย<br />

ใช้ประโยชน์จากที่ตั้ง ที่เป็นเส้นบรรจบของ<br />

เชิงเขาสองลูก สถาปนิกเลือกวางวิหารโถงไว้<br />

ที่ตรงกลางปลายจบเขาทั้งสองลูก เกิดเส้น<br />

เสริมความแรงให้กับสถาปัตยกรรมที่มีแกน<br />

ชัดเจน แกนกลางทำาหน้าที่แบ่งกลุ่มอาคาร<br />

ออกเป็นซ้าย-ขวา กลุ่มอาคารบริการที่เป็น<br />

โรงอาหารแบบเปิดโล่ง และอาคารห้องสมุด<br />

ทั้งสองอาคารวางเกาะเส้นแกนหลัก ทำาให้<br />

การจัดระเบียบเป็นแบบพุ่งเข้าหาศูนย์กลาง<br />

ที่ลานทางขึ้นวิหารที่มีสระน้ำาตื้นเป็นภูมิทัศน์<br />

ส่วนเสริมให้รูปทรงมีขนาดส่วนที่ใหญ่ลดความ<br />

แข็งลงได้ด้วยการสะท้อนบนผิวน้ำาที่ทำาให้ดู<br />

เบาลอย ด้านข้างทางทิศตะวันออก ถูกวางไว้<br />

เป็นที่พักของผู้มาปฏิบัติธรรม ด้วยกลุ่มเรือนพัก<br />

จำานวน 10 หลัง ถูกวางรายรอบสระน้ำาที่ขุด<br />

เตรียมไว้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำา และกักเก็บน้ำาไว้<br />

ใช้งาน<br />

การขึ้นรูปทรงวิหารโถง หรือที่เรียกได้ว่าวิหาร<br />

ที่เป็นแบบเปิดโล่ง มีผนังปกปิดจากภายนอก<br />

บางส่วน เริ่มจากการที่สถาปนิกศึกษารูปตัด<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในภาคอีสาน และ<br />

ภาคเหนือ ในส่วนของภาคอีสานได้ศึกษาสัดส่วน<br />

รูปตัดจาก ‘สิม’ วัดปทุมคงคา หรือวัดนกออก<br />

ที่อำาเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในคำา<br />

อีสานนั้น ‘สิม’ มาจากการกร่อนคำาว่า ‘สีมา’<br />

หมายถึงขอบเขตอันศักดิ์สิทธ์ ซึ่งในการกำ าหนด<br />

สีมาของวัดในภาคอีสาน อันที่มีมาจากภาษาลาว<br />

คืออุโบสถในภาคกลางนั่นเอง แต่สิมมีขนาด<br />

ที่เล็กกว่า ตามการใช้สอยที่อนุโลมให้สำาหรับ<br />

พื้นที่ห่างไกล ขาดแคลนทรัพยากร ไม่สามารถ<br />

สร้างอุโบสถได้ตามมาตรฐาน<br />

สิมวัดปทุมคงคาเป็นสถาปัตยกรรมที่มีส่วน<br />

ผสมของทั้งศิลปะแบบปลายสมัยอยุธยา<br />

AT THE HEART OF IT<br />

ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มากกว่าศิลปะแบบลาว<br />

ต่างภาคอีสานส่วนอื่นๆ เนื่องด้วยนครราชสีมา<br />

เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงเทพ และลาว มา<br />

ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ทำาให้สถาปัตยกรรมมี<br />

ความคล้ายคลึงกับทางภาคกลางมากกว่า<br />

แต่ย่อส่วนลง เมื่อพิจารณาลักษณะของสิม<br />

หลังนี้ เป็นแบบมีผนังโดยรอบ ไม่ใช่ชนิดสิ<br />

มโถง โครงสร้างเสาเป็นไม้แปดเหลี่ยม หุ้ม<br />

ด้วยผนังปูนที่ภายนอก ทำาให้ความเด่นชัดอยู่<br />

ที่ด้านสกัด ที่มีสัดส่วนหลังคาลาดชันสูง<br />

สำาหรับการศึกษาสถาปัตยกรรมในส่วนภาค-<br />

เหนือ สถาปนิกได้ศึกษาจากวิหารวัดไหล่<br />

หินหลวง จังหวัดลำาปาง วิหารนี้มีลักษณะเป็น<br />

วิหารโถง หรือผนังโล่ง โดยเมื่อมองไปยัง<br />

ด้านสกัดที่ทางเข้า จะเป็นเสาลอย ไม่มีผนัง<br />

โครงสร้างเสาด้านสกัดมี 4 ต้น ทำาให้การแบ่ง<br />

สัดส่วนพื้นที่ภายในเป็น 3 ส่วน มีเสาร่วมใน<br />

เป็นตัวขับเน้นที่ว่างปลายวิหารที่มีพระประธาน<br />

ตั้งอยู่ ลักษณะโครงสร้างเป็นไม้หลังคา มีความ<br />

ลาดชัน 45 องศา แม้ว่าจะเป็นวิหารโถงที่ไม่มี<br />

ผนังทึบรอบแบบสิมวัดปทุมคงคา แต่ปลาย<br />

วิหารช่วงที่เป็นที่ตั้งพระประธานเป็นผนังทึบ<br />

บางส่วน เพื่อควบคุมความสลัวให้กับบริเวณ<br />

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของวิหาร ลักษณะโครงสร้าง<br />

วิหารวัดไหล่หินหลวงส่งอิทธิพลต่อระบบ<br />

โครงสร้างหลังคาวิหาร<br />

วิหารแก้ว ออกแบบโดยการวางให้ด้านสกัด<br />

หันไปแนวทิศตะวันออก-ตก ตำาแหน่งวาง<br />

พระประธานอยู่ทางด้านทิศตะวันตก หัน<br />

พระพักตร์พระพุทธรูป และวางทางเข้าไว้<br />

ทิศตะวันออก ตามคติพุทธตอนพระพุทธเจ้า<br />

ตรัสรู้ การเข้าถึงวิหารโถงจากลานด้านหน้า<br />

ต้องเดินผ่านสระน้ำาที่ออกแบบไว้ให้เต็มไป<br />

ด้วยบัว การรับรู้ที่ว่างภายในเป็นไปอย่าง<br />

คลุมเครือ แม้ว่าชื่ออาคารคือ วิหารแก้ว ที่<br />

สื่อถึงความโปรงใส แต่การวางโครงสร้างเสา<br />

ไม่ได้เป็นแบบตรงไปตรงมา มีการวางเสา<br />

สลับเหลื่อมกันไปมาของเสาแนวภายนอกสุด<br />

ส่วนแนวเสาภายในจะตั้งซ้อนอยู่ระหว่างแนว<br />

เสาภายนอก ผลจากการวางโครงสร้างเสา<br />

ระบบนี้ ก่อเกิดการรับรู้ที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน<br />

คาดเดาที่ว่างภายในได้ยาก<br />

117<br />

ก่อนจะเข้าไปยังภายในวิหาร จะพบกับปริมาตร<br />

ของวิหารที่มีขนาดส่วนสื่อถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์<br />

เป็นภาพที่มีเสาไม้ขนาดใหญ่มีรูปแบบการเรียง<br />

ไม้ในแนวตั้งขับให้เส้นตั้งที่เสาชัดเจนยิ่งขึ้น<br />

องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมดูเปลี่ยนไป<br />

จากรูปตัดที่สถาปนิกได้ศึกษาไว้ มีลักษณะ<br />

การจัดเรียงเป็นสำาเนียงใหม่ในไวยากรณ์เดิม<br />

ส่วนของแปลานได้ถูกขับให้เน้นชัดขึ้นกว่าสิม<br />

วัดปทุมคงคา เน้นทางเข้าชัดเจนขึ้น ส่งผลต่อ<br />

ภาพพระพุทธรูปปลายทาง เมื่อผ่านเข้าไปยัง<br />

ภายใน เสาจะช่วยพรางพื้นที่ภายในให้ติดต่อ<br />

กับภายนอกด้วยการวางชุดเสาภายนอกแบบ<br />

สลับ เมื่อพิจารณารูปตัดแต่ละช่วงเสา จะเป็น<br />

การพัฒนาจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเดิม<br />

ให้ตอบสนองกับแนวคิดร่วมสมัยมากขึ้น<br />

รายละเอียดของเสาไม้ โครงหลังคาไม้ ถูก<br />

ประกอบกันขึ้นจากโครงสร้างเหล็ก กรุชั้นใน<br />

ด้วยแผ่นซีเมนต์บอร์ด จากนั้นจึงกรุชั้นนอก<br />

สุดด้วยไม้สนนำาเข้าขนาด 1” x 6 “ รูปแบบ<br />

วางไม้กรุให้ขนานไปกับแนวตั้งของเสา ส่วน<br />

ของขื่อ อะเสเหล็กหุ้มด้วยไม้ในแนวนอน<br />

ล้อไปกับแนวการวางโครงสร้างหลังคา แม้ว่า<br />

จะเป็นวิหารโถงที่จะพบกับปัญหาฝนสาด<br />

ระบบระบายน้ำาที่พื้นได้เตรียมไว้ด้วยยกพื้น<br />

ปล่อยให้ด้านล่างเป็นพื้นยก ในการออกแบบ<br />

รายละเอียดงานไม้ สิ่งที่ต้องระวังอันดับต้นๆ<br />

คือการระวังเรื่องความชื้น ถ้าปล่อยให้ไม้มีจุด<br />

สะสมความชื้นได้ง่าย จะเป็นจุดที่เสื่อมโทรม<br />

ได้เร็ว ต้องป้องกันไม่ให้เจอดิน หรือน้ำ าโดยตรง<br />

ในส่วนที่จะชนกับน้ำา ดิน ได้มีการออกแบบ<br />

รายละเอียดให้เว้นรอยต่อไว้ ไม่ให้สะสม<br />

ความชื้นโดยตรง หรือจะเรียกได้ว่าให้ไม้ได้<br />

หายใจ<br />

“สำาหรับผม เรื่องของพุทธศาสนาเป็นเรื่องของ<br />

การปฏิบัติ เราทำาวิธีการสะท้อนของอาคารนี้<br />

ด้วยอะไรบ้างที่สะท้อนความเป็นพุทธ อะไร<br />

บ้างที่เป็นสาระจริงๆ เพียงแต่ผมไม่ได้ทำามัน<br />

ออกมาในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้นเอง ผมว่าคำาว่า<br />

สมดุล ธรรมชาติเป็นหัวใจ มันมีไม้แล้วก็มีหิน<br />

มันมีเปิดแล้วก็มีปิด มีภายนอกแล้วก็มีภายใน<br />

อันนี้ก็เป็นวิธีคิดแบบที่ผมมอง” ดวงฤทธิ์<br />

บุนนาค สถาปนิก และกรรมการผู้จัดการได้<br />

เอ่ยถึงแนวคิดของงานออกแบบชิ้นนี้ไว้ในการ<br />

สรุปช่วงท้าย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!