25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

WOOD IS ...<br />

57<br />

”ผมเชื่อว่ามีสถานที่ที่ถูกกำาหนด หรือถูกวางโครงสร้างไว้<br />

ล่วงหน้า การแทรกแซงที่นอบน้อมและ เหมาะสม ที่อาจ<br />

จะเป็นแค่การเน้นอะไรบางอย่างของสถานที่นั้น อาจจะ<br />

เหมาะสมกว่า การตะโกนป่าวประกาศ” วิธีการของพวก<br />

เขา ไม่ใช่ความพยายามในการสร้าง "ศูนย์กลางใหม่ที่<br />

อิสระ" แต่เป็นการตีความวัสดุ สภาพแวดล้อม และบริบท<br />

แล้วกำาหนดระยะห่างที่เหมาะสม เป็นความแตกต่างที่เริ่ม<br />

เห็นเมื่อเข้าไปมองใกล้ๆ หรือเมื่อสังเกตด้วยระยะเวลาที่<br />

ยาวนาน ที่นี่ "เวลาคือส่วนของเครื่องมือในการทำางาน"<br />

ความทำางานง่าย และเข้าถึงได้ง่าย ทำาให้ไม้สามารถย้อม<br />

เลียนแบบ หรือเชื่อมต่อ กับพื้นที่หรือฐานของการอ้างอิง<br />

ได้หลากหลาย ไม่ว่าคุณจะเรียกคุณลักษณะนี้ ว่าความ<br />

ปรุโปร่ง หรือความไม่มีตัวตน ก็ตาม ไม้สามารถเป็นพื้นที่<br />

แห่งการทดลอง ของกระบวนการสร้างความเป็นนามธรรม<br />

ด้วยมิติของการอ้างอิง<br />

5. Longevity<br />

"Shikinen Zotai" หรือ การรื้อสร้างใหม่ตามปีที่กำาหนด<br />

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างใหม่ทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน เคยเป็น<br />

พิธีที่ถูกปฏิบัติอย่างแพร่หลายตามศาลเจ้าในประเทศญี่ปุ่น<br />

ปัจจุบันจำานวนศาลเจ้าที่ยังคงปฏิบัติอยู่ลดน้อยลงมาก<br />

การที่ศาลเจ้าบางแห่งเลิกประเพณีนี้ไป เพราะอาคารถูกขึ้น<br />

ทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ บ่งชี้ความแตกต่างทางความ<br />

คิดต่อความต่อเนื่องและยืนยาว<br />

หนึ่งใน Shikinen Zotai ที่ยังคงเหลือ และใหญ่ที่สุด คือ<br />

ของศาลเจ้าหลวงที่ Ise ที่ถูกเรียกว่า Shikinen Sengu ซึ่ง<br />

เกิดขึ้นทุกๆ 20ปี มาเป็นเวลากว่า 1300 ปี มันเป็นตัวอย่าง<br />

ที่โด่งดังของความยั่งยืนที่ไม่ต้องคงทนเป็นตัวอย่างของ<br />

การมองสถาปัตยกรรมเป็นเครือข่ายของปรากฏการณ์ที่มี<br />

กระบวนการและอาณาบริเวณ ที่นี่ ระยะเวลา 20 ปี ไม่ใช่<br />

ระยะห่าง แต่เป็น 20 ปี ของการเตรียมการและการมีส่วน<br />

ร่วม เป็นช่วงเวลาของการฝึกฝนและแสดงความสามารถ<br />

ของช่างแขนงต่างๆ ซึ่งรวมถึงพิธีกรรมและเทศกาลต่างๆ<br />

ที่มีอย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการไม้ฮิโนกิขนาดใหญ่<br />

คุณภาพสูงมากกว่า 10,000 ต้น ทุกๆ 20 ปี ต้องการวงจร<br />

ที่ยาว และแม่นยำามากกว่านั้น ตั้งแต่ประมาณศตวรรษ<br />

ที่ 11 ไม้ฮิโนกิขนาดใหญ่ที่จำาเป็นในการก่อสร้างเริ่ม<br />

ขาดแคลน การบริโภคอย่างต่อเนื่องโดยการเปลี่ยนที่หา<br />

ทรัพยากรไปเรื่อยๆ โดยไม่ปลูกทดแทน เกิดขึ้นเป็นเวลา<br />

นาน แผนจัดการป่า 200 ปี ที่ถูกประกาศ ในปี 1923 เป็น<br />

ความพยายามจริงจังครั้งแรกในการจัดการและดูแลป่าของ<br />

ศาลเจ้าเอง หลังจากนั้นเกือบ 100 ปี ใน "Shikinen Sengu"<br />

ครั้งล่าสุด เมื่อปี 2013 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคคามาคุระที่<br />

ศาลเจ้า สามารถใช้ไม้ฮิโนกิบางส่วนประมาณ 20% ของ<br />

ปริมาณทั้งหมดจากป่าของศาลเจ้าเอง 20%ใน 100 ปี!<br />

”…I believe that there are places already so strongly<br />

predetermined or pre-structured that very subordinated,<br />

well-suited interventions, which only accentuate<br />

the place in a small way, are more appropriate<br />

than loud statements.” Their approach was not<br />

an attempt to build up "a new and independent<br />

centrality" but rather how to interpret materials,<br />

surroundings, and context, and then set a proper<br />

distance from them, a difference that gradually<br />

emerged when looking closer or when observed with<br />

a longer period. Here, “time is part of a working tool”.<br />

Wood is easy to work with. It can bleach, mimic, and<br />

connect with places or references. Through all these<br />

accessibilities, wood creates differences. Whether<br />

this quality is called transparency or immateriality,<br />

in either case, wood was a central material in experimentation.<br />

It is a process of abstraction thanks to the<br />

plural dimensions of references.<br />

5. Longevity<br />

The culture of the Shikinen Zotai or periodic rebuilding,<br />

whether total rebuild or partial rebuild of specific<br />

elements, used to be practiced in a number of<br />

shrines in Japan. Today, the number has decreased,<br />

some ironically, stop this tradition due to the “preservation”<br />

after being registered as cultural heritage.<br />

One of the remaining practices is the one of the Ise<br />

Jingu, or the Shikinen Sengu, which has been carried<br />

out approximately. every 20 years for over 1300 years.<br />

It is a famous exemplar of longevity that does not<br />

center around durability. A great example of how<br />

to see architecture not as an individual entity but<br />

a collective phenomenon with its own territory and<br />

process. The 20-year interval here doesn’t mean<br />

a 20-year gap but 20 years of preparation and<br />

involvement. A continued practice of skilled workers<br />

involving constant rituals and festivals. However, the<br />

need for more than 10,000 large, high-quality Japanese<br />

cypresses of hinoki every 20 years requires a<br />

much more precise and longer cycle. From around<br />

the 11th century, the depletion of high-quality hinoki<br />

became clear. The phenomenon of not cultivating<br />

resources, but continuously consuming by changing<br />

the logging location continued for a long time. In<br />

1923, a 200-year plan of forest management, an<br />

initiative to ensure a sustainable supply of Hinoki<br />

from the shrine-owned forests was first announced.<br />

About 100 years later, during the latest Shikinen<br />

Sengu in 2013, for the first time since the Kamakura<br />

period, a portion of Hinoki, just over 20% of the total<br />

needed, could be supplied from the shrine-owned<br />

forests. Barely 20% in 100 years!

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!