25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

VASU POSHYANANDANA<br />

167<br />

อีกส่วนงานหนึ่งที่เรากำาลังดำาเนินการกันไปพร้อมกันก็คือ<br />

การร่วมงานกับสำานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคณะกรรมการระดับชาติ ชื่อคณะ<br />

กรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และกรุงเก่า รับผิดชอบดูแล<br />

รักษาคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์<br />

และเมืองเก่า สมาคมของเราจึงได้รับเชิญเป็นหนึ่งในคณะ<br />

กรรมการชุดดังกล่าว อีกทั้งในส่วนของอนุกรรมการย่อย<br />

ที่ดูแลส่วนเมืองเก่า เราก็ได้รับเชิญเป็นผู้แทนให้เข้าไป<br />

เป็นหนึ่งในอนุกรรมการของแต่ละเมืองเก่า ซึ่งนำาไปสู่การ<br />

ทำางานร่วมกับสถาปนิกที่มีความสนใจหรือมีประสบการณ์<br />

ทางการอนุรักษ์ที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ เข้ามาร่วมเป็นผู้แทน<br />

ของสมาคมเข้าไปค่อยรับผิดชอบให้คำาปรึกษาแก่ทาง<br />

อนุกรรมการแต่ละชุด อย่างในกรณีล่าสุดทีเกิดขึ้นที่จังหวัด<br />

กาญจนบุรี ที่มีการสร้าง skywalk ในบริเวณพื้นที่เมืองเก่า<br />

ในส่วนนี้เราก็ได้เข้าไปจัดการปรึกษาหาทางออกร่วมกัน<br />

เพื่อให้สามารถในการดำาเนินการต่อเนื่องไปได้ นอกจากนี้<br />

เราก็ยังมีการประสานงานแนะนำาให้ข้อมูลในกรณีเรื่องร้อง-<br />

เรียนเกี่ยวกับมรดกทางสถาปัตยกรรมจากคณะกรรมาธิการ<br />

ศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของสมาชิกวุฒิสภา<br />

อาษา: คณะกรรมการฝ่ ายอนุรักษ์มีทีมงาน<br />

หรืออนุกรรมการต่างๆ ทำางานอย่างไรบ้าง?<br />

วสุ โปษยะนันทน์: ทีมของเราจะเป็นสถาปนิกที่ประกอบ-<br />

วิชาชีพ นักวิชาการ และอาจารย์มหาวิทยาลัย เมื่อมีปัญหา<br />

ต่างๆ เกิดขึ้นเราก็จะนำาเข้ามาหารือเพื่อคิดหาทางแก้ไข<br />

ปัญหาทั้งในทางปฏิบัติและทฤษฎี ในกรรมาธิการอนุรักษ์<br />

ของเราก็จะมีตัวแทนกรรมาธิการภูมิภาคเข้ามาด้วย<br />

ซึ่งจะคอยดูแลประสานงานกับสถาปนิกในแต่ละภูมิภาค<br />

ทั่วประเทศของเรา โดยในหลายๆ กลุ่มกรรมธิการแต่ละ<br />

ภูมิภาคก็จะมีการเน้นเรื่องการอนุรักษ์ด้วย อย่างกลุ่มล้านนา<br />

และเรายังมีการติดตามประสานงานตัวแทนของเราที่เข้าไป<br />

อยู่ในอนุกรรมการเมืองเก่ากลุ่มต่างๆ อีกด้วย<br />

อาษา: สมาคมสถาปนิกสยามฯ มีการมอบ<br />

รางวัลอนุรักษ์มาโดยตลอด ถ้ามีสมาชิก<br />

หรือผู้สนใจจะเสนอโครงการเพื่อให้สมาคม<br />

พิจารณาจะต้องทำาอย่างไรบ้าง?<br />

วสุ โปษยะนันทน์: เร็วๆ นี้เราก็จะมีการประกาศรับสมัคร<br />

และมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยจะมีแบบ<br />

ฟอร์มให้กรอกเพื่อสมัครเสนอโครงการ หากมีคำาถาม<br />

หรือเกิดข้อสงสัยในรายเอียด หรือต้องการสอบถามข้อมูล<br />

เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ผ่านทุกช่องทางต่างๆ ของ<br />

สมาคม ก็จะไม่ยุ่งยากมากมายประมาณนี้ แต่หากเปรียบ<br />

เทียบกับในอดีตก็อาจจะดูต้องจัดการมากขึ้นเล็กน้อย<br />

ซึ่งแต่เดิมก็จะเป็นเพียงการเสนอชื่อหรือเขียนนำาเสนอ<br />

เพียงเล็กน้อย และกรรมาธิการก็จะทำาการสืบค้นหาข้อมูล<br />

เพิ่มเติมเอง แต่อย่างที่แจ้งไปข้างต้นเนื่องจากเราทำาการ<br />

อ้างอิงไปตามเกณฑ์ของยูเนสโก จึงต้องมีการร้องขอ<br />

รายละเอียดข้อมูลมากยิ่งขึ้น<br />

อาษา: เนื่องจากคุณมีบทบาทและทำากิจกรรม<br />

เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์มาเป็ นเวลายาวนาน<br />

ในความคิดเห็นของคุณตลอดเวลาที่ผ่านมามี<br />

สิ ่งใดที่เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเช่นไร?<br />

วสุ โปษยะนันทน์: ผมมองว่าเปลี่ยนแปลงไปมากเลยครับ<br />

ในช่วงต้นของการทำางานของผม สำาหรับในสายตาของ<br />

คนทั่วไปนั้น คนทำางานอนุรักษ์มักจะถูกมองว่าเป็นอะไร<br />

ที่ประหลาด ก็จะถูกแปลกแยก จำาแนกกลุ่มออกมาอีก<br />

ต่างหาก ต่อมาเมื่อเกิดแนวคิดในการนำาอาคารเก่าที่ไม่ได้<br />

ใช้งานมาปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ใหม่ ในจุดนี้สำาหรับเราใน<br />

สถานะนักออกแบบ ก็เริ่มมองเป็นความท้าทายอีกรูปแบบ<br />

ในการทำางานออกแบบ ซึ่งพอเมื่อเวลาผ่านมาพวกเราก็เริ่ม<br />

จะเห็นงานต่างๆ เหล่านี้มากยิ่งขึ้น ช่องว่างระยะระหว่าง<br />

คนทำางานอนุรักษ์กับคนออกแบบสมัยใหม่จึงแคบลง และ<br />

ในปัจจุบันสถาปนิกระดับปรมาจารย์หลายๆ คนที่ชื่อเสียง<br />

ก็ล้วนมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ เราจึงมองว่าการ<br />

อนุรักษ์ก็สามารถแสดงบทบาทของเราในสถานะนักออกแบบ<br />

ได้เหมือนกัน ถ้าหากสังเกตก็จะเริ่มเห็นถึงกระแสสังคมที่<br />

มีความตื่นเต้นในการย้อนกลับไปในอดีต โดยมีการรื้อฟื้น<br />

ตลาดร้อยปีหรือว่าชุมชนเก่าเกิดขึ้นในหลายๆ ที่<br />

อาษา: มีข่าวสารหรือเรื่องอะไรที่จะฝากถึง<br />

สมาชิกสมาคมบ้างหรือไม่?<br />

วสุ โปษยะนันทน์: อย่างที่แจ้งไปเลยครับ ก็จะมีการเปิดรับ<br />

สมัครขอพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ โดยเราอยากให้เกิด<br />

การมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของเจ้าของอาคารและสถาปนิกที่มี<br />

ส่วนร่วมในการออกแบบได้เสนอผลงานเข้ามา ซึ่งเราก็อยาก<br />

ที่จะมอบกำาลังใจให้กับผู้ดูแลรักษามรดกสถาปัตยกรรม<br />

ไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เรายังมีโปรเจกต์หนังสือรวบรวม<br />

ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์<br />

โดยได้มีการเผยแพร่ออกมาเป็นจำานวน 2 เล่ม ซึ่งจะเป็น<br />

ข้อมูลเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับรางวัลในยุคแรกๆ<br />

ในปัจจุบันเป็นเวลาที่ผ่านมาเกือบอีกทศวรรษหนึ่งแล้ว เรา<br />

จึงรวบรวมชุดข้อมูลได้ในระดับที่เพียงพอ ที่จะสามารถ<br />

จัดทำาหนังสือขึ้นใหม่ได้อีกหนึ่งเล่ม โดยคาดการณ์ว่าจะ<br />

จัดทำาแล้วเสร็จและเผยแพร่ในงานสถาปนิกปีหน้าก็สามารถ<br />

ติดตามกันได้นะครับ รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษ์<br />

หอไตรจำานวนสามเล่ม ที่เล่มหนึ่งเกิดขึ้นจากโครงการ<br />

อนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยประเพณี ทั้งหมดสามารถอ่าน<br />

และดาวน์โหลดได้ในรูปแบบ e-book นี่ก็จะเป็นส่วนหนึ่ง<br />

ของการบริการข้อมูลทางวิชาการของสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ ครับ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!